โรงเรียน : ศรีปทุมพิทยาคม สพม.สุรินทร์
ประเภท : โรงเรียนจัดการศึกษาพิเศษเรียนร่วม
ผลการประเมิน : 0.00
เผยแพร่เมื่อ : 14 ก.ย. 2561 โดย : นาสาวอรณิช เขตขยัน จำนวนผู้เข้าชม 111 คน
ชื่อโครงการ/กิจกรรม | โครงการบริหารจัดการศึกษาเรียนรวม |
ประเภท | โรงเรียนจัดการศึกษาพิเศษเรียนร่วม |
ปีการศึกษา | 2553 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ |
ผู้รับผิดชอบ | |
ความเป็นมา | การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม จะต้องร่วมมือกันระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน โดยปลูกฝังด้านจิตสำนึกและเจตคติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้แก่เด็กทุกคนโดยคำนึงถึงศักยภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล หรือความบกพร่องเฉพาะบุคคล ซึ่งจะให้สิทธิเท่าเทียมกันทุกคน โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลใดเป็นพิเศษเฉพาะ ลักษณะเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ความบกพร่องทางการเรียนรู้หมายถึงความบกพร่องเกี่ยวกับกระบวนการทางจิตวิทยา ซึ่งทำให้มี ปัญหาในการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ หรือ คณิตศาสตร์ร่วมกับบุคคลที่มีความบกพร่องจากการได้รับบาดเจ็บหรือกระทบกระเทือนระบบประสาทส่วนกลาง (Brain injury) แต่ไม่รวมถึงผู้ที่มีปัญหาที่เกิด จากความบกพร่องทางการได้ยิน ทางการเห็น ทางสติปัญญารวมถึงความบกพร่องทางอารมณ์และเสียเปรียบทาง สภาพแวดล้อม |
วัตถุประสงค์ | 1. เพื่อดำเนินการบริหารจัดการกระบวนการเรียนรวมให้เกิดประสิทธิภาพแก่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิต สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข 2. เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการเรียนรวมให้เป็นแนวทางให้ผู้ปฏิบัติงานคือครูผู้เป็นหัวใจสำคัญของการนำไปใช้พัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดผลดีกับผู้เรียน |
เป้าหมาย | |
ระยะเวลา | 14 ก.ย. 2561 - 14 ก.ย. 2561 |
สถานที่ดำเนินการ | โรงเรียนศรีปทุมพิทยาคม |
ตัวชี้วัด | 5.1 สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 49 ได้บัญญัติไว้ว่าบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอภาคกัน ในการได้รับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช่จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ได้รับการศึกษาเทียบเท่ากับบุคคลอื่น 5.2 สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา 10 การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ หรือบุคคลที่ไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือผู้ด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังนี้มีสิทธิ์และโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือตั้งแต่ที่พบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น หมวด 4 แนวทางจัดการศึกษา มาตรา 22 หลักการจัดการศึกษา ต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ มาตรา 26 การประเมินผลการเรียนรู้ พิจารณาจากพัฒนาการผู้เรียน สังเกตพฤติกรรม การเรียน การร่วมกิจกรรม และการทดสอบควบคู่กันไปตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา แล้วนำผลการประเมินดังกล่าวมาใช้ประกอบในการพิจารณาในการจัดสรรโอกาสเข้าศึกษาต่อ โดยวิธีการที่หลากหลาย 5.3 สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 มาตรา 5 คนพิการมีสิทธิทางการศึกษา ดังนี้ (1) ได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการจนตลอดชีวิต พร้อมทั้งได้รับเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อและความช่วยเหลือต่างๆ ใน ด้านการศึกษา (2) เลือกการบริการทางการศึกษา ระบบและรูปแบบทางการศึกษา โดยคำนึงถึงความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและความต้องการความจำเป็นพิเศษของบุคคลนั้น (3) ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานและประกันคุณภาพทางการศึกษา รวมถึงการจัดการหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ การทดสอบทางการศึกษาที่เหมาะสม สอดคล้องกับความจำเป็นพิเศษของบุคคลนั้นๆ โดย - ให้สถานศึกษาทุกสังกัดจัดสภาพแวดล้อม จัดระบบการเรียนการสอนตลอดจนการบริการเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและให้ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ - สถานศึกษาใดปฏิเสธไม่รับคนพิการเข้าศึกษา ให้ถือเป็นเลือกการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมตามกฎหมาย - ให้สถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สนับสนุนผู้ดูแลคนพิการและประสานความร่วมมือจากชุมชนหรือนักวิชาชีพ เพื่อให้คนพิการได้รับการศึกษาทุกระดับ หรือการบริการทางการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ 5.4 ดำเนินการตามจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓ ในด้านการขยายโอกาสและพัฒนาศักยภาพของเด็กด้อยโอกาสและเด็กพิการเรียนรวม 5.5 สนองเป้าหมายการพัฒนาของโรงเรียน ในด้านการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชนและหน่วยงานในท้องถิ่น ในการจัดการศึกษาให้กับเด็กพิเศษทุกคน |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ | |
สรุปคะแนนประเมิน | 0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
7โครงการบริหารจัดการศึกษาเรียนรวม.docx |
ขั้นเตรียมการ | |
ขั้นดำเนินการ | การเรียนรู้ของเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการทำงานของสมอง และพบว่าความบกพร่องทางกระบวนการเรียนรู้ ส่วนหนึ่งมาจากความบกพร่องในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของสมอง จึงส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ ดังนั้น วิธีการจัดการเรียนรู้หรือการหาช่องทางการสอนที่สอดคล้องกับปัญหาของเด็ก จะเป็นวิธีการที่จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ โดยมีหลักการที่เหมาะสม ดังนี้ 1. สอนจากสิ่งที่ง่ายที่สุดก่อน การเริ่มต้นที่ดีควรเริ่มสอนในสิ่งที่ต่ำกว่าความสามารถของเด็กเล็ก น้อย เพื่อให้เด็กมีกำลังใจ มั่นใจ และพร้อมจะเรียนในระดับยากต่อไปได้ 2.ให้เด็กมีความสุขในการเรียน เด็กที่มีความสุขในการเรียนจะมองคนในแง่ดี และสามารถสร้าง วามสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนและครูได้ 3.ให้การเสริมแรงอย่างสม่ำเสมอ คำชมจากครูเป็นสิ่งสำคัญเด็กจะรู้สึกมีกำลังใจและพยายามมากขึ้น 4.ให้เด็กเรียนจากเพื่อน (เพื่อนช่วยเพื่อน) เพราะเด็กเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ เรียนรู้คนเดียวได้ไม่ดี แต่จะเรียนรู้ได้เมื่อเรียนกับเพื่อน 5.จัดห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียน เด็กเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ ส่วนใหญ่จะมีอาการสมาธิสั้นร่วมด้วย ห้องเรียนจึงควรมีความเป็นระเบียบ สวยงาม มีเสียงรบกวนจากภายนอกน้อยที่สุด 6.มองหาจุดเด่นของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กแสดงความสามารถพิเศษ หรือเป็นคนเก่งในจุดที่เด็ก มีศักยภาพ 7.สอนโดยการเน้นย้ำซ้ำทวน เด็กเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ จะเรียนรู้ช้า เรียนได้หน้าลืมหลัง ครูควรใช้วิธีการกระตุ้นความจำ เช่น ให้เด็กทำกิจกรรมนั้นซ้ำบ่อย ๆ ด้วยวิธีการรับรู้ที่หลากหลายจากการดู การฟังการสัมผัส 8.ใช้คำสั่งที่สั้นและเข้าใจง่าย ในหนึ่งคำสั่งไม่ควรให้ทำหลาย ๆ กิจกรรม และให้เด็กทบทวน คำสั่งก่อนลงมือปฏิบัติ 9.พยายามให้ความช่วยเหลือ เนื่องจากเด็กมักขาดวินัย ขาดความรับผิดชอบ ขาดการจัดลำดับและมักไม่รอบคอบ ครูผู้สอนควรให้ความช่วยเหลือ 10.ให้เวลามากขึ้น เนื่องจากเด็กจะทำงานช้า เรียนช้า การให้ทำการบ้านและการทำแบบฝึกหัด จึงควรมีเวลาให้เด็กมากกว่าเด็กทั่วไป 11.มอบงานให้เหมาะสม การมอบให้เด็กทำงานแต่ละครั้งไม่ควรให้ครั้งละมาก ๆ แต่อาจมอบบ่อยขึ้น (เพื่อให้เท่ากับเด็กคนอื่น ) 12.สรุปเรื่องก่อนสอน เด็กจะเรียนรู้ได้ดีขึ้นหากมีการสรุปเรื่องที่จะเรียนให้เด็กฟังก่อนที่จะเรียนเรื่องนั้นๆ 13.ใช้อุปกรณ์ช่วย อนุญาตให้เด็กใช้เครื่องคิดเลข คอมพิวเตอร์ เทปบันทึกเสียง เพื่อช่วยให้เด็ก สามารถเรียนรู้ได้ 14.ให้เรียนรู้จากการปฏิบัติ เด็กเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติและร่วมกิจกรรมมากกว่าการฟังการสอนจากครู 15.ปรับเอกสารการเรียนการสอน เนื่องจากเด็กเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ มีปัญหาการรับรู้ทางสายตาเอกสารการเรียนการสอนต่าง ๆ จึงควรมีการปรับให้เหมาะสม เช่น พิมพ์ขนาดตัวอักษรขนาดใหญ่ขึ้น เน้นคำข้อความสำคัญในหนังสือ ให้ทำแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์ลงในกระดาษกราฟ หรือให้เขียนในกระดาษที่มีเส้นบรรทัด เป็นต้น |
ขั้นตรวจสอบประเมินผล | |
ขั้นสรุปและรายงาน | |
งบประมาณ | |
การบรรลุตัวชี้วัด | 8.1 ผลสำเร็จเชิงปริมาณ 8.1.1 นักเรียนเรียนร่วมทุกคนได้รับการพัฒนาทั้งทางด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคมและ สติปัญญา 8.2.1 ครูทุกคนจัดการเรียนการสอนตามแบบ IEP ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 8.1.3 ผู้ปกครองร้อยละ 80 ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมที่ทางโรงเรียนกำหนด 8.2 ผลสำเร็จเชิงคุณภาพ 8.2.1 นักเรียนเรียนร่วมได้รับการพัฒนา สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข 8.2.2 ครูมีความรู้ความเข้าใจ สามารถใช้สื่อ และจัดกิจกรรมได้อย่างหลากหลาย 8.2.3 ผู้ปกครองยอมรับและเข้าใจ พร้อมให้ความร่วมมือกับกิจกรรมของทางโรงเรียน |
ความพึงพอใจ | 8.3 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง 8.3.1 ครูกลุ่มเป้าหมายเกิดความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานการจัดการเรียนร่วมมากกว่าร้อยละ 80 8.3.2 นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย เกิดความพึงพอใจต่อระบบการดูแลช่วยเหลือ อำนวยสิ่งที่เป็น ประโยชน์มากกว่าร้อยละ 80 8.3.3 ผู้ปกครองเกิดความพึงพอใจต่อระบบการดูแลช่วยเหลือ อำนวยสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับเด็กพิการเรียนร่วม |
ปัญหาและอุปสรรค | |
ข้อเสนอแนะ | |
รูปภาพประกอบ |