Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

โครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์

โรงเรียน : ภูซางวิทยาคม สพม.พะเยา

ประเภท : โรงเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (Enrichment Science Classroom : ESC)

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 15 ก.ย. 2561 โดย : อุบลวรรณ จิตเกิด จำนวนผู้เข้าชม 163 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์
ประเภท โรงเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (Enrichment Science Classroom : ESC)
ปีการศึกษา 25610
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน


ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา ปัจจุบันกระแสประเทศไทย 4.0 เป็นเรื่องที่คนไทยทุกคนให้ความสนใจ และเป็นนโยบายที่ทุก
หน่วยงานจะต้องนำมาขับเคลื่อน เพื่อให้ประเทศไทยก้าวข้ามจากประเทศกำลังพัฒนาเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว กระทรวงศึกษาธิการก็เช่นกัน โดยนโยบายกระทรวงศึกษาธิการเร่งปฏิรูปการเรียนรู้ให้กับเด็กไทย อย่างเป็นรูปธรรมในหลายด้าน เช่น การพัฒนาระบบภาษาอังกฤษ การส่งเสริมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การปรับหลักสูตรการเรียนการสอน การพัฒนาปรับปรุงตำราเรียนให้มีมาตรฐาน 5 ดาว และการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันต้องพัฒนาทักษะดังกล่าวให้กับนักเรียนกิจกรรมของโครงการห้องเรียนพิเศษโรงเรียนภูซางวิทยาคม จึงมุ่งเน้นให้นักเรียนได้ทำฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ทักษะการคิดวิเคราะห์ และพยายามให้นักเรียนได้แสดงศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในเวทีต่าง ๆ ทั้งในระดับโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่ และระดับภูมิภาค รวมทั้งหน่วยงานเอกชนที่จัดการประกวดความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนมีประสบการณ์และทักษะที่จำเป็นในทำงาน และการศึกษาต่อในระดับสูงต่อไป
ปัจจุบันกระแสประเทศไทย 4.0 เป็นเรื่องที่คนไทยทุกคนให้ความสนใจ และเป็นนโยบายที่ทุก
หน่วยงานจะต้องนำมาขับเคลื่อน เพื่อให้ประเทศไทยก้าวข้ามจากประเทศกำลังพัฒนาเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว กระทรวงศึกษาธิการก็เช่นกัน โดยนโยบายกระทรวงศึกษาธิการเร่งปฏิรูปการเรียนรู้ให้กับเด็กไทย อย่างเป็นรูปธรรมในหลายด้าน เช่น การพัฒนาระบบภาษาอังกฤษ การส่งเสริมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การปรับหลักสูตรการเรียนการสอน การพัฒนาปรับปรุงตำราเรียนให้มีมาตรฐาน 5 ดาว และการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันต้องพัฒนาทักษะดังกล่าวให้กับนักเรียนกิจกรรมของโครงการห้องเรียนพิเศษโรงเรียนภูซางวิทยาคม จึงมุ่งเน้นให้นักเรียนได้ทำฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ทักษะการคิดวิเคราะห์ และพยายามให้นักเรียนได้แสดงศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในเวทีต่าง ๆ ทั้งในระดับโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่ และระดับภูมิภาค รวมทั้งหน่วยงานเอกชนที่จัดการประกวดความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนมีประสบการณ์และทักษะที่จำเป็นในทำงาน และการศึกษาต่อในระดับสูงต่อไป

 
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ได้รับการพัฒนาการเรียนรู้เต็มตาม
ศักยภาพ   
2.​​​​​​โรงเรียนภูซางวิทยาคมมีระบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่มี
คุณภาพ
 
เป้าหมาย เป้าหมายด้านปริมาณ
  1. นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์จำนวน 177  คน มีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ในระดับ ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 75
  1. นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์จำนวน 177 คน มีผลการ
เรียนเฉลี่ยทุกรายวิชา ในระดับ 3 ขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 72
  1. นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์จำนวน 177  คน มีผลการประเมิน
สมรรถนะสำคัญตามหลักสูตร ร้อยละ 88  ได้ระดับดีขึ้นไป 
  1. นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์จำนวน 177 คน มีผลการ
ประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ร้อยละ 83  ได้ระดับดีขึ้นไป
  1. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับ
มหาวิทยาลัยได้ ร้อยละ 90 ขึ้นไป
  1. นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สามารถส่งผลงานเข้าร่วมการ
แข่งขันทักษะทางวิชาการ ได้รางวัลระดับเหรียญทองร้อยละ 50 ขึ้นไป
เป้าหมายด้านคุณภาพ
      1.  นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์จำนวน 177  คน มีความพึงพอใจต่อระบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของโรงเรียนภูซางวิทยาคมในระดับดีขึ้นไป
      2.  ผู้ที่เกี่ยวข้อง มีความพึงพอใจในระดับดีขึ้นไป

 
ระยะเวลา 9 ต.ค. 2560 - 30 ก.ย. 2561
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนภูซางวิทยาคม
ตัวชี้วัด 1.ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียนห้องเรียนพิเศษฯ จำนวน 177 คน
2.คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนห้องเรียนพิเศษฯ จำนวน 177 คน
3.การสอบเข้าศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
4.ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมของนักเรียนห้องเรียนพิเศษ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สมรรถนะสำคัญตามหลักสูตร และการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ตามเป้าหมายที่กำหนด
  2. นักเรียนห้องเรียนพิเศษระดับชั้น ม.3 และ ม.6 สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับศึกษาได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
  3. นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มีผลงานจากการเข้าร่วมการแข่งขันทักษะทางวิชาการ ได้รางวัลระดับเหรียญทองร้อยละ 50 ขึ้นไป
  4. นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มีความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้สำหรับห้องเรียนพิเศษ ฯ
  5. ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อระบบการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมวางแผนโครงการ
2. เขียนโครงการเสนอขออนุมัติ
3. กำหนดหน้าที่รับผิดชอบ
ขั้นดำเนินการ ดำเนินกิจกรรมตามที่ได้ประชุมวางแผนไว้ อันประกอบด้วย
  1. กิจกรรมเรียนเสริมปรับพื้นฐานนักเรียนชั้น ม.1 และ ม.4
  2. เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างห้องเรียนพิเศษ
  3. ค่ายวิชาการห้องเรียนพิเศษ
  4. ค่ายพัฒนาทักษะเด็กไทย ยุค Thailand 4.0
  5. ค่ายวิทยาศาสตร์นักเรียนชั้น ม.1 และ ม.4  
  6. ค่ายเตรียมความพร้อมมุ่งสู่สถาบันอุดมศึกษานักเรียนชั้น ม.6
  7. สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ
  8. จัดหาสื่อการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
  9. พัฒนาห้องศูนย์วิทยาศาสตร์
  10. พัฒนาระบบสารสนเทศห้องเรียนพิเศษฯ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
   1. ตรวจสอบการดำเนินกิจกรรมตามแผนงานโครงการโดยคณะกรรมการที่รับผิดชอบ และคณะกรรมการ ดำเนินงานห้องเรียนพิเศษฯ
   2. ตรวจสอบจากนักเรียนห้องเรียนพิเศษฯ
   3. นิเทศติดตามจากฝ่ายบริหารงานวิชาการ
ขั้นสรุปและรายงาน สรุปรายงานผลโครงการเพื่อเป็นรายงานนำเสนอฝ่ายบริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องตามลำดับ
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ