Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

ส่งเสริมศักยภาพทางด้านนาฏศิลป์

โรงเรียน : หาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา สพม.สงขลา สตูล

ประเภท : โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)

ผลการประเมิน : 4

เผยแพร่เมื่อ : 20 ก.ย. 2561 โดย :   จำนวนผู้เข้าชม 182 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม ส่งเสริมศักยภาพทางด้านนาฏศิลป์
ประเภท โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
     2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา การเสริมสร้างคุณภาพทางการศึกษาให้กับผู้เรียนต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครู และนักเรียน ต้องมุ่งมั่น จริงจัง และต่อเนื่อง จึงจะส่งผลให้เกิดการทำงานร่วมกันในลักษณะกัลยาณมิตรอย่างยั่งยืนซึ่งตามในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.2540  และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.๒๕๔๒  หลายมาตราระบุว่า  การจัดการศึกษายึดหลักการมีส่วนร่วมของบุคคล  ครอบครัว  ชุมชน  องค์กรเอกชน  องค์กรวิชาชีพ  สถาบันศาสนา  สถานประกอบการ  และสถาบันสังคมอื่น  นอกเหนือจากรัฐ  เอกชน  และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  มีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เพื่อพัฒนาความเป็นไทย  ความเป็นพลเมืองดีของชาติ  การดำรงชีวิต  และการประกอบอาชีพ  ตลอดจนการศึกษาต่อ  ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  คุณลักษณะอันพึงประสงค์  เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว  ชุมชน  สังคม  และประเทศชาติ  การส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน  การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน  เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและภารกิจของโรงเรียน  โดยการส่งเสริมความสามารถพิเศษทางด้านนาฏศิลป์ไทยของนักเรียนให้มีความเป็นเลิศ  พัฒนาไปสู่สากลและเพื่อเป็นการรองรับการเข้าร่วมแข่งขันทักษะทางวิชาการงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 68 ประจำปี 2561
วัตถุประสงค์           1 เพื่อต้องการให้นักเรียนเข้าร่วมแข่งขันทักษะทางวิชาการ  งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ ๖๘ประจำปี ๒๕๖๑
          2 เพื่อส่งเสริมความสามารถพิเศษของนักเรียนให้มีความเป็นเลิศ  พัฒนาไปสู่สากล
          3 เพื่อต้องการให้นักเรียนปลูกจิตสำนึกในการรับผิดชอบหน้าที่ของตนเอง

 
เป้าหมาย เป้าหมายเชิงปริมาณ
          นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทยและนาฏศิลป์ไทย  ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา  จำนวน  40  คน


เป้าหมายเชิงคุณภาพ
1  นักเรียนมีศักยภาพด้านความสามารถพิเศษของตนเองดีขึ้นสามารถเข้าร่วมแข่งขันทักษะทางวิชาการ  งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 68 ประจำปี 2561 ได้
2 นักเรียนรู้จักการพัฒนาตนเอง
3  นักเรียนสร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียนและมีระบำสร้างสรรค์ชุดใหม่ที่เป็นของโรงเรียน

 
ระยะเวลา 16 ก.ย. 2561 - 16 ก.ย. 2561
สถานที่ดำเนินการ ห้องเรียนนาฏศิลป์ไทย 1102 อาคารศูนย์ศิลป์ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา
ตัวชี้วัด กลยุทธ์ที่ 1  ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรและมาตรฐานการศึกษาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล  อีกทั้งเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงเต็มศักยภาพ
                   เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์ข้อที่ 1.2  พัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้  มีคุณภาพ  คุณสมบัติตามพระราชบัญญัติ  การศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  2542
                             ตัวชี้วัดที่ 2  ผู้เรียนได้รับการพัฒนาความสามารถพิเศษตามศักยภาพเป็นพลโลก
                             ตัวชี้วัดที่ 4  ผู้เรียนร้อยละ 90  นำความรู้และเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน  และนำเสนอผลงานได้อย่างสร้างสรรค์
                             ตัวชี้วัดที่ 5  ผู้เรียนร้อยละ 90  มีสุขภาพกาย  สุขภาพจิตที่ดี  ปรับตัวและใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
                   เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์ข้อที่ 1.3  ผู้เรียนเป็นคนดี  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่ดีงามร่วมสืบสานวัฒนธรรมไทยและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                             ตัวชี้วัดที่ 1  ร้อยละ 90  ของผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีจิตสำนึกในความเป็นไทยและศักยภาพความเป็นพลโลก
                             ตัวชี้วัดที่ 2  ร้อยละ 90  ของผู้เรียนที่ได้รับการพัฒนา  คุณธรรม  จริยธรรม  และจิตสาธารณะ
                             ตัวชี้วัดที่ 3  ร้อยละ 95  ของผู้เรียนที่ได้รับการพัฒนาให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์  ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม  รู้เท่าทัน  และพร้อมเชิญปัญหาจากภัยธรรมชาติ
                             ตัวชี้วัดที่ 4  ร้อยละ 95  ของผู้เรียนมีความสำนึกในความเป็นชาติไทยและวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
                             ตัวชี้วัดที่ 5  ร้อยละ 90  ของผู้เรียนที่มีคุณลักษณะ  อันพึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                   เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์ข้อที่ 1.4  พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
                             ตัวชี้วัดที่ 1  โรงเรียนมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
          กลยุทธ์ที่ 2  พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้  ความสามารถ  ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล
                   เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์ข้อที่ 2.1  ครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถผลิตสื่อและใช้สื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  และบริหารจัดการเชิงระบบได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล
                             ตัวชี้วัดที่ 2  ครูผลิตสื่อ  และสามารถใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี  ในการจัดการเรียนรู้และบริหารจัดการเรียนรู้เชิงระบบอย่างมีประสิทธิภาพ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1 นักเรียนได้ศึกษาศิลปะการแสดงละคร – โขน จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ
2 สถานศึกษาเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย  และมีสื่อประกอบการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างหลากหลายและทันสมัย
3  มีสื่อประกอบการเรียนการสอนวิชานาฏศิลป์มากยิ่งขึ้น  และนักเรียนสามารถประดิษฐ์สื่อ อุปกรณ์ประกอบการแสดงนาฏศิลป์ได้
4 นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติทางด้านนาฏศิลป์ที่ดีขึ้น

 
สรุปคะแนนประเมิน 4
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ 1.ประชุมวางแผนโครงการ
2.เขียนโครงการเสนอขออนุมัติ
3.กำหนดหน้าที่รับผิดชอบ
ขั้นดำเนินการ กิจกรรมที่ 1  กิจกรรมพัฒนาสื่อการเรียนการสอนทางด้านนาฏศิลป์
1.ประชุมวางแผนการทำงาน
2.ดำเนินการตามแผนการทำงานที่วางไว้
3.สรุปผลการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 2  กิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางด้านนาฏศิลป์
1.ประชุมวางแผนการทำงาน
2.ดำเนินการตามแผนการทำงานที่วางไว้
3.สรุปผลการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 3  กิจกรรมค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการทางด้านนาฏศิลป์
1.ประชุมวางแผนการทำงาน
2.ดำเนินการตามแผนการทำงานที่วางไว้
3.สรุปผลการดำเนินงาน
ขั้นตรวจสอบประเมินผล 1.ตรวจสอบการดำเนินงาน
2.ตรสจเช็ควัสดุ-อุปกรณ์
3.ทำแบบสอบถามความพึงพอใจ
4.สรุปผลงานการแสดงและการแข่งขันนาฏศิลป์ไทยของนักเรียน
5.สรุปรายงานผลประจำปีงบประมาณ
ขั้นสรุปและรายงาน 1.นำผลการประเมินมาสรุปและหาข้อบกพร่อง
2.นำผลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขในการทำโครงการครั้งต่อไป
3.ดำเนินการตามแผนใหม่อย่างต่อเนื่อง
งบประมาณ งบประมาณที่ได้รับ  50,000 บาท
งบประมาณที่ใช้จริง  48,420 บาท  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
กิจกรรม งบประมาณ รวม ผู้รับผิดชอบ
ค่า
ตอบแทน
ค่า
ใช้สอย
ค่าวัสดุ ค่าครุภัณฑ์
1.กิจกรรมพัฒนาสื่อการเรียนการสอนทางด้านนาฏศิลป์ - - - 19,100 19,100 น.ส.สุพรรษา หนูเมือง
นายครรชิต บุญไกร
2.กิจกรรมทัศนศึกษา
แหล่งเรียนรู้ทางด้านนาฏศิลป์
- 9,820 1,000 - 10,820
3.กิจกรรมค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการทางด้านนาฏศิลป์ - 18,500 - - 18,500
รวม - 28,320 1,000 19,100 48,420  
การบรรลุตัวชี้วัด กิจกรรมที่ 1  กิจกรรมพัฒนาสื่อการเรียนการสอนนาฏศิลป์
นักเรียนรู้จักการประดิษฐ์เครื่องแต่งกายและออกแบบลสร้างสรรค์การแต่งกาย  จัดทำอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน  มีสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายและทันสมัยมากยิ่งขึ้น จึงทำให้นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดสู่ผู้อื่นได้
กิจกรรมที่ 2  กิจกรรมทัศนศึกษาการเรียนการสอนวิชานาฏศิลป์ไทย
นักเรียนได้เรียนรู้โลกกว้าง  ศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียน  นักเรียนได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ สนุก และมีความสุขกับการได้ศึกษาแหล่งเรียนรู้
กิจกรรมที่ 3  กิจกรรมค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการทางด้านนาฏศิลป์
นักเรียนมีการพัฒนาทักษะทางด้านการแสดงนาฏศิลป์ไทยที่ดีขึ้น  สามารถนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดสู่ผู้อื่น  เช่นระบบพี่สอนน้อง  โดยให้นักเรียนได้ปึกปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตนเอง  โดยมีรุ่นพี่คอยดูแลให้คำแนะนะแก่รุ่นน้อง  และนักเรียนสามารถแสดงในงานต่าง ๆ ของทางโรงเรียนและชุมชน  ร่วมไปถึงการเข้าร่วมแข่งขันทักษะทางวิชาการ
ความพึงพอใจ นักเข้าร่วมแข่งขันทักษะทางวิชาการ  เนื่องในงานศิลปะหัตถกรรมนักเรียนภาคใต้  ครั้งที่ 68  ระดับเขตพื้นที่การศึกษา  ระหว่างวันที่ 5 - 7 กันยายน พ.ศ.2561  ณ  โรงเรียนมหาวชิราวุธ  อำเภอเมือง  จังหวัดสงขลา  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ลำดับที่ รายการแข่งขัน/กิจกรรม คะแนนที่ได้ ผลการแข่งขัน
1 นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์  ม.1 - ม.3 91.70 เหรียญทอง  ชนะเลิศ
2 นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์  ม.14 - ม.6 94.60 เหรียญทอง  ชนะเลิศ
3 ระบำมาตรฐาน  ม.4 - ม.6 87.70 เหรียญทอง  รองชนะเลิศอันดับที่ 1
4 รำวงมาตรฐาน  ม.1 - ม.3 84.30 เหรียญทอง  รองชนะเลิศอันดับที่ 2
5 รำวงมาตรฐาน  ม.4 - ม.6 82.10 เหรียญทอง  อันดับที่ 4
6 นาฏศิลป์ไทยอนุรักษ์  ม.1 - ม.3 82.5 เหรียญทอง  อันดับที่ 4
7 นาฏศิลป์ไทยอนุรักษ์  ม.4 - ม.6 85.6 เหรียญทอง  รองชนะเลิศอันดับที่ 1
ปัญหาและอุปสรรค ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ มีความกระชั้นชิดมากเกินไป  จึงทำให้การดำเนินกิจกรรมไม่ครบตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
ข้อเสนอแนะ ต้องจัดทำโครงการนี้อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกๆปี เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ พัฒนาทักษะทางด้านนาฏศิลป์ และสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียนให้ดียิ่งขึ้นไป  และเพื่อก้าวไปสู่การแข่งขันทักษะวิชาการต่อไป
รูปภาพประกอบ