ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
โรงเรียนในฝัน |
ประเภท |
โรงเรียนในฝัน (Lab School) |
ปีการศึกษา |
2552 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน 2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา 2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย 2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ 2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ 2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้ 3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก 3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน 3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ |
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
- สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการพัฒนาโรงเรียนในระดับอำเภอ ให้เป็นโรงเรียนต้นแบบในฝัน ที่เป็นตัวอย่างการจัดการศึกษาในระดับอำเภอที่มีคุณภาพมาตรฐานเทียบเคียงกับโรงเรียนชั้นนำในระดับจังหวัด ให้เด็กและเยาวชนในชนบทมีโอกาสเข้ารับการศึกษาที่มีคุณภาพ รวมทั้งเป็นต้นแบบในการนำนวัตกรรมทางการศึกษาที่ทันสมัยไปพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพมาตรฐาน ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่22 เมษายน พ.ศ. 2546 ในปี พ.ศ. 2547 ภายใต้ชื่อโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน หรือโครงการโรงเรียนในฝันในปัจจุบันในการดำเนินงานได้กำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาโรงเรียนอย่างรอบด้าน ทั้งระบบโรงเรียน ประกอบด้วย นักเรียน กระบวนการจัดการศึกษาภายในโรงเรียนการเรียนรู้และการพัฒนาการใช้งบประมาณ และภาคีเครือข่าย ซึ่งแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน ใช้หลัก “3 ตัวช่วย 1 ตัวเชื่อม” 3 โดยมีศูนย์ปฏิบัติการ (Resource center) ทีมพี่เลี้ยง (roving team) และภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์ (Partnership) เป็นตัวช่วย และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร (ICT) เป็นตัวเชื่อม และดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันทั้งการพัฒนาโรงเรียนให้สามารถเป็นต้นแบบโรงเรียนในฝันและการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของโรงเรียนที่ได้รับการรับรองเป็นต้นแบบโรงเรียนในฝันแล้ว
ปัจจุบัน มีโรงเรียนทั้งระดับประถมศึกษา ขยายโอกาส และมัธยมศึกษา ที่ได้รับการคัดเลือกจากชุมชนเพื่อเข้าร่วมโครงการ และพัฒนาให้เป็นโรงเรียนต้นแบบในฝัน รวม 3 รุ่นการพัฒนาโรงเรียน รุ่นที่ 1 ระหว่างปีพ.ศ. 2547 –2549 ภายใต้ชื่อโครงการ “ หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน จำนวน 921 โรงเรียน รุ่นที่ 2 ปีพ.ศ. 2550 ภายใต้ชื่อ“โรงเรียนดีใกล้บ้าน จำนวน 865 โรงเรียน และ รุ่นที่ 3 ในปี 2553 ภายใต้ชื่อ โรงเรียนดีระดับอำเภอ จำนวน 840 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 2,626 โรงเรียน โดยได้รับการยกระดับเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล จำนวน 259 โรงเรียน คงเหลือโรงเรียนในโครงการ จำนวน 2,366 โรงผลการพัฒนาอยู่ในระดับที่น่าพอใจแต่อย่างไรก็ตามโรงเรียนในฝัน มีความเข้มแข็งและมีความโดดเด่นเฉพาะด้านแตกต่างกัน มีโรงเรียนเพียงบางส่วนที่โดดเด่นในการพัฒนาทั้งระบบโรงเรียน
- โรงเรียนในฝัน คือ โรงเรียนที่มุ่งจัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้มาตรฐานทางการศึกษาของชาติ และสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น เป็นที่ยอมรับของนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับชุมชนและสังคม มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์และมีความเชี่ยวชาญเป็นโรงเรียนต้นแบบในด้านการพัฒนาให้กับโรงเรียนอื่นได้ โดยการใช้การบริหารจัดการแนวใหม่ที่มุ่งพัฒนาโรงเรียนในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านวิชาการ กระบวนการเรียนรู้ สภาพแวดล้อมของโรงเรียน และการนำเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ และการบริหารจัดการ โดยมุ่งหวังให้เด็กไทยเป็นคนดี มีคุณภาพ และมีอนาคตที่สดใส สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน นับเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลในการพัฒนาเยาวชนซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญของชาติให้มีคุณภาพ
ในการดำเนินงานโครงการ กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดกลยุทธ์หลักให้โรงเรียนใช้ดำเนินการ 5 กลยุทธ์ (ศูนย์บริหารโครงการ หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน LSP 0019, 2548)
กลยุทธ์ที่ 1 สร้างพลังขับเคลื่อนให้โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการที่ดี คล่องตัว มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้นักเรียนพัฒนาศักยภาพมีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของสังคม
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการ ให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ ความสามารถ คุณลักษณะ
กลยุทธ์ที่ 3 สร้างเสริมศักยภาพบุคลากรทุกระดับให้เป็นมืออาชีพ มีทักษะในการปฏิบัติงาน สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
กลยุทธ์ที่4 เพิ่มสมรรถนะของโรงเรียนในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ และบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุด
กลยุทธ์ที่ 5 ระดมสรรพกำลังสร้างภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์ที่เข้มแข็ง อันเกิดจากพลังการมีส่วนร่วมของชุมชน องค์กร ประชาสังคมในรูปแบบของผู้อุปถัมภ์และผู้ร่วมคิดร่วมปฏิบัติ ร่วมพัฒนา
|
วัตถุประสงค์ |
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ โครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน ได้กำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ 11 ข้อ ได้แก่
ด้านนักเรียน
1) เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คิดวิเคราะห์
2) มีทักษะการดำรงชีวิต มั่นใจตนเอง
3) มีความเป็นไทย
ด้านกระบวนการจัดการศึกษา
4) โรงเรียนธรรมภิบาล
5) สร้างโอกาสและดูแลช่วยเหลือนักเรียน
6) บูรณาการกระบวนการเรียนรู้
7) พัฒนาระบบประกันคุณภาพ
ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา ครูมีความเป็นมืออาชีพ
9) E-School ด้านงบประมาณและทรัพยากร
10) มีระบบภาคีเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญและผู้อุปถัมภ์
11) เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ใช้ทรัพยากรได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่า
และยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2560 ได้แก่
-
- หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้
- การผลิตและพัฒนาครู
- การทดสอบการประเมินการประกันคุณภาพและการพัฒนามาตรฐานการศึกษา
- ผลิต พัฒนากำลังคนและงานวิจัย ที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาประเทศ
- ICT เพื่อการศึกษา
- การบริหารจัดการ
ในวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์แต่ละข้อได้กำหนดตัวชี้วัด หรือผลที่คาดหวังไว้เป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน LSP 0020, 2548)
- ดังนั้นเพื่อให้มีการพัฒนาที่ต่อเนื่องและยั่งยืน สามารถพัฒนาต่อยอดสู่มาตรฐานสากล และมุ่งเน้นการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน การเตรียมสู่มาตรฐานสากลการพัฒนาโรงเรียนตัวอย่าง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับโรงเรียนอื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสมาชิกอาเซียน การพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ การนำเสนอผลงาน/นวัตกรรม การนิเทศติดตามและการเผยแพร่ผลงานโดยมีศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนโรงเรียนในฝัน คณะนิเทศเขตตรวจราชการ (Roving Teams) และศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นกลไกในการขับเคลื่อนและร่วมรับผิดชอบ
สำหรับปีงบประมาณ 2560 โครงการโรงเรียนในฝัน ได้กำหนดกิจกรรมที่ 1 การพัฒนาศักยภาพโรงเรียนในฝันสู่มาตรฐานสากล มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาคุณภาพผู้เรียน คุณภาพวิชาการ และยกระดับคุณภาพโรงเรียนในฝันและเขตพื้นที่การศึกษา กิจกรรมหลักที่ดำเนินการดังนี้
๑. การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนในฝันสู่มาตรฐานสากลอย่างยั่งยืน ประกอบด้วยการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องการพัฒนาสื่อ การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนในฝันให้คงสภาพและยั่งยืน การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหารคุณภาพระดับเขตพื้นที่/โรงเรียนการนิเทศติดตามการดำเนินงานและการประเมินโครงการ
๒. การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน คุณภาพวิชาการและผลงานของโรงเรียนในฝัน ประกอบด้วยการประชุมสัมมนาและการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนโรงเรียนในฝันการสัมมนาวิชาการและเสนอผลงาน (Lab School Symposium ๒๐๑7) การประกวดเผยแพร่นวัตกรรม องค์ความรู้ระดับประเทศ และได้จัดสรรงบประมาณให้ สพท.และโรงเรียนในฝัน สำหรับการพัฒนายกระดับคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาความยั่งยืนของโรงเรียนและกำหนดกิจกรรมการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการโรงเรียนในฝันในระดับประเทศ
วัตถุประสงค์ทั่วไป
- เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงาน และความเข้มแข็งให้กับโรงเรียนในฝันทั้งด้านการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
- เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพโรงเรียนในฝันให้มีมาตรฐานสูงขึ้น
วัตถุประสงค์เฉพาะ (ปีงบประมาณ พ.ศ.2560)
- เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ การบริหารจัดการและการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนของโรงเรียนในฝันและคณะนิเทศผู้ดูแลโรงเรียนในฝันระดับเขตตรวจราชการ
- เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ในการจัดการเรียนรู้
- เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนในฝันให้เกิดความยั่งยืนโดยการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา
- เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับโรงเรียนในฝัน เพื่อการยกระดับคุณภาพสู่มาตรฐานสากล
|
เป้าหมาย |
ครู นักเรียน โรงเรียน |
ระยะเวลา |
1 เม.ย. 2561 - 31 มี.ค. 2562 |
สถานที่ดำเนินการ |
|
ตัวชี้วัด |
ตัวชี้วัด (ปีงบประมาณ 2559 - 2562)
- ร้อยละของโรงเรียนในฝันได้รับพัฒนาคุณภาพวิชาการและผลงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- ร้อยละของการยกระดับวิชาการของโรงเรียนในฝัน
- ผู้บริหารโรงเรียนในฝัน มีความรู้ความสามารถในการบริหารวิชาการในระดับดีขึ้นไป
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
ตัวชี้วัด (ปีงบประมาณ 2559 - 2562)
- ร้อยละของโรงเรียนในฝันได้รับพัฒนาคุณภาพวิชาการและผลงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- ร้อยละของการยกระดับวิชาการของโรงเรียนในฝัน
- ผู้บริหารโรงเรียนในฝัน มีความรู้ความสามารถในการบริหารวิชาการในระดับดีขึ้นไป
|
สรุปคะแนนประเมิน |
0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
|
ขั้นดำเนินการ |
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
|
งบประมาณ |
|
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|