Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

โครงการสะเต็มศึกษา (STEM Education)

โรงเรียน : นาหนังพัฒนศึกษา สพม.หนองคาย

ประเภท : โรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 15 ก.ย. 2561 โดย :   จำนวนผู้เข้าชม 782 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการสะเต็มศึกษา (STEM Education)
ประเภท โรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน


     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา จากนโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ โดยเฉพาะการดำเนินการจัดการศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง  (พ.ศ. 2552 – 2561)  โดยรัฐบาลมีนโยบายด้านการศึกษาที่จะยกระดับคุณภาพการศึกษา เตรียมความพร้อมและพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับสังคมโลก โดยเฉพาะสังคมโลกในศตวรรษที่ 21 อันเป็นผลจากการปฏิวัติด้านดิจิตัล (Digital Revolution) และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่ทำให้โลกทั้งโลกเชื่อมโยงและสื่อสารถึงกันได้อย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องสร้างและพัฒนาให้คนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถ มีทักษะ ความถนัด ความชำนาญ พร้อมที่จะขับเคลื่อนและยกระดับการพัฒนาประเทศ สู่การเป็นประเทศพัฒนาในระดับที่สูงขึ้น ดังนั้นหัวของนโยบาย คือต้องมุ่งไปที่คุณภาพของผู้เรียนและผลสัมฤทธิ์ สะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ กับชีวิตจริงและการทำงาน  การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฎทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฎเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด  ตั้งคำถาม  แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้
การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มมีลักษณะ  5  ประการได้แก่ (1) เป็นการสอนที่เน้นการ
บูรณาการ (2) ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ  (3) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21  (4) ท้าทายความคิดของนักเรียน  และ (5) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา  จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์  และเห็นว่าวิชาเหล่านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ได้ทุกวัน
วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ใช้วิทยาศาสตร์
คณิตสาสตร์ เทคโนโลยี และกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม เป็นพื้นฐาน

2. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจสาระวิชาและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มากขึ้น
3. เพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ มาใช้เพื่อกระตุ้น ผู้เรียนให้เกิดการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา เกิดองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อรองรับการก้าวสู่การเปลี่ยนแปลง ในมิติเศรษฐกิจและสังคม และสร้าง
ช่องทางการเผยแพร่ความรู้ เพื่อสร้างแรงจูงใจ และบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต  

4. เพื่อให้ศึกษาหาแนวทางพัฒนาความสามารถของครูให้สามารถจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวทางสเต็มศึกษา 
5. เพื่อให้ศึกษาหาแนวทางในการสร้างทักษะที่จำเป็นให้แก่นักเรียน ได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะชีวิตและการทำงาน ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ผ่านการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวทางสเต็มศึกษา (STEM EDUCATION)
 
เป้าหมาย เป้าหมายเชิงคุณภาพ
1. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี  และคณิตศาสตร์ สูงขึ้น  
2. โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการเข้าใจรูปแบบการจัดการศึกษาตามตาม
แนวทางสเต็มศึกษา
3. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการสามารถเข้าถึงความรู้ ได้เท่าเทียมกัน ตลอดจนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนระบบการจัดการความรู้
เป้าหมายเชิงปริมาณ

1. ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆที่ใช้วิทยาศาสตร์ คณิตสาสตร์ เทคโนโลยี และกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม เป็นพื้นฐาน

2. ผู้เรียนเข้าใจสาระวิชาและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มากขึ้น
3. สร้างนวัตกรรมในการการจัดเรียนการสอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ของนักเรียนกลุ่มที่เรียนปานกลาง
4. สร้างรูปแบบในการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางสเต็มศึกษา
5. สร้างและพัฒนาระบบการจัดการความรู้เพื่อเป็นช่องทางในการเข้าถึงความรู้ และพัฒนาทักษะในการใช้เครื่องมือทางสารสนเทศอย่างเท่าทัน และนำไปต่อยอดจนสามารถเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาชาติบนฐานความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
6. ยกระดับความสามารถทางด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อก้าวสู่การวิจัยและพัฒนาผลงานในระดับโลก
 
 
ระยะเวลา 15 พ.ค. 2561 - 31 มี.ค. 2562
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนนาหนังพัฒนศึกษา
ตัวชี้วัด 1.  ร้อยละของผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยอยู่ในระดับดีขึ้น
2. ร้อยละของผู้เรียนมีผลการประเมินสมรรถนะสำคัญอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์
3. ร้อยละของผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์  และเขียนอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์
4. ร้อยละของผู้เรียนมีให้ผลการประเมินระดับชาติมีพัฒนาการที่ดีขึ้นกว่าเดิม
5.  ร้อยละของผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนสามารถนำทักษะกระบวนการสอนแบบบูรณาการตามแนวทางสเต็มศึกษามาประยุกต์ใช้ในการเรียน
2. ครู มีความรู้ความเข้าใจในการนำทักษะกระบวนการสอนแบบบูรณาการตามแนวทางสเต็มศึกษามาประยุกต์ใช้ในการสอน และมีทักษะการจัดการเรียนรู้โดยนำทักษะกระบวนการสอนแบบบูรณาการ
3. ผู้บริหาร มีความรู้ความเข้าใจแนวการจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนนำทักษะกระบวนการสอนแบบบูรณาการตามแนวทางสเต็มศึกษามาประยุกต์ใช้และมีแนวทางในการนำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมการส่งเสริมการนำทักษะกระบวนการสอนแบบบูรณาการตามแนวทางสเต็มศึกษามาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ