ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
โครงการเสริมสร้างศักยภาพห้องเรียนพิเศษ STEM |
ประเภท |
โรงเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (Enrichment Science Classroom : ESC) |
ปีการศึกษา |
2559 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน 2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา 2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย 2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ 2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้ 3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน 3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ |
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
STEM Education คือการสอนแบบบูรณาการข้าม กลุ่มสาระวิชา (Interdisciplinary Integration) ระหว่าง ศาสตร์สาขาต่างๆ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science: S) เทคโนโลยี (Technology: T) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineer: E) และ คณิตศาสตร์ (Mathematics: M) โดยนำจุดเด่นของธรรมชาติ ตลอดจนวิธีการสอนของ แต่ละสาขาวิชามาผสมผสานกันอย่าง ลงตัว เพื่อให้ผู้เรียนนําความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา การค้นคว้า และการพัฒนาสิ่งต่างๆ ในสถานการณ์โลกปัจจุบัน ซึ่งอาศัยการจัดการเรียนรู้ที่ ครูผู้สอน หลาย สาขา ร่วมมือกัน เพราะในการทํางานจริงหรือในชีวิตประจำวันนั้นต้องใช้ความ รู้หลายด้านในการทํางาน
ทั้งสิ้นไม่ได้แยกใช้ความรู้เป็นส่วนๆ นอกจากนี้ STEM Education ยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนา ทักษะสําคัญในโลกโลกาภิวัตน์หรือทักษะที่จำเป็นสำหรับ ศตวรรษที่ 21
โรงเรียนบัวเชดวิทยาได้ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี และโรงเรียนมีความพร้อมในการเปิดรับนักเรียนตามโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์ ตามแนวทาง สสวท. และสอวน. ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในปีการศึกษา 2558 เพื่อพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็ม ศักยภาพ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมการเรียนรู้ตามความสนใจ พร้อมทั้งปลูกฝังให้มีเจตคติทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เพื่อเป็นฐานในการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของประเทศต่อไป
|
วัตถุประสงค์ |
1. เพื่อสนับสนุนการสร้างฐานนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีศักยภาพ โดยเริ่มบ่มเพาะตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจนถึงระดับอุดมศึกษา โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยที่มี ศักยภาพสูงด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
2. เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีความสามารถ ทาง วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี และขยายฐานการศึกษาสำหรับนักเรียนกลุ่มนี้ออกไปในวงกว้าง
3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากำลังคนทาง วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
|
เป้าหมาย |
ด้านปริมาณ
มีห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตามแนวทาง สสวท. และสอวน. ชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 1 จำนวน 30 คน
ด้านคุณภาพ
- นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตามแนวทาง สสวท.และสอวน. ทุกคนมีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.0
- นักเรียนมีความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ มีคะแนนทดสอบระดับชาติ ในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75
- นักเรียนห้องเรียนพิเศษสามารถสอบแข่งขันโอลิมปิกวิชการ(สอวน.) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ผ่านเข้ารอบแรก ได้ร้อยละ 5
|
ระยะเวลา |
12 ก.ย. 2560 - 12 ก.ย. 2560 |
สถานที่ดำเนินการ |
|
ตัวชี้วัด |
ด้านปริมาณ
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 60 คน ที่สอบผ่านเกณฑ์
ด้านคุณภาพ
นักเรียนที่สอบผ่านเกณฑ์ เข้าเรียนตามหลักสูตร STEM โดยบูรณาการศาสตร์ทั้ง 4 สาขาให้ผู้เรียนได้ เพื่อพัฒนาด้านปัญญา ด้านทักษะการคิด การคิดขั้นสูง และด้านคุณลักษณะ ทักษะ การ ทำงานกลุ่ม ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเห็น คุณค่า และ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะเพิ่มโอกาส การทำงานและเพิ่มมูลค่า |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
- ผู้เรียนได้ เพื่อพัฒนาด้านปัญญา ด้านทักษะการคิด การคิดขั้นสูง และด้านคุณลักษณะ ทักษะการ ทำงานกลุ่ม ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเห็นคุณค่า และ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะเพิ่มโอกาส การทำงานและเพิ่มมูลค่า
|
สรุปคะแนนประเมิน |
4.34 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
4.1 ขั้นเตรียมการ (P)
4.1.1 ศึกษานโยบายของโรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษา และ สพฐ.
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ
4.1.2 ศึกษาผลการดำเนินโครงการฯ ในปีที่ผ่านมา
4.1.3 ศึกษาบริบทและสภาพความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการฯ
4.1.4 จัดทำโครงการฯ นำเสนอต่อฝ่ายบริหาร
4.2 ขั้นดำเนินการ (D)
4.2.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงโครงการฯ และมอบหมายภาระงาน
4.2.2 ดำเนินงานตามโครงการฯ
4.3 ขั้นนิเทศติดตามผล (C)
เจ้าของโครงการฯ นิเทศติดตามการดำเนินงานและคอยอำนวยความสะดวกในการดำเนิน กิจกรรมของผู้เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามภาระงานที่โครงการฯ กำหนด
4.4 ขั้นประเมินและรายงานผล (A)
4.4.1 สรุปประเมินโครงการฯ
|
ขั้นดำเนินการ |
ขั้นดำเนินการ (D)
1. ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงโครงการฯ
และมอบหมายภาระงาน
2. ดำเนินงานตามโครงการโดยจัดกิจกรรมดังนี้ |
2.1 กิจกรรม สอนเสริมศักยภาพ STEM |
2.2 กิจกรรม ศึกษาแหล่งเรียนรู้ภายนอก |
2.3 กิจกรรม ส่งเสริมอัจฉริยภาพนักเรียน
ห้องเรียนพิเศษ |
2.4 กิจกรรม ค่ายเสริมสร้างศักยภาพ ห้องเรียนพิเศษ |
2.5 กิจกรรม การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระบบ Learn Education |
2.6 กิจกรรม จัดซื้อสื่อวัสดุ ครุภัณฑ์ ห้องเรียนพิเศษ |
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
ขั้นนิเทศติดตามผล (C)
เจ้าของโครงการฯ นิเทศติดตามการ ดำเนินงาน และคอยอำนวยความสะดวก ในการ ดำเนินกิจกรรมของผู้เกี่ยวข้องให้เป็นไปตาม ภาระงานที่โครงการฯ กำหนด |
ขั้นสรุปและรายงาน |
ขั้นนิเทศติดตามผล (A)
1. สรุปประเมินโครงการฯ
2. จัดทำรายงานโครงการฯ
นำเสนอฝ่ายบริหาร |
งบประมาณ |
รวมงบประมาณทั้งสิ้น |
293,000.00 |
|
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
ความพึงพอใจ |
ดี |
ปัญหาและอุปสรรค |
- |
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|