Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

กระบวนการจัดการเรียนการสอนการวัดประเมินผลยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาสู่มาตรฐานสากล

โรงเรียน : ดงเจนวิทยาคม สพม.พะเยา

ประเภท : โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 15 ก.ย. 2561 โดย :   จำนวนผู้เข้าชม 81 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม กระบวนการจัดการเรียนการสอนการวัดประเมินผลยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาสู่มาตรฐานสากล
ประเภท โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ปีการศึกษา 5561
มาตรฐาน

     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย

ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านวิทยาการ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้แต่ละประเทศไม่สามารถปิดตัวอยู่โดยลำพัง ต้องร่วมมือและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การดำรงชีวิตของคนในแต่ละประเทศ มีการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันมากขึ้น มีความร่วมมือในการปฏิบัติภารกิจและแก้ปัญหาต่าง ๆ ร่วมกันมากขึ้น ในขณะเดียวกัน สังคมโลกในยุคปัจจุบัน เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารทำให้คนต้องคิด วิเคราะห์ แยกแยะ และมีการตัดสินใจที่รวดเร็ว เพื่อให้ทันกับเหตุการณ์ในสังคม ที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น สิ่งเหล่านี้นำไปสู่สภาวการณ์ของการแข่งขันทางเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมระหว่างประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้หลายประเทศต้องปฏิรูปการศึกษา คุณภาพของการจัดการศึกษาจึงเป็นตัวบ่งชี้สำคัญประการหนึ่ง สำหรับความพร้อมในการเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 และศักยภาพในการแข่งขันในเวทีโลกของแต่ละประเทศ ประเทศที่จะอยู่รอดได้หรือคงความได้เปรียบก็คือประเทศที่มีอำนาจทางความรู้และเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งในยุคโลกไร้พรมแดนคนต่างชาติจะเข้ามาทำงาน และประกอบอาชีพในประเทศไทยมากขึ้นขณะเดียวกันคนไทยก็มีโอกาสไปทำงานและประกอบอาชีพในต่างประเทศมากขึ้นด้วยเช่นกัน
นอกจากนั้น ปัจจุบันปรากฏสภาพปัญหา ที่คนทั่วโลกต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ร่วมกันในเรื่องความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม และอุบัติภัยต่าง ๆ ที่เกิดบ่อย ๆ และรุนแรงมากยิ่งขึ้น ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อมวลมนุษย์โดยทั่วไป สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มว่าคนยุคใหม่จะต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่หลากหลาย เป็นสัญญาณเตือนว่าโลกในยุคหน้า จะมีปรากฏการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเกินกว่าจะคาดคิด ด้วยเหตุนี้  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่แต่ละประเทศต้องเตรียมคนรุ่นใหม่ ที่มีทักษะและความสามารถในการปรับตัว มีคุณลักษณะสำคัญในการดำรงชีวิตในโลกยุคใหม่ได้อย่างรู้เท่าทัน สงบ สันติ มีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี เหมาะสมและเพียงพอ
การจัดหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอนจำเป็นต้องมีความเป็นพลวัต ก้าวทันกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ผลักดันให้มีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดการศึกษาไทยให้พร้อมสำหรับการแข่งขันในเวทีโลกในยุคศตวรรษที่ 21 สรุปได้ดังนี้
1) โรงเรียนต้องเป็นหน่วยบริการทางการศึกษาในมิติที่กว้างขึ้น เพราะในปัจจุบันสังคมโลกเป็นสังคมที่ไร้พรมแดน ที่มีการติดต่อประสานสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่าง ๆ มากขึ้น อีกทั้งการก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 จะมีผลต่อการเปิดเสรีทางการศึกษา ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันในการจัดการศึกษาของสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้นในอนาคตโรงเรียนแต่ละแห่งจะต้องมีการแข่งขันด้านคุณภาพมากขึ้น โรงเรียนในประเทศไทยเองจำเป็นต้องพัฒนาให้เป็นหน่วยบริการทางการศึกษา  ที่มีคุณภาพ เพื่อรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นจากการเปิดเสรีทางการศึกษา
2) หลักสูตรการเรียนการสอนต้องมีความเป็นสากลมากขึ้น เนื่องจากยุคโลกาภิวัตน์ มีการเชื่อมโยงด้านการค้าและการลงทุน ทำให้ตลาดแรงงานในอนาคตต้องการคนที่มีศักยภาพในหลายด้าน รวมทั้ง ความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ การคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร คุณลักษณะในการเป็นพลโลก  การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนจึงต้องปรับให้มีความเป็นสากลมากขึ้น  นอกจากนี้การเปิดเสรีทางการศึกษา ทำให้สถาบันการศึกษาจากต่างประเทศ เข้ามาลงทุนด้านการจัดการศึกษาในประเทศไทย โรงเรียนควรหาภาคีเครือข่ายในการจัดหลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรสมทบ หรือหลักสูตรร่วมกับสถาบันต่างประเทศ เพื่อความเป็นสากลของการศึกษา
3) ต้องมีการพัฒนาทักษะการคิดมากขึ้น สภาพสังคมโลกที่มีการ แข่งขันสูง ทำให้การจัดการศึกษาจำเป็นต้องเน้นการพัฒนาทักษะเป็นสำคัญ ปัจจุบันโรงเรียนยังไม่สามารถพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียนได้ดีเท่าที่ควร เนื่องจากการเรียนการสอนยังเน้นให้ผู้เรียนคิดตามสิ่งที่ผู้สอนป้อนความรู้มากกว่าการคิดสิ่งใหม่ ๆ ดังนั้น จึงควรมีการปรับรูปแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดให้มากยิ่งขึ้น
4) ต้องมีการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมมากขึ้น แนวคิดของทุนนิยมที่มุ่งการแข่งขัน มีอิทธิพลทำให้การจัดการศึกษาของโรงเรียนส่วนใหญ่เน้นและให้ความสำคัญกับการพัฒนาความรู้และความสามารถ เพื่อความก้าวหน้า ในหน้าที่การงานและการมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จนอาจละเลยการส่งเสริมด้านคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งจะส่งผลต่อปัญหาทางสังคมตามมา ดังนั้น ปรัชญา การจัดการศึกษา จึงต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคคลในองค์รวม ทั้งมิติของความรู้และคุณธรรมคู่กัน เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนอันจะส่งผลให้ประชำคมโลกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข5) การสอนภาษาต่างประเทศต้องมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในยุคโลกไร้พรมแดนนั้น ผู้มีความรู้ด้านภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาที่ใช้สื่อสารกันอย่างกว้างขวาง เช่น ภาษาอังกฤษ หรือภาษาจีน ย่อมมีความได้เปรียบในการติดต่อสื่อสาร การเจรจาต่อรองในเรื่องต่าง ๆ ตลอดจนการประกอบอำชีพ การจัดการเรียนการสอนจึงควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศอย่างเต็มศักยภาพโรงเรียนมาตรฐานสากลจึงเป็นนวัตกรรมการจัดการศึกษาที่สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนำมาใช้เป็นมาตรการเร่งด่วนในการยกระดับการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐานเทียบเท่าสากล

 
วัตถุประสงค์ 1.  วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
1.1  เพื่อดำเนินการพัฒนาและยกระดับคุณภาพตามแนวทางการดำเนินโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลทั้งด้านการจัดการเรียนการสอน  
1.2  เพื่อให้ครูผู้สอนเกิดความรู้ความเข้าในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ              
         1.3  เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนางานด้านการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.  วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
1.1  เพื่อดำเนินการพัฒนาและยกระดับคุณภาพตามแนวทางการดำเนินโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลทั้งด้านการจัดการเรียนการสอน  
1.2  เพื่อให้ครูผู้สอนเกิดความรู้ความเข้าในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ              
 1.3  เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนางานด้านการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
เป้าหมาย 2.  เป้าหมายของกิจกรรม
          2.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ 
- ครูร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เทียบเคียงโรงเรียนมาตรฐานสากล     
2.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ 
 - ครูผู้สอนครูทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้เทียบเคียงโรงเรียนมาตรฐานสากล และเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
 - ครูผู้สอนมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
 
ระยะเวลา 15 พ.ค. 2561 - 5 มิ.ย. 2561
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนดงเจนวิทยาคม
ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดที่ 2.2.1 การวางแผนและดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพของผู้เรียนรอบด้านทุกกลุ่มเป้าหมาย และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 6.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ 
          6.1 ครูผู้สอนมีแผนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและเป็นแผนที่มีประสิทธิภาพ             
ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
          6.2 ครูผู้สอนเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญดำเนินการพัฒนาและยกระดับคุณภาพตามแนวทางการดำเนินโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล
          6.3 ครูผู้สอนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนางานด้านการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ