Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

โครงการขยายผลการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล DLIT

โรงเรียน : กุดชุมวิทยาคม สพม.ศรีสะเกษ ยโสธร

ประเภท : เครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet)

ผลการประเมิน : 4.57

เผยแพร่เมื่อ : 15 ก.ย. 2561 โดย :   จำนวนผู้เข้าชม 1037 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการขยายผลการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล DLIT
ประเภท เครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet)
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
     2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา โครงการขยายผลการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล DLIT เรื่อง การผลิตสื่อเสมือนจริงแบบปฏิสัมพันธ์โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม จัดทำเพื่อเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)  ให้มีการขับเคลื่อนและขยายผล โครงการยกระดับพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนยีสารสนเทศ ให้กับครูผู้สอนทุกโรงเรียนในสังกัด โดยการอบรมวิทยากร หลัก (Smart Trainer) ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และการขยายผลอบรมวิทยากรแกนนําใน โรงเรียนกุดชุมวิทยาคม การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล DLIT อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มศักยภาพทางด้านศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนให้ทันเหตุการณ์ในยุคโลกาภิวัฒน์และสนองนโยบายในการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2542 (ปรับปรุง พ.ศ. 2545 )  ที่ให้มีการจัดการเรียนรู้และวัดประเมินผลที่หลากหลาย เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้เป็นพลเมืองที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนกุดชุมวิทยาคม มุ่งพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ มีความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสู่ความเป็นสากล
          คณะผู้ประเมินผลจึงได้จัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการขยายผลการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล ในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง อันจะส่งผลให้เกิดผลคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืนต่อไป
 
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา สามารถผลิตสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายได้
  2. เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา สามารถใช้เทคโนโลยีใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนได้
เป้าหมาย เชิงปริมาณ   
  1. ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนของ 100 คน
เชิงคุณภาพ
  1. ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผลิตสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายได้
  2. ครูและบุคลากรทางการศึกษา ใช้เทคโนโลยีใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนได้
ระยะเวลา 4 ก.ค. 2561 - 4 ก.ค. 2561
สถานที่ดำเนินการ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ โรงเรียนกุดชุมวิทยาคม
ตัวชี้วัด แบบประเมินความพึงพอใจ การขยายผลการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล (DLIT) การผลิตสื่อเสมือนจริงแบบปฏิสัมพันธ์โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR) ในยุคการศึกษา THAILAND 4.0
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ได้เอกสารรายงานการดำเนินงานโครงการโครงการขยายผลการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล DLIT เรื่อง การผลิตสื่อเสมือนจริงแบบปฏิสัมพันธ์โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม
  2. ผลการประเมินการดำเนินงานโครงการเป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการอย่างต่อเนื่อง
  1. ครูและบุคลากรทางการศึกษา สามารถผลิตสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายได้
  2. ครูและบุคลากรทางการศึกษา สามารถใช้เทคโนโลยีใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนได้

 
สรุปคะแนนประเมิน 4.57
ไฟล์ประกอบ คู่มือการอบรม2.pdf
เกียรติบัตร.pdf
คำสั่งอบรม-AR.pdf
ขั้นเตรียมการ ขั้นตอนนี้เป็นการวางแผนการดำเนินการโดยมีขั้นตอน ดังนี้
1.1 ประชุมปรึกษาร่วมกันระหว่างหัวหน้างาน/หัวหน้ากลุ่มสาระฯ แล้วขยายผลสู่คณะครูทุกคน
1.2 จัดทำโครงการ เสนอผู้บริหารเพื่อพิจารณาเห็นชอบ
1.3 แต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมแต่ละงานแต่กิจกรรมตามความเหมาะสม
1.4 สร้างความเข้าใจกับนักเรียนเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินการ
1.5 ติดต่อประสานงานเตรียมความพร้อม ทั้งด้านสถานที่ และด้านบุคลากร
1.6 กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการ และวิธีประเมินผล
 
ขั้นดำเนินการ การปฏิบัติงานตามแผนงานที่วางไว้โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงาน  ดังนี้
2.1 บันทึกเสนอผู้บริหารเพื่อขออนุญาตดำเนินการ
2.2 ดำเนินการตามโครงการขยายผลการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล DLIT เรื่อง การผลิตสื่อเสมือนจริงแบบปฏิสัมพันธ์โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมในระหว่างภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2561 โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษาภายในโรงเรียนทุกคน
 
ขั้นตรวจสอบประเมินผล 3.1 ดำเนินการประเมินผลการจัดกิจกรรมตามโครงการ โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจ
3.2 ข้อมูลที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ใช้วิธีแจกแจงความถี่ หาค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ทั้งในรายข้อและภาพรวมเทียบกับเกณฑ์ ดังนี้
                   4.51-5.00      หมายถึง  มีความเหมาะสม/การปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
                    3.51-4.50      หมายถึง  มีความเหมาะสม/การปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
2.51-3.50      หมายถึง  มีความเหมาะสม/การปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง
                   1.51-2.50      หมายถึง  มีความเหมาะสม/การปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย
                   1.00-1.50      หมายถึง  มีความเหมาะสม/การปฏิบัติอยู่ในระดับน้อยที่สุด
          3.3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1.  ค่าเฉลี่ย (Arithmetic: X)
2.  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : SD)
3.4 รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารต่อไป
 
ขั้นสรุปและรายงาน เมื่อคณะกรรมการฝ่ายประเมินผล สรุปผลการดำเนินงาน  ปัญหา  อุปสรรค และข้อเสนอแนะกลุ่มงานผู้รับผิดชอบจึงได้นำสารสนเทศที่ได้มาปรับปรุง พัฒนาการงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 
งบประมาณ 15,000
การบรรลุตัวชี้วัด
  1. ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผลิตสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายได้ อย่างน้อย ร้อยละ 80
  2. ครูและบุคลากรทางการศึกษา ใช้เทคโนโลยีใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนได้ อย่างน้อย ร้อยละ 80
ความพึงพอใจ           วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมิน  ได้ผลการประเมิน ดังนี้
รายการ (X) (S.D) ระดับความคิดเห็น
ด้านวิทยากร *
1. การถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรมีความชัดเจน 4.50 0.51 มากที่สุด
2. ความสามารถในการอธิบายเนื้อหา 4.57 0.50 มากที่สุด
3. การเชื่อมโยงเนื้อหาในการอบรม 4.57 0.50 มากที่สุด
4. มีความครบถ้วนของเนื้อหาในการอบรม 4.36 0.78 มากที่สุด
5. การใช้เวลาตามที่กำหนดไว้ 4.32 0.42 มาก
6. การตอบข้อซักถามในการอบรม 4.57 0.50 มากที่สุด
ด้านสถานที่ / ระยะเวลา / อาหาร *
1. สถานที่สะอาดและมีความเหมาะสม 4.46 0.64 มากที่สุด
2. ความพร้อมของอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ 4.36 0.78 มากที่สุด
3. ระยะเวลาในการอบรมมีความเหมาะสม 4.61 0.50 มากที่สุด
4. อาหาร มีความเหมาะสม 4.57 0.50 มากที่สุด
ด้านเนื้อหา ความรู้ความเข้าใจ *
1. Google Apps for Education 4.36 0.78 มากที่สุด
2. Google Drive 4.61 0.50 มากที่สุด
3. Google Doc , Sheets , Presentation                    4.57 0.50 มากที่สุด
4. Google From                                      4.46 0.64 มากที่สุด
5. Google Classroom 4.36 0.78 มากที่สุด
ด้านการนำความรู้ไปใช้ *
1. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานด้านการเรียนการสอนได้ 4.75 0.50 มากที่สุด
2. มีความมั่นใจและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ได้ 4.57 0.50 มากที่สุด
3. สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่/ถ่ายทอดได้ 4.61 0.50 มากที่สุด
ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะอื่นๆ
ข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม      
เฉลี่ย 4.57 0.64 มากที่สุด
          จากตาราง พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจโดยเรียงลำดับความพอใจจากมากทุกสุดไปน้อยที่สุด ดังนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานด้านการเรียนการสอนได้ ( X = 4.61 ,SD = 0.50) น้อยที่สุด คือ การใช้เวลาตามที่กำหนดไว้ ( X=4.32  ,SD =0.42   ) ตามลำดับ
 
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
  1. ผู้เข้าอบรมบางท่าน ยังไม่สมัครอีเมล
  2. ผู้เข้าอบรมบางส่วน ไม่ค่อยมีทักษะในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์
  3. ในขณะจัดการอบรม เกิดไฟฟ้าดับ
รูปภาพประกอบ