Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

สืบสานศาสตร์พระราชา ชาวพรหมาฯ พอเพียง

โรงเรียน : พรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี สพม.เพชรบุรี

ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 14 ก.ย. 2561 โดย : อาคม แซ่ลิ้ม จำนวนผู้เข้าชม 196 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม สืบสานศาสตร์พระราชา ชาวพรหมาฯ พอเพียง
ประเภท โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทยเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นปรัชญาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยทรงชี้ให้เห็นว่าควรเริ่มต้นที่การพัฒนาคน เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาทุกสิ่ง ทั้งระดับครอบครัว ชุมชน และระดับประเทศ ด้วยการรู้จักพึ่งตนเอง ความพอประมาณ พอมี พอกิน พอใช้ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ   และคุณธรรมประกอบการวางแผนตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ควรจะเป็น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆภายในโลก
          งานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรีเห็นถึงความสำคัญและจำเป็นในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิตเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน   และเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักความพอเพียง ปลูกฝัง อบรม บ่มเพาะให้นักเรียนมีความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม โดยสอดแทรกแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต  เพื่อสอนให้นักเรียนรู้จักการใช้ชีวิตได้อย่างสมดุล ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เห็นคุณค่าของทรัพยากรต่างๆ เรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปัน มีจิตสำนึกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมค่านิยม ความเป็นไทย ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงต่างๆ รู้ว่าตนเองเป็นองค์ประกอบหนึ่งในสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมของโลก การกระทำของตนย่อมมีผลและเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมในโลกที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ด้วย   จึงก่อให้เกิดโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อชีวิตขึ้นมา
 
วัตถุประสงค์
    1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    2. เพื่อให้นักเรียนสามารถปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง
    3. เพื่อให้นักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    4. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียนในการนำไปปรับใช้กับชีวิต
เป้าหมาย
1. เชิงปริมาณ     นักเรียน ครูและบุคลากรของโรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี ทุกคนที่เข้าร่วมโครงการ
2. เชิงคุณภาพ     นักเรียน ครูและบุคลากรของโรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต
ระยะเวลา 30 ต.ค. 2560 - 28 ก.ย. 2561
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี
ตัวชี้วัด 1.นักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 90
2.การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. นักเรียนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
3. นักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. สร้างเครือข่ายการบูรณาการในโรงเรียน ครอบครัว ชุมชน และสังคม ในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ โครงการ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
กิจกรรม/ขั้นตอนการปฏิบัติ เป้าหมาย ระยะเวลา งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ
กิจกรรมที่ 1 อบรมครูแกนนำเศรษฐกิจพอเพียง “สืบสานศาสตร์พระราชา ชาวพรหมาฯพอเพียง”
     1.1 ทำคำสั่งแต่งตั้ง อบรมครูและบุคลากร
          เป็นครูแกนนำเศรษฐกิจพอเพียง
     1.2 อบรมนักเรียนแกนนำเศรษฐกิจพอเพียง

     1.3 พันธะสัญญาแห่งความพอเพียง

160 คน


6,181 คน

 
4-18
มกราคม
2560

23-27 มกราคม
2560
4,365






 
ครูภัทรภร
และ
วิทยากรภายนอก,
ครูที่ปรึกษา
และนักเรียน
กิจกรรมที่ 2 การรายงานผลการพัฒนาและประเมินคุณภาพผู้เรียน ด้านเศรษฐกิจพอเพียง

 
3,140 คน
 
9 มกราคม– 9 กุมภาพันธ์
2560
 
1,540 บาท
 
ครูภัทรภรและทุกฝ่าย
กิจกรรมที่ 3 การรณรงค์ “พอเพียงเพื่อชีวิต” นักเรียน
ม.1 - ม.6
9 มกราคม– 9 กุมภาพันธ์
2560
2,796 บาท ครูภัทรภรและนักเรียนพอเพียงต้นแบบ
 
กิจกรรมที่ 4 เพื่อชุมชนพอเพียง(การขยายเครือข่าย) นักเรียนอาสาสมัคร - - ครูภัทรภร และนักเรียน
รวม 8,701 บาท  
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีการประเมิน เครื่องมือ
     นักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 90 - การส่งใบพันธะสัญญาแห่งความพอเพียง - ใบพันธะสัญญาแห่งความพอเพียง
การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด - การสอบถามความคิดเห็น ความพึงพอใจ ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
- การส่งผลการดำเนินงานของครูและบุคลากร
แบบสอบถาม

ชิ้นงาน
ขั้นสรุปและรายงาน การดำเนินกิจกรรม ดำเนินการต่อเนื่องตลอดเดือนกรกฎาคม โดยวันพุธที่ 11 กรกฎาคม 2561 มีการรณรงค์ให้ความรู้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ในเรื่องของพิษภัย และแนวทางป้องกัน ต่อต้าน ยาเสพติด  เพื่อร่วมกันรณรงค์ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน โดยดำเนินการรณรงค์สู่ชุมชน ในวันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561     เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 จากการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ผลการปฏิบัติกิจกรรมตามเป้าหมายและตัวชี้วัดของกิจกรรม
1. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติด
2. นักเรียนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานรณรงค์
    การต่อต้านยาเสพติด
3. นักเรียนตระหนักถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด โดยร่วมกันรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด
4. นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีทักษะชีวิตในการป้องกันตนเองให้ห่างไกลยาเสพติด
 
งบประมาณ ภาคเรียนที่ 2/2559                5,070   บาท
ภาคเรียนที่ 1/2560                3,631   บาท
รวมเป็นเงิน                       8,701   บาท
 
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในการต่อต้านยาเสพติด ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ เพื่อ
กระตุ้น ปลูกฝังจิตสำนึกในการต่อต้านยาเสพติด ลด ละ เลิก ทั้ง ลอง เสพ ซื้อ ขาย อันจะทำให้ประเทศชาติมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพสูงสุดในการพัฒนาประเทศต่อไป
 
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ