Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้เรียน

โรงเรียน : อุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย นครราชสีมา สพม.นครราชสีมา

ประเภท : โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 14 ก.ย. 2561 โดย : โรงเรียนอุบลรัตนฯ นครราชสีมา จำนวนผู้เข้าชม 64 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้เรียน
ประเภท โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน


     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา การจัดกิจกรรมตามโครงการใน  พ.ร.บ.งบประมาณ ปี 2557 และโครงการพระราชดำริ  ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  และเพื่อสนองนโยบายของโครงการฯ  ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542  จึงจัดโครงการเพิ่มศักยภาพและความสามารถของนักเรียน  จัดการเรียนการสอนให้โอกาสนักเรียนได้เรียนตามความถนัดและความสามารถ โดยการศึกษาดูงานตามแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551  มีจุดหมายที่สำคัญคือ การจัดการศึกษาต้องมุ่งให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ได้แก่นักเรียนจะต้องเป็นคนดี มีปัญญา และมีความสุขตามศักยภาพของแต่ละบุคคล  จากจุดมุ่งหมายของหลักสูตรดังกล่าว  การจัดกระบวนการเรียนการสอนจึงต้องมุ่งพัฒนานักเรียนให้มีความรู้คู่คุณธรรม  มีทักษะจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคม และโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ตลอดจนแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต 
          การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและศิลปะ วัฒนธรรมของท้องถิ่นและภูมิภาค  โดยศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นของกลุ่มสาระหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และศึกษาศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา แหล่งเรียนรู้ของท้องถิ่น จังหวัดและภูมิภาค 
ดังนั้น  เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้นักเรียน และสนองจุดมุ่งหมายของหลักสูตรดังที่กล่าว จึงจัดให้มีการพัฒนาจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในและนอกสถานศึกษา
 
วัตถุประสงค์
    1. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ วิถีชีวิตแบบพอเพียง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
    2. เพื่อให้ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามความถนัดและความสามารถของตนเอง
    3. เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนเห็นคุณค่าและสำนึกในความเป็นชาติไทย
    4. เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในและนอกสถานศึกษา
    5. เพื่อส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการหลากหลาย
เป้าหมาย เป้าหมาย  นักเรียนโรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย นครราชสีมา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6  จำนวน 3,240  คน ปีการศึกษา 2561   ศึกษาเรียนรู้ในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา จากวิทยากรที่มีความสามารถเฉพาะด้าน โดยมีเป้าหมายดังนี้
          3.1 เชิงคุณภาพ
3.1.1  นักเรียนนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
          3.1.2.  นักเรียนมีความสามารถตามความถนัดของตนเอง
          3.1.3  นักเรียนมีวิถีชีวิตแบบไทยและอนุรักษ์ความเป็นไทย
3.1.4.  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มมากขึ้น
          3.2 เชิงปริมาณ
3.2.1.  นักเรียนร้อยละ 80 นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
          3.2.2  นักเรียนร้อยละ 80 มีความสามารถตามความถนัดของตนเอง
          3.2.3  นักเรียนร้อยละ 80 มีวิถีชีวิตแบบไทยและอนุรักษ์ความเป็นไทย
          3.2.4. นักเรียนร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มมากขึ้น
 
ระยะเวลา 1 พ.ค. 2561 - 29 มี.ค. 2562
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย นครราชสีมา
ตัวชี้วัด 1. นักเรียนนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันคิดเป็นร้อยละ 80
2.นักเรียนมีความสามารถตามความถนัดของตนเองคิดเป็นร้อยละ 80
3.นักเรียนมีวิถีชีวิตแบบไทยและอนุรักษ์ความเป็นไทยคิดเป็นร้อยละ 80
4.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มมากขึ้นคิดเป็นร้อยละ 80
ผลที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อให้นักเรียนได้โครงการพระราชดำริ  ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทย วิถีชีวิต ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา แหล่งเรียนรู้ของท้องถิ่น จังหวัดและภูมิภาค  ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ