Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

พัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากลกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

โรงเรียน : สา สพม.น่าน

ประเภท : โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 15 ก.ย. 2561 โดย : นางนงคราญ  เจริญพงษ์ จำนวนผู้เข้าชม 33 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม พัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากลกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ประเภท โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน


ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา การจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีคุณลักษณะของผู้เรียนตามมาตรฐานสากล  จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทุกด้านจากการลงมือปฏิบัติ ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง ด้วยตนเองและศึกษาแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียน ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย
ดังนั้นจำเป็นต้องมี สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และสารเคมีให้เพียงพอ และหลากหลาย ต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์รอบด้าน ปลูกฝังคุณลักษณะของการเป็นพลโลกเตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้ตามแนวการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ให้สูงขึ้น
วัตถุประสงค์           1. เพื่อให้ผู้เรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีความรู้และทักษะวิทยาศาสตร์สูงขึ้น
          2. เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้เกิดประโยชน์ในการใช้ดำรงชีวิต
          3. เพื่อพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล
เป้าหมาย เชิงปริมาณ
                      นักเรียนโรงเรียนสา จำนวน 1,323 คนมี สื่อ วัสดุ อุปกรณ์และสารเคมี สำหรับใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ และกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ เพิ่มขึ้นและเพียงพอ
เชิงคุณภาพ
       นักเรียนโรงเรียนสา เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีทักษะการบวนการทางวิทยาศาสตร์  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์สูงขึ้นและมีจิตวิทยาศาสตร์
 
ระยะเวลา 1 ต.ค. 2560 - 30 ก.ย. 2561
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนสา จังหวัดน่าน
ตัวชี้วัด
เชิงปริมาณ
1.นักเรียนโรงเรียนสา จำนวน 1,300 คน
2.คณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 13 คน
เชิงคุณภาพ
1.มีวัสดุ อุปกรณ์ สารเตมีและสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพอย่างพอเพียง
2.ครูและบุคลากรและนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์มีความพิงพอใจในการจัดกิจกรรม
3.นักเรียนที่เข้าร่วม.กิจกรรมหลักเพื่อเสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีความพึงพอใจ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ นักเรียนมีทักษะกระบวนการและเจตคติที่ดีทางวิทยาศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์สูงขึ้นและมีจิตวิทยาศาสตร์
 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ 48,576
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ