Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

โครงการพัฒนาระบบงานโรงเรียนมาตรฐานสากล

โรงเรียน : สามัคคีวิทยาคม สพม.เชียงราย

ประเภท : โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)

ผลการประเมิน : 5

เผยแพร่เมื่อ : 31 ก.ค. 2563 โดย : นางณิชกานต์ จองไพจิตรสกุล จำนวนผู้เข้าชม 52 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการพัฒนาระบบงานโรงเรียนมาตรฐานสากล
ประเภท โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ปีการศึกษา 2562
มาตรฐาน

     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา ในปี 2553 กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินงาน โครงการโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลโลก (World Citizen) จัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล (World Class Standard) และบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ (Quality System Management) สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ประกาศให้ประเทศไทยพร้อมเปิดประตูสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ในปี 2558 และให้ความสำคัญในการฝึกทักษะภาษาอังกฤษอย่างเข้มข้น เพื่อต่อยอดความรู้จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 รวมทั้งเพิ่มความเข้มข้นในการเรียนรู้ให้มีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และเรียนภาษาต่างประเทศที่ 2 อีกหนึ่งภาษา เพื่อให้ผู้เรียนเป็นเยาวชน คนรุ่นใหม่ที่มีคุณลักษณะทัดเทียมกับนานาประเทศ และเพิ่มเครือข่ายการพัฒนาในปี 2558 โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม เป็นโรงเรียนร่วมพัฒนาตามโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล รุ่นที่ 1 จึงได้เล็งเห็นความสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่สากลมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพและพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนสู่สากล
วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้โรงเรียน ยกระดับการบริหารการจัดการศึกษา และปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ให้มีประสิทธิภาพในการนำไปจัดกระบวนการเรียนการสอน การใช้สื่อเทคโนโลยี และการวัดประเมินผล ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะเป็นพลโลก รองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
เป้าหมาย 3.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
    3.1.1  โรงเรียนบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพตามแนวทางโรงเรียนมาตรฐานสากลสู่ TQA ครบทุกด้าน 
3.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ
    3.2.1  โรงเรียนมีการปรับแผนกลยุทธ์ และยกระดับการบริหารจัดการระบบคุณภาพ (Quality System Management) อย่างมีประสิทธิภาพ

 
ระยะเวลา 1 พ.ค. 2562 - 31 มี.ค. 2563
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม
ตัวชี้วัด 1. โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการระบบคุณภาพ (Quality System Management) และได้รับการยอมรับให้มีผลการดำเนินการที่เป็นเลิศ ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA)
        2. บุคลากรแกนนำโรงเรียนมาตรฐานสากล นำองค์ความรู้จากการศึกษาดูงานมาพัฒนาการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพตามเกณฑ์โรงเรียนมาตรฐานสากล ในระดับ TQA
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. โรงเรียนมีการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ให้เกิดขึ้นกับครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน
2. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เทียบเคียงมาตรฐานสากล มีศักยภาพเป็นพลโลก มีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร พร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
3. ครูและบุคลากร ทบทวน ปรับเนื้อหาการเรียนรู้ ให้ทันสมัย และพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่เป็นสากล รวมถึงสามารถใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารได้เป็นอย่างดี
4. ชุมชนให้ความมั่นใจและความไว้วางใจต่อประสิทธิภาพประสิทธิผลของโรงเรียน ในการส่งบุตรหลานเข้ามาศึกษาต่อ
5. คณะดำเนินงานการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพตามเกณฑ์โรงเรียนมาตรฐานสากล มีความรู้ ความเข้าใจ ในระบบการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. โรงเรียนมีการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ให้เกิดขึ้นกับครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน
7. โรงเรียนผ่านการติดตาม ตรวจเยี่ยม ด้านการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ ในระดับ TQA

 
สรุปคะแนนประเมิน 5
ไฟล์ประกอบ สรุปการเตรียมความพร้อมสู่มหาวิทยาลัย.doc.pdf
ขั้นเตรียมการ 1. ประชุม วางแผน และมอบหมายหน้าที่ผู้รับผิดชอบ คณะกรรมการดำเนินการ
2. ชี้แจงวัตถุประสงค์ ขั้นตอนการดำเนินงานและสิ่งที่นักเรียนจะได้รับประโยชน์
ขั้นดำเนินการ ขออนุมัติการดำเนินโครงการ/กิจกรรม
ขั้นตรวจสอบประเมินผล ประเมินผล และจัดทำรายงานผลการดำเนินกิจกรรม
ขั้นสรุปและรายงาน นำผลการประเมินความพึงพอใจมาปรับปรุงการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติงานในปีงบประมาณต่อไป
งบประมาณ 518,130 บาท
การบรรลุตัวชี้วัด 1. ผู้ใช้บริการตอบแบบสอบถาม
2. คณะกรรมการใช้แบบสำรวจความพร้อมอุปกรณ์โสตฯ
3. ผู้ใช้บริการตอบแบบสอบถาม
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค           1) งบประมาณ ปี 2561  ได้รับจัดสรรจำนวนน้อย ไม่เพียงพอสำหรับการพัฒนางานโสตทัศนศึกษาให้มีประสิทธิภาพได้ ซึ่งงบประมาณสำหรับซ่อมแซมอุปกรณ์ได้ถูกตัดไปจึงทำให้มีอุปกรณ์โสตที่ชำรุดจำนวนหนึ่งค้างอยู่รอการซ่อมแซม
          2)  บุคลากรโสตทัศนศึกษาขาดแคลน ไม่เพียงพอสำหรับการให้บริการหากมีการจัดกิจกรรมที่ต้องใช้ห้องประชุมพร้อมกันทุกแห่ง หรือมีการจัดกิจกรรมในหลายพื้นที่  นอกจากนี้บุคลากรยังมีภาระงานที่สังกัดงานอื่น ๆ ทำให้ไม่มีเวลาในการดำเนินงานโสต 
ข้อเสนอแนะ 1) ขอเสนอเพิ่มงบประมาณในการจัดสรรในปีงบประมาณต่อไป
2) ขอเสนอจ้างบุคลากรเพิ่มเติมหรือขออนุเคราะห์นักศึกษาฝึกประสบการณ์จากวิทยาลัยเทคนิค หรือสถาบันราชภัฏ สำหรับช่วยงานโสตทัศนศึกษาต่อไป
รูปภาพประกอบ