ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน |
ประเภท |
โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School) |
ปีการศึกษา |
2561 |
มาตรฐาน |
3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้ 3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ |
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
ตามที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริบางประการเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ซึ่งมีใจความดังต่อไปนี้
“การสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณนั้น ควรใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงาม ความสนใจ และเกิดความปิติที่จะทำการศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป การให้วิธีสอน การอบรมและให้ความรู้สึกกลัวว่า หากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสียเกิดอันตรายแก่ตนเอง จะทำให้เด็กเกิดความเครียด ซึ่งจะเป็นผลเสียแก่ประเทศในระยะยาว”
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริจัดตั้งงาน “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” เพื่อเป็นสื่อในการสร้างจิตสำนึกด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยให้เยาวชนนั้นได้ใกล้ชิดกับพืชพรรณไม้ เห็นคุณค่าประโยชน์ ความสวยงาม อันจะก่อให้เกิดความคิดที่จะอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป
สวนพฤกษศาสตร์ คือ แหล่งที่รวบรวมพันธุ์พืชชนิดต่างๆ ทีมีชีวิต จัดปลูกตามความเหมาะสมกับสภาพถิ่นอาศัยเดิม มีห้องสมุด สถานที่เก็บรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้รักษาสภาพ อาจเป็นตัวอย่างแห้งหรือตัวอย่างดอง หรือเก็บรักษาด้วยวิธีอื่นๆ พันธุ์พืชที่ทำการรวบรวมไว้นั้นจะเป็นแหล่งข้อมูลและการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้ นอกจากนี้สามารถใช้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจซึ่งสามารถดำเนินการสวนพฤกษศาสตร์ในพื้นที่ของโรงเรียน โดยมีองค์ประกอบดังกล่าว เป็นสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนใช้ในวัตถุประสงค์ดังกล่าว อีกทั้งใช้ในการศึกษาและเป็นประโยชน์ในการสอนวิชาต่างๆ
จากพระราชดำริและพระราโชวาทของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในเรื่องของสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ซึ่งมีความสอดคล้องกับงานปกติในเรื่องของการเรียนการสอน และในเรื่องของการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นทางโรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย นครราชสีมา จึงได้มีการประชุมหารือ และมีความเห็นสอดคล้องกันที่จะสนองพระราชดำริการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
|
วัตถุประสงค์ |
1. เพื่อสร้างจิตสำนึกให้นักเรียน มีความรัก และเห็นคุณค่าของพรรณไม้
2. เพื่อให้โรงเรียนเป็นแหล่งรวบรวมพรรณไม้ ข้อมูลพรรณไม้ และการเก็บรักษา เพื่อประโยชน์ทาง
การศึกษาและเผยแพร่สู่ภายนอก
3. เพื่อใช้เป็นแหล่งพักผ่อนและใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน
4. เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งความรู้ในโรงเรียนและชุมชน
|
เป้าหมาย |
เป้าหมายเชิงปริมาณ
3.1 ครูและนักเรียนร้อยละ 90 มีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
3.2 ครูและนักเรียนร้อยละ 90 มีจิตสำนึก มีความรักและเห็นคุณค่าของพรรณไม้
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
3.3 โรงเรียนเป็นแหล่งรวบรวมพรรณไม้ ข้อมูลพรรณไม้ และการเก็บรักษา เพื่อประโยชน์
ทางการศึกษาและเผยแพร่สู่ภายนอกที่มีคุณภาพ
3.4 โรงเรียนมีสถานที่ใช้เป็นแหล่งพักผ่อน แหล่งความรู้ และใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนของครูและนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
ระยะเวลา |
1 พ.ค. 2561 - 29 มี.ค. 2562 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย นครราชสีมา |
ตัวชี้วัด |
1) ร้อยละของครูและนักเรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
2) ร้อยละของครูนักเรียน มีจิตสำนึก มีความรักและเห็นคุณค่าของพรรณไม้
3) โรงเรียนเป็นแหล่งรวบรวมพรรณไม้ ข้อมูลพรรณไม้ และการเก็บรักษา เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาและเผยแพร่ สู่ภายนอกที่มีคุณภาพ
4) โรงเรียนมีสถานที่ใช้เป็นแหล่งพักผ่อน แหล่งความรู้ และใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนของครูและนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
1. เกิดความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ครู นักเรียน ผู้ปกครอง
2. โรงเรียนเป็นแหล่งข้อมูลพืชพรรณและภูมิปัญญาท้องถิ่น
3. นักเรียนมีจิตใจที่อ่อนโยน เห็นประโยชน์และคุณค่า ทำให้เกิดความรักในพืชพรรณไม้ ไม่ทำลาย และมีแนวคิดที่อนุรักษ์สืบไป
4. ผู้เรียนสามารถนำพรรณไม้มาจัดสวนตกแต่งบริเวณให้ร่มรื่นสวยงาม
|
สรุปคะแนนประเมิน |
0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
|
ขั้นดำเนินการ |
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
|
งบประมาณ |
|
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|