ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
โครงการจักสานไม้ไผ่เพิ่มรายได้ระหว่างเรียน |
ประเภท |
โรงเรียนประชารัฐ |
ปีการศึกษา |
2560 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้ 3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ |
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
“การหารายได้ระหว่างเรียน” เป็นหนึ่งกิจกรรมที่นักเรียนส่วนใหญ่ให้ความสนใจทำกันมาตลอด เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ดีทำให้นักเรียนได้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ได้รับประสบการณ์จริง มีรายได้ระหว่างเรียนเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระให้แก่ครอบครัว และยังทำให้เห็นคุณค่าของเงินอีกด้วย
เขตพื้นที่บริการของโรงเรียนค่ายบกหวานวิทยา ผู้ปกครองและชาวบ้านในพื้นที่ประกอบอาชีพจักสานกันเป็นจำนวนมากจึงมีความรู้เรื่องจักสานเป็นอย่างดีและยังสอนบุตรหลานของตนอีกด้วย นอกจากนี้มีศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดหนองคายตั้งอยู่ในพื้นที่เขตความรับผิดชอบของโรงเรียนซึ่งสามารถประสานความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้
นักเรียนโรงเรียนค่ายบกหวานวิทยา ส่วนใหญ่มีปัญหาทางด้านครอบครัว ฐานะยากจนและขาดแคลน ครอบครัวแตกแยกจากปัญหาการหย่าร้าง หรือผู้ปกครองต้องไปทำงานต่างถิ่น นักเรียนต้องอยู่ในความดูแลของญาติ ซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้ต่ำ ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านการศึกษาและปัญหาด้านสุขภาพ ทางโรงเรียนจึงเล็งเห็นว่าควรจัดทำโครงการ/กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียน เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง ทั้งยังเป็นการฝึกทักษะพื้นฐานการประกอบอาชีพให้แก่นักเรียน เพื่อสามารถพึ่งตนเองได้ต่อไปในอนาคต
ทางโรงเรียนค่ายบกหวาน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการมีอาชีพเพื่อให้มีรายได้ระหว่างเรียนขึ้น เนื่องจากเล็งเห็นถึงประโยชน์ข้างต้น และสอดคล้องกับแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นให้ทุกคนดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
จากสภาพปัจจุบันโรงเรียนมีครู 13 คน และนักเรียน 62 คน
|
วัตถุประสงค์ |
- เพื่อฝึกการประกอบอาชีพจักสานครูและนักเรียน
- ประชาสัมพันธ์ให้สินค้าเป็นที่รู้จักมากขึ้น
- พัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์และสามารถขายได้
|
เป้าหมาย |
เชิงปริมาณ
- คณะครูและนักเรียนโรงเรียนค่ายบกหวานวิทยา ปีการศึกษา 2561
เชิงคุณภาพ
- ให้บุคลากรในโรงเรียนค่ายบกหวานวิทยา มีความรู้ความสามารถ และทักษะกระบวนการในการจัดการเรียนการสอน เกี่ยวกับวิชาชีพอย่างเหมาะสม สามารถผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายสร้างรายได้ระหว่างเรียน โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วน
- นักเรียนโรงเรียนค่ายบกหวานวิทยามีความรู้ความสามารถ และทักษะกระบวนการในการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายสร้างรายได้ระหว่างเรียน
|
ระยะเวลา |
16 มิ.ย. 2560 - 31 มี.ค. 2561 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนค่ายบกหวานวิทยา |
ตัวชี้วัด |
- โรงเรียนค่ายบกหวานวิทยา มีกิจกรรมฝึกอาชีพ ตามความเหมาะสมกับบริบทและสภาพแวดล้อมของโรงเรียน นักเรียนร้อยละ 80 มีความพึงพอใจและมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
- นักเรียนร้อยละ 80 เข้าร่วมกิจกรรมฝึกอาชีพ
- ครูร้อยละ 80 มีทักษะกระบวนการในการจัดการเรียนการสอนด้านวิชาชีพ
- นักเรียนร้อยละ 80 นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินงาน
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
- เสริมสร้างให้นักเรียนมีทักษะออกแบบวิธีการสานลายเฉพาะเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน
- ทำให้สามารถนักเรียนทำการค้าขายด้วยตนเองได้
- นักเรียนทักษะทำ บัญชี รายรับ – รายจ่าย
- เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างโรงเรียนและชุมชน มีจิตสำนึกรักองค์กรและร่วมกันพัฒนาให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
- ส่งเสริมให้เกิดการสร้างรายได้ที่ยั่งยืนการชุมชน
|
สรุปคะแนนประเมิน |
0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
- สำรวจสภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการพัฒนา
- จัดทำโครงการและขออนุมัติโครงการ
- ประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจในการดำเนินงาน และการจัดทำโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
- แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานกำหนดปฏิทินการดำเนินงาน
|
ขั้นดำเนินการ |
- ดำเนินงานกิจกรรมฝึกอาชีพ
- กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
การนิเทศ กำกับติดตามการดำเนินงาน
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
นำผลการประเมินแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องทราบและนำข้อแนะนำมาประบปรุงแก้ไข |
งบประมาณ |
ด้านต้นทุนการผลิต
ด้านพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้า
144,000 บาท |
การบรรลุตัวชี้วัด |
ตัวชี้วัดความสำเร็จ |
วิธีการประเมิน |
เครื่องมือ |
1. นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 80 |
สำรวจจำนวนผู้ร่วมกิจกรรม |
แบบสำรวจจำนวน / แบบตรวจสอบรายชื่อนักเรียน |
2. นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์เพิ่มขึ้นร้อยละ 80 |
ประเมินคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ |
แบบประเมินคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ |
3. นักเรียนมีการบันทึกรายรับรายจ่ายของตนเองได้ถูกต้องร้อยละ 80 |
การบันทึกรายรับรายจ่าย |
สมุดบันทึกรายรับรายจ่าย |
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
1. นักเรียนบางส่วนมาจากบ้านเด็กชายหนองคาย มาจากครอบครัวยากจน มาจากครอบครัวแตกแยก มักขาดเรียน ขาดความกระตือรือร้น ส่งผลต่อการเรียนรู้ และพฤติกรรมไม่พึงประสงค์และผู้ปกครองขาดความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของโรงเรียนจึงไม่นำบุตรหลานมาเข้าเรียน
2. การประเมิน โครงการ กิจกรรมที่เข้ามาเสริมในโรงเรียนมีมากเกินไป ทำให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการต้องหยุดดำเนินการกิจกรรมเดิมชั่วคราวเพื่อดำเนินโครงการใหม่ให้แล้วเสร็จก่อนจนทำให้นักเรียนไม่มีความต่อเนื่องและยั่งยืน |
ข้อเสนอแนะ |
โครงการนี้มีกิจกรรมเป็นกระบวนการที่จะทำให้คณะครูและนักเรียนเรียนรู้และมีพื้นฐานการทำงานอย่างเป็นระบบ เริ่มต้นด้วยการปูพื้นฐานด้วยความรู้ที่ตนเองต้องการจะสร้างรายได้ ไปจนถึงการลงมือปฏิบัติเพื่อออกแบบและขายผลิตภัณฑ์ จากนั้นก็นำผลที่ได้ทั้งหมดมาฝึกประเมินเพื่อปรับปรุงสินค้าและช่องทางการทำการตลาดเพื่อให้สินค้ามีคุณภาพและมียอดขายที่ดีขึ้น อีกทั้งนักเรียนยังสามารถนำความรู้ที่ได้ทั้งหมดไปถ่ายทอดและช่วยเหลือผู้ปกครองและชุมชุมของตนเองให้มีการผลิตสินค้าที่ดีมีคุณภาพมากขึ้น พร้อมกับออกแบบใหม่ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย และหาช่องทางที่กระจายสินค้าได้มากขึ้นโดยผ่านพ่อค้าคนกลางให้น้อยที่สุด ดังนั้น การดำเนินโครงการนี้จึงเป็นการส่งเสริมและสร้างทักษะการสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืนได้ |
รูปภาพประกอบ |
|