ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน |
ประเภท |
โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
ปีการศึกษา |
2561 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
|
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความสามารถของชุมชนเมือง รัฐ ประเทศ หรือภูมิภาคหนึ่ง ๆ ในการผลิตสินค้าและบริการทุกชนิดเพื่อเลี้ยงสังคมนั้น ๆ ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยต่างๆ ที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ
เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคลนั้น คือ ความสามารถในการดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างประมาณตน ตามฐานะ ตามอัตภาพ และที่สำคัญไม่หลงใหลไปตามกระแสของวัตถุนิยม มีอิสรภาพ เสรีภาพ ไม่พันธนาการอยู่กับสิ่งใด หากกล่าวโดยสรุป คือ หันกลับมายึดเส้นทางสายกลาง ในการดำรงชีวิต (ความรู้คู่คุณธรรม
โรงเรียนเป็นสถานที่ในการผลิตพลเมืองที่มีคุณภาพของชาติ เป็นแหล่งการเรียนรู้ พัฒนาทางด้านสติปัญญา ทางด้านร่างกาย ทางด้านอารมณ์ และทางด้านสังคม ในสังคมปัจจุบันมีความเจริญและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีมากมาย การพัฒนาด้านจิตใจ คุณธรรมและจริยธรรมยังมีน้อย ดังนั้น โรงเรียนจึงได้จัดกิจกรรม ส่งเสริมเศรษฐกิจพอพียง เพื่อเป็นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดกับนักเรียน นักเรียนสามารถเรียนรู้ในโรงเรียนได้อย่างมีความสุข เมื่อนักเรียนมีคุณธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว จะทำให้ผลการเรียนดีขึ้น และบรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาแห่งชาติที่ว่านักเรียนเป็นผู้ที่ ดี เก่ง มีสุข และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป ดั่ง “เศรษฐกิจพอเพียงจริงๆ คือ หลักการดำเนินชีวิตที่จริงแท้ที่สุด กรอบแนวคิดของหลักปรัชญามุ่งเน้นความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา อันมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ สามารถประยุกต์ใช้ในทุกระดับ ตลอดจนให้ความสำคัญกับคำว่า ความพอเพียง ที่ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ภายใต้เงื่อนไขของการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม”
|
วัตถุประสงค์ |
-
- เพื่อพัฒนานักเรียนด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
- เพื่อให้นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและลักษณะที่พึงประสงค์ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
- เพื่อให้โรงเรียนปลอดจากสิ่งเสพติด
- เพื่อให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน
|
เป้าหมาย |
3.1 ด้านปริมาณ
3.1.1 นักเรียนร้อยละ 95 ได้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงทุกคน
3.1.2 นักเรียนร้อยละ 95 ได้รับการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงทุกคน
3.2 ด้านคุณภาพ
3.2.1 นักเรียนเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงดีขึ้น
3.2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนดีขึ้น
|
ระยะเวลา |
15 พ.ค. 2561 - 31 มี.ค. 2562 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนหนองตูมวิทยา |
ตัวชี้วัด |
ผลผลิต
ด้านปริมาณ
1. นักเรียนร้อยละ 95 ได้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงทุกคน
2. นักเรียนร้อยละ 95 ได้รับการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงทุกคน
ด้านคุณภาพ
1. นักเรียนเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงดีขึ้น
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนดีขึ้น
ผลลัพธ์
1. ร้อยละ ของนักเรียน ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงทุกคน
2. ร้อยละ ของนักเรียน ที่ได้รับการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงทุกคน |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
1. นักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม มีสมาธิ ปัญญา
ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
2. การเรียนการสอนบรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
3. นักเรียนเรียนได้อย่างมีความสุข
4. ชุมชนได้มีส่วนร่วมกิจกรรมและให้การยอมรับโรงเรียนมากขึ้น
5. นักเรียนได้ปฏิบัติตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในโรงเรียน ในครอบครัว และในชุมชน
|
สรุปคะแนนประเมิน |
4 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
|
ขั้นดำเนินการ |
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
|
งบประมาณ |
|
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|