Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

โรงเรียน : พะทายพิทยาคม สพม.นครพนม

ประเภท : โรงเรียนในฝัน (Lab School)

ผลการประเมิน : 0

เผยแพร่เมื่อ : 15 ก.ย. 2561 โดย :   จำนวนผู้เข้าชม 91 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ประเภท โรงเรียนในฝัน (Lab School)
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
     2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
     2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา การจัดการเรียนรู้ในปัจจุบัน เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญ ผู้เรียนต้องได้เรียนตามความต้องการ และตามศักยภาพของตนเอง เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ ทักษะ กระบวนการ สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ และครูจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้มีประสบการณ์มากพอที่จะเป็นผู้แนะนำ และคอยถ่ายทอดประสบการณ์ในกระบวนการเรียนการสอน  จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้การจัดการศึกษามีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ ตามหลักสูตรและนโยบายของโรงเรียน
วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด
2.2 เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ รักการอ่าน รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
2.3 เพื่อให้ผู้เรียนและครูได้รับประสบการณ์จากแหล่งเรียนรู้ วิทยากร หรือจากเพื่อนต่างสถาบัน มาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนดีขึ้น
เป้าหมาย 3.1 เชิงปริมาณ  นักเรียนร้อยละ 80  ได้รับประสบการณ์จากการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
          3.2 เชิงคุณภาพ  นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร  มีคุณธรรม  จริยธรรม มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ รักการอ่าน รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
ระยะเวลา 15 ก.ย. 2561 - 15 ก.ย. 2561
สถานที่ดำเนินการ
ตัวชี้วัด
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ วิธีวัดผล/ประเมินผล เครื่องมือวัดผล
1. ผู้เรียนร้อยละ 80 มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรของโรงเรียน -สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน  - แบบสังเกต
2. ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ รักการอ่าน รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง 1.สอบถามความคิดเห็นของผู้เข้าร่วม
  กิจกรรม
2.สังเกต สัมภาษณ์ผู้เรียนจากการ
   ปฏิบัติตน
3.สำรวจผู้เรียนจากการเข้าห้องสมุด
- แบบสอบถาม
- แบบสังเกต
- แบบสัมภาษณ์
- แบบสำรวจ
3. ผู้เรียนและครูได้รับประสบการณ์จากแหล่งเรียนรู้ วิทยากร และเพื่อนต่างสถาบัน 1.สำรวจ ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วม
  กิจกรรม
2.สังเกต สัมภาษณ์ ผู้ที่เข้าร่วม
  กิจกรรม
- แบบสำรวจ
- แบบสังเกต
- แบบสัมภาษณ์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรของโรงเรียนร้อยละ 80 ขึ้นไป
2. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ รักการอ่าน รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ร้อยละ 80 ขึ้นไป
3. ผู้เรียนและครูได้รับประสบการณ์จากแหล่งเรียนรู้ วิทยากร และจากการศึกษาดูงานหรือจากเพื่อนต่างสถาบัน ประมาณร้อยละ 80
 
สรุปคะแนนประเมิน 0
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ 1.ขั้นเตรียม  (P)
  1.1 เขียนโครงการ/เสนอโครงการ
  1.2 กำหนดแนวทางการดำเนินงานและผู้รับผิดชอบ
 
ขั้นดำเนินการ 2.ขั้นดำเนินการ (D)
  2.1 กิจกรรมเสริมความรู้และประสบการณ์พิเศษให้กับนักเรียน
  2.2 กิจกรรมพัฒนาบุคลากรเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
  2.3 กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ
  2.4 กิจกรรมการแข่งขันศิลปหัตถกรรม
 
ขั้นตรวจสอบประเมินผล 3. ขั้นประเมินผล (C)
- ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารทราบ
 
ขั้นสรุปและรายงาน 4. ขั้นปรับปรุง/พัฒนา (A)
- นำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาการจัดกิจกรรมต่อไป
งบประมาณ
ขั้นตอนการดำเนินงาน วัน/เดือน/ปี งบประมาณ
1.ขั้นเตรียม  (P)
  1.1 เขียนโครงการ/เสนอโครงการ
  1.2 กำหนดแนวทางการดำเนินงานและผู้รับผิดชอบ
2.ขั้นดำเนินการ (D)
  2.1 กิจกรรมเสริมความรู้และประสบการณ์พิเศษให้กับนักเรียน
  2.2 กิจกรรมพัฒนาบุคลากรเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
  2.3 กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ
  2.4 กิจกรรมการแข่งขันศิลปหัตถกรรม
3. ขั้นประเมินผล (C)
- ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหาร
  ทราบ


4. ขั้นปรับปรุง/พัฒนา (A)
- นำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาการจัดกิจกรรมต่อไป

มี.ค. 61 - เม.ย. 62


16 พ.ค. 61 – 20 มี.ค. 62

16 พ.ค. 61 – 20 มี.ค. 62

16 พ.ค. 61 – 20 มี.ค. 62

1 ส.ค. 61 – 31 มี.ค. 62


มี.ค. 62



เม.ย. 62




60,000

10,000

20,000

80,000
การบรรลุตัวชี้วัด
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ
1. ผู้เรียนร้อยละ 80 มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรของโรงเรียน
2. ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ รักการอ่าน รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
3. ผู้เรียนและครูได้รับประสบการณ์จากแหล่งเรียนรู้ วิทยากร และเพื่อนต่างสถาบัน
ความพึงพอใจ 1. ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรของโรงเรียนร้อยละ 80 ขึ้นไป
2. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ รักการอ่าน รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ร้อยละ 80 ขึ้นไป
3. ผู้เรียนและครูได้รับประสบการณ์จากแหล่งเรียนรู้ วิทยากร และจากการศึกษาดูงานหรือจากเพื่อนต่างสถาบัน ประมาณร้อยละ 80
 
ปัญหาและอุปสรรค 1. สภาพครอบครัวของนักเรียน  ส่วนใหญ่ต้องอาศัยอยู่กับปู่  ย่า  ตา  ยาย  ลุง  ป้า  น้า  อา  หรือผู้ปกครองที่่ไม่ใช่บิดา มารดา  เนื่องจากบิดา มารดาแยกทางกันบางส่วน  หรือบิดา มารดาไปทำงานต่างจังหวัดบางส่วน  ทำให้ขาดการเอาใจใส่เรื่องการเรียนเมื่อนักเรียนกลับไปบ้าน 
2. โรงเรียนเป็นโรงเรียนชายขอบ  ห่างไกลจากตัวอำเภอ และห่างจากตัวจังหวัด  ทำให้นักเรียนบางส่วนที่ฐานะทางบ้านยากจนไม่มีโอกาสได้พบแหล่งข้อมูลที่ทันสมัยมากนัก
 
ข้อเสนอแนะ -
รูปภาพประกอบ