โรงเรียน : ห้วยยาวพิทยาคม สพม.พิจิตร
ประเภท : โรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา(โรงเรียนสุจริต)
ผลการประเมิน : 70.00
เผยแพร่เมื่อ : 14 ก.ย. 2561 โดย : จำนวนผู้เข้าชม 141 คน
ชื่อโครงการ/กิจกรรม | โรงเรียนสร้างการดี |
ประเภท | โรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา(โรงเรียนสุจริต) |
ปีการศึกษา | 2561 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ 2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน 2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้ 3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก 3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน 3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ |
ผู้รับผิดชอบ | |
ความเป็นมา | โรงเรียนห้วยยาวพิทยาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดหลักนำความรู้คู่คุณธรรม ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการฝึกปฏิบัติสามรถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ สอดคล้องกับอัตลักษณ์โรงเรียน คือ อยู่อย่างพอเพียง และจากนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2558 ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกระดับทุกประเภท ให้ตระหนักถึงความสำคัญและเตรียมความพร้อมด้านวิชาชีพให้ผู้เรียน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง สำรวจความสนใจ ความถนัด และมองเห็นเส้นทางชีวิตในอนาคต เพื่อวางแผนในการศึกษาต่อ หรือเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีคุณภาพ เสริมสร้างลักษณะนิสัยในการทำงาน (ขยัน อดทน กระตือรือร้น ซื่อสัตย์และรับผิดชอบ) ให้สามารถก้าวสู่โลกแห่งการทำงาน ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับโรงเรียนดีประจำตำบล กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพและการขับเคลื่อนงานการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และเผยแพร่ผลงานของโรงเรียนที่เป็นวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practices) ในลักษณะของ “1 โรงเรียน 1 อาชีพ 1 ผลิตภัณฑ์” สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2558 ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกระดับทุกประเภท ให้ตระหนักถึงความสำคัญและเตรียมความพร้อมด้านวิชาชีพให้ผู้เรียน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง สำรวจความสนใจ ความถนัด และมองเห็นเส้นทางชีวิตในอนาคต เพื่อวางแผนในการศึกษาต่อ หรือเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีคุณภาพ เสริมสร้างลักษณะนิสัยในการทำงาน (ขยัน อดทน กระตือรือร้น ซื่อสัตย์และรับผิดชอบ) ให้สามารถก้าวสู่โลกแห่งการทำงาน ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับโรงเรียนดีประจำตำบล กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพและการขับเคลื่อนงานการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และเผยแพร่ผลงานของโรงเรียนที่เป็นวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practices) ในลักษณะของ “1 โรงเรียน 1 อาชีพ 1 ผลิตภัณฑ์” จากนโยบายดังกล่าว ผู้บริหาร คณะครูและนักเรียนโรงเรียนห้วยยาวพิทยาคม จึงมีแนวคิดร่วมกันว่าในการส่งเสริมการทำฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมีความเหมาะสมกับการปลูกกล้วย จึงให้นักเรียนได้ศึกษาฐานการเรียนรู้การปลูกกล้วย เพื่อนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ 1 โรงเรียน 1 อาชีพสำหรับโรงเรียนโดยมีการศึกษาบูรณาการตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้กับนักเรียน และเป็นที่มาของผลงาน “1 โรงเรียน 1 อาชีพ ” โดยการทำ HYP Fantastic Banana ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างหลากหลายรูปแบบ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการให้ความรู้แก่นักเรียน ซึ่งเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะมีประโยชน์และน่าสนใจ สามารถหารายได้ระหว่างเรียน นำไปจำหน่ายตามร้านค้า และส่งเสริมเป็นอาชีพในอนาคตต่อไปได้ |
วัตถุประสงค์ | 1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ผ่านทักษะกระบวนการคิด ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงสามรถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 2. เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริต 3.เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำมาประดิษฐ์เป็นสิ่งแปลกใหม่ต่อไป เกิดนิสัยรักการทำงาน มีความอดทน อดกลั้น มีความละเอียดรอบคอบ 4. ทำให้มีรายได้เสริมระหว่างเรียนและเป็นพื้นฐานในการเตรียมตัวสู่อาชีพ โดยยึดหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
เป้าหมาย | 1.เชิงปริมาณ 1.1 นักเรียนโรงเรียนห้วยยาวพิทยาคมทุกคน เข้าร่วมโครงการ 2. เชิงคุณภาพ 2.1 บรรลุเป้าหมายของแต่ละกิจกรรมในโครงการ ร้อยละ 80 ขึ้นไป 2.2 นักเรียน-ครูและบุคลากรมีคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริต 2.3 นักเรียนแกนนำสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพด้วยความคิดสร้างสรรค์ 2.4 ผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจร้อยละ 90 |
ระยะเวลา | 1 มิ.ย. 2561 - 14 ก.ย. 2561 |
สถานที่ดำเนินการ | โรงเรียนห้วยยาวพิทยาคม อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร |
ตัวชี้วัด | 1.ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมตามเป้าหมาย 2.บรรลุเป้าหมายของแต่ละกิจกรรมในโครงการ ร้อยละ 80 ขึ้นไป 3.ครูและบุคลากรมีคุณธรรมจริยธรรม ด้านความซื่อสัตย์สุจริต 4.นักเรียนโรงเรียนห้วยยาวพิทยาคมสามารถนำความรู้และทักษะไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 5.ผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจร้อยละ 90 |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ | 1. ผู้เรียนมีทักษะเกิดการเรียนรู้จากการศึกษาค้นคว้าและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง 2. ผู้เรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 3. ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถนำมาประดิษฐ์เป็นสิ่งแปลกใหม่ต่อไป เกิดนิสัยรักการทำงาน มีความอดทน อดกลั้น มีความละเอียดรอบคอบ ฝึกสมาธิ และมีความซื่อสัตย์สุจริต 4. ทำให้มีรายได้เสริมระหว่างเรียนและเป็นพื้นฐานในการเตรียมตัวสู่อาชีพ โดยยึดหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
สรุปคะแนนประเมิน | 70.00 |
ไฟล์ประกอบ |
แบบ |
ขั้นเตรียมการ | 1. ศึกษานโยบายของโรงเรียนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการโรงเรียนสุจริต 2. คณะครูโรงเรียนห้วยยาวพิทยาคมเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการการปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาสู่ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยบูรณาการจัดทำกิจกรรมหนึ่งโรงเรียน หนึ่งอาชีพ 3. ศึกษาบริบทและสภาพความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการฯ 4. จัดทำโครงการฯ นำเสนอต่อฝ่ายบริหาร |
ขั้นดำเนินการ | 1. ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงโครงการฯ และมอบหมายภาระงานและแนวทางการดำเนินงาน 2. ดำเนินงานตามแผนงานกิจกรรมบริษัทสร้างการดี ดังนี้ 2.1 แบ่งหน่วยการเรียนรู้ให้นักเรียนมีส่วนร่วมทุกระดับชั้น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ศึกษาพันธุ์กล้วยในรูปแบบปฏิทินพันธุ์กล้วย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จัดทำแผ่นพับเกี่ยวกับการปลูกและดูแลรักษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ศึกษาประโยชน์จากกล้วยนำเสนอผังความคิด ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ออกแบบฉลากบรรจุภัณฑ์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ลงมือปฏิบัติจัดทำผลิตภัณฑ์ไอศกรีมกล้วย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ศึกษาการตลาด จำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้วยวิธีที่หลากหลาย |
ขั้นตรวจสอบประเมินผล | 1. ผู้บริหารสถานศึกษานิเทศติดตามการดำเนินงานและคอยอำนวยความสะดวกในการดำเนิน กิจกรรมของผู้เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามภาระงานที่โครงการ/กิจกรรมที่กำหนด 2. ติดตามเก็บข้อมูลก่อนการพัฒนา 3. ติดตามเก็บข้อมูลหลังการพัฒนา |
ขั้นสรุปและรายงาน | 1. สรุปประเมินกิจกรรม/กิจกรรมย่อยแต่ละระดับชั้น
2. จัดทำรายงานโครงการ/กิจกรรมย่อย เสนอฝ่ายบริหาร |
งบประมาณ | 2,000 บาท |
การบรรลุตัวชี้วัด | 1. ทักษะกระบวนการคิด ระบุกิจกรรม / พฤติกรรม ออกแบบฉลากบรรจุภัณฑ์ 2. มีวินัย ระบุกิจกรรม / พฤติกรรม ลงมือปฏิบัติจัดทำผลิตภัณฑ์ไอศกรีมกล้วย 3. ซื่อสัตย์สุจริต ระบุกิจกรรม / พฤติกรรม จำหน่ายผลิตภัณฑ์ 4. อยู่อย่างพอเพียง ระบุกิจกรรม / พฤติกรรม ศึกษาการตลาด จำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้วยวิธีที่หลากหลาย 5. จิตสาธารณะ ระบุกิจกรรม / พฤติกรรม จัดทำแผ่นพับเกี่ยวกับการปลูกและดูแลรักษา/ลงมือปฏิบัติจัดทำผลิตภัณฑ์ไอศกรีมกล้วย/จำหน่ายผลิตภัณฑ์ |
ความพึงพอใจ | ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจ ร้อยละ 90 |
ปัญหาและอุปสรรค | 1. ไอศกรีมกล้วยเป็นผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ ยังไม่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค 2. การจัดทำผลิตภัณฑ์มีความจำกัดเรื่องวัตถดิบที่นำมา เพราะต้องใช้กล้วยสุก |
ข้อเสนอแนะ | 1. ควรมีการแปรรูปในรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง 2. ควรมีการประชาสัมพันธ์และมีการตลาดที่หลากหลายช่องทาง |
รูปภาพประกอบ |