Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์

โรงเรียน : พรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี สพม.เพชรบุรี

ประเภท : โรงเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (Enrichment Science Classroom : ESC)

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 14 ก.ย. 2561 โดย : วรรณิศา นวะอภิศักดิ์ จำนวนผู้เข้าชม 556 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์
ประเภท โรงเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (Enrichment Science Classroom : ESC)
ปีการศึกษา
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน


     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา 1.  โครงการส่งเสริมความสามารถด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ในโรงเรียนมัธยมศึกษา (โครงการคณิต–วิทย์) โรงเรียนได้รับมอบหมายจากกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นโรงเรียนศูนย์โครงการตั้งแต่ปีการศึกษา 2536 สมัยนายสุวิทย์ พ่วงลาภ เป็นผู้อำนวยการ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วย
–  โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม                      จังหวัดเชียงราย
–  โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย                       จังหวัดเชียงใหม่
–  โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล                       จังหวัดอุดรธานี
–  โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย                    จังหวัดขอนแก่น
–  โรงเรียนสารคามพิทยาคม                    จังหวัดมหาสารคาม
–  โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม                      จังหวัดบุรีรัมย์
–  โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย                         จังหวัดลพบุรี
–  โรงเรียนระยองวิทยาคม                       จังหวัดระยอง
–  โรงเรียนศรีบุณยานนท์                         จังหวัดนนทบุรี
–  โรงเรียนวัดเขมาภิรัตาราม                    จังหวัดนนทบุรี
–  โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี       จังหวัดเพชรบุรี
–  โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา                        จังหวัดสุราษฎร์ธานี
–  โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย                         จังหวัดภูเก็ต
–  โรงเรียนเดชะปัตนยานุกูล                     จังหวัดปัตตานี
–  โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมมณียเขต  จังหวัดกาญจนบุรี
–  โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (ในขณะนั้น)     จังหวัดนครปฐม
ใช้หลักสูตรเดียวกับหลักสูตร พสวท. เน้นการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ผู้ประสานงานโครงการคนแรกคือนายบุญรอด วงษ์สวาท ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากกรมสามัญศึกษา ปัจจุบันโครงการนี้ยังดำเนินการอยู่ในระดับชั้น ม.4 , 5 , 6 ห้อง 2 , 3 , 4 ปัจจุบันผู้ประสานงานโครงการคือ นางสาววราภรณ์ บัวงาม

2. โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้มอบหมายให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ รุ่นแรกจำนวน 95 โรงเรียน พ.ศ.2550 สมัยว่าที่ร้อยโทยุทธ นุชสวัสดิ์ เป็นผู้อำนวยการ ปัจจุบันอยู่ในกลุ่มเครือข่ายเพื่อการพัฒนาห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ภาคกลางตอนล่าง สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา แต่งตั้งให้         นายบุญรอด วงษ์สวาท เป็นผู้ประสานงานโครงการคนแรก ปัจจุบันมีนางจุฑามาศ วงษ์สวาท เป็น          ผู้ประสานงานโครงการ เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้น ม.4/1 , 5/1 และ 6/1             ใช้หลักสูตรห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ของ สสวท. เน้นการเรียนที่เข้มข้นและการทำโครงงาน

3. โครงการส่งเสริมความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี (SMART class) โรงเรียนทำโครงการเสนอสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพชรบุรี เขต 1 (สพท.1) เพื่อขออนุญาตเปิดโครงการนี้ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในปีการศึกษา 2551 และได้อนุญาตจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพชรบุรี เขต 1 (สพท.1) ให้เปิดโครงการได้จำนวน 2 ห้องเรียน ได้แก่ ห้อง 5 และ ห้อง 10 ซึ่งในตอนเริ่มต้นกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นผู้รับผิดชอบ ต่อมามีนายปรมาพร ศรีสุโร เป็นผู้ประสานงานโครงการ จัดกิจกรรมเพื่อเสริมทักษะประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ปัจจุบันโครงการนี้ยังดำเนินการอยู่ โดยมีคณะกรรมการที่โรงเรียนได้แต่งตั้งเป็นผู้ประสานงานโครงการ

4. โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ตามแนวทาง สสวท.และ สอวน. ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนได้รับอนุญาตจากสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ให้เปิดรับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 ในปีการศึกษา 2558 จะมีนักเรียนครบทั้ง 3 ระดับชั้น ได้แก่  ม.1/7 , ม.2/7 และ ม.3/7 ตามลำดับ ซึ่งนักเรียนได้ผ่านการสอบคัดเลือกและถือได้ว่าเป็นนักเรียนที่เก่งที่สุดของโรงเรียน โดยมีผู้ประสานงานโครงการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 2 คน คือ นายบุญรอด วงษ์สวาท และนางสาวธัญดา วงศ์สิงห์  สมัยนายธีระพันธุ์ ธีรานันท์ เป็นผู้อำนวยการ เน้นการเรียนที่เข้มข้นและการทำโครงงานวิทยาศาสตร์      มีโครงสร้างหลักสูตรที่ชัดเจนจาก สสวท.

หมายเหตุ
๑  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนของห้องเรียนโครงการส่งเสริมความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี (SMART CLASS) ในข้อ 3. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้มีการปรับโครงสร้างของห้องเรียน SMART CLASS ให้สอดคล้องกับห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ตามแนวทางของ สสวท. และ สอวน. โดยเริ่มใช้ปีการศึกษา 2557 ซึ่งจะมีหลักสูตรเหมือนกันทั้ง 2 โครงการ ครบทุกระดับชั้นในปีการศึกษา 2559
๒. ในปีการศึกษา ๒๕๕๕ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาอนุญาตให้โรงเรียนเปิดโครงการห้องเรียนพิเศษอีก ๑ ห้อง โรงเรียนมอบให้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเป็นผู้ดูแลได้แก่โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (English Math and Science: EMS)
 
วัตถุประสงค์
เป้าหมาย
ระยะเวลา 13 ก.ย. 2561 - 13 ก.ย. 2561
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี
ตัวชี้วัด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ