Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

โครงการโรงเรียนแบบอย่างการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

โรงเรียน : ขวาวใหญ่วิทยา สพม.สุรินทร์

ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 15 ก.ย. 2561 โดย : นางพนารัตน์  จุลกองฮ้อ จำนวนผู้เข้าชม 48 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการโรงเรียนแบบอย่างการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ประเภท โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีการศึกษา 2560
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร จนได้รับ
การยอมรับว่า เป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญหล่อเลี้ยงพลโลก นักเรียนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า
ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นกลุ่มบุคคลที่มีพลังความคิดสร้างสรรค์และมีศักยภาพ
ในการพัฒนาสูง จะเป็นผู้ที่ต้องก้าวเข้ามารับผิดชอบต่ออนาคตของประเทศ จึงกำหนดแนวทางการพัฒนานักเรียนด้วยการส่งเสริมการรวมตัวกันของเด็กและเยาวชน ด้วยความสมัครใจ จำนวนอย่างน้อย ๑๕ คนขึ้นไป จัดตั้งเป็น “กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนขวาวใหญ่วิทยา” ขึ้น เพื่อให้เด็กและเยาวชนร่วมกันเรียนรู้และดำเนินกิจกรรมตามความสนใจ โดยวิธีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง (Learning by doing) เพื่อปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้อง ทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม และการงานพื้นฐานอาชีพด้านเกษตรกรรม เพื่อเรียนรู้งานอาชีพ
วัตถุประสงค์ ) เพื่อให้นักเรียนเป็นกลุ่มยุวเกษตรกร เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน ในสังคมประชาธิปไตย
) เพื่อให้นักเรียนได้รับการถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีการเกษตร และฝึกปฏิบัติกิจกรรมการเกษตร
)เพื่อให้นักเรียนรู้จัดใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ รู้จักช่วยเหลือตนเองผู้อื่น การทำงานเป็นกลุ่มคณะ
)เพื่อนำผลผลิตทางด้านการเกษตรจำหน่ายและใช้บริโภคในครัวเรือน
๕) เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน จำนวน 10 แหล่ง

 
เป้าหมาย ๑) นักเรียนที่สนใจด้านการเกษตร รวมตัวกันด้วยความสมัครใจ จำนวนอย่างน้อย ๑๕ คน
๒) ครูที่ปรึกษาและนักเรียน ร่วมกันเรียนรู้และสร้างแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง
๓) นักเรียนได้เรียนรู้แหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง ในโรงเรียนขวาวใหญ่วิทยา
ระยะเวลา 15 ก.ย. 2561 - 15 ก.ย. 2561
สถานที่ดำเนินการ แหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง โรงเรียนขวาวใหญ่วิทยา
ตัวชี้วัด ผลงานดีเด่นของกลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนขวาวใหญ่วิทยา มีดังนี้
๑) รางวัลชนะเลิศ ระดับจังหวัดสุรินทร์ การประกวดกิจกรรมกลุ่มยุวเกษตรกรดีเด่นปี ๒๕๕๙
) นางพนารัตน์  จุลกองฮ้อ ครูที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนขวาวใหญ่วิทยา ได้รับคัดเลือก
เป็นที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกรดีเด่น ระดับจังหวัดสุรินทร์ ประจำปี ๒๕๕๙
) นางสาวกมลชนก  โพธิ์คำ สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนขวาวใหญ่วิทยา ได้รับคัดเลือก
เป็นสมาชิกยุวเกษตรกรดีเด่น ระดับจังหวัดสุรินทร์ ประจำปี ๒๕๕๙
) รางวัลต้นแบบกลุ่มยุวเกษตรกร สำนักงานเกษตรจังหวัดสุรินทร์ ประจำปี 2560
) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันทักษะการเกษตร งานชุมนุมที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกรและสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร
ระดับประเทศ วันที่ 1 - 5 กรกฏาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ . การบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาและทีมงานฝ่ายบริหาร มีการทำแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน
. การบูรณาการกิจกรรมยุวเกษตรกรสู่การจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน โดยจัดเข้าสู่กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในกิจกรรมชุมนุม รวมถึงสามารถนำไปปฏิบัติที่บ้านได้และมีการปฏิบัติกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
สามารถเผยแพร่ผลงานสู่ภายนอกได้
. นักเรียนแกนนำที่ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการดำเนินงานของโครงการและกิจกรรมต่างๆ ในโครงการ มีส่วนสำคัญที่ทำให้ผลการดำเนินงานของโครงการประสบผลสำเร็จ
๔.การเผยแพร่/ได้รับการยอมรับ/และความภาคภูมิใจ
 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ