ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
นาฏศิลป์สร้างสรรค์สู่ประตูอาเซียน |
ประเภท |
โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School) |
ปีการศึกษา |
2561 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
|
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
นาฏศิลป์ไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน แสดงถึงความมีอารยะธรรมอันสูงส่งของไทยไม่แพ้ชาติอื่นใดในโลก ในปัจจุบันวัฒนธรรมชาติตะวันตกมีอิทธิพลต่อเยาวชนไทยและวัฒนธรรมของประเทศ ทำให้เกิดผลกระทบต่อประเพณีอันดีงามเป็นอย่างมาก
เพื่อเป็นการสืบทอดเจตนารมณ์ของปรมาจารย์ทางด้านนาฏศิลป์ ให้เป็นจริงสมดังความมุ่งหมายให้เป็นการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมทางนาฏศิลป์ของไทย ข้าพเจ้าจึงจัดตั้งนาฏศิลป์สร้างสรรค์สู่ประตูอาเซียนเพื่อให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ นำชื่อเสียงมาสู่สถานศึกษา ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ พัฒนาสื่อการเรียนการสอนทางด้านนาฏศิลป์ให้มีความหลายหลายและทันสมัย ทั้งยังสร้างความตระหนักให้นักเรียนเห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ไทยและช่วยกันอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมทางนาฏศิลป์อันสูงส่งของชาติสืบไป
|
วัตถุประสงค์ |
1 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และความสามารถของนักเรียนทางด้านนาฏศิลป์
2 เพื่อร่วมสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานอื่น ๆ
3 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนทางด้านนาฏศิลป์
|
เป้าหมาย |
เป้าหมายเชิงปริมาณ
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย
กิจกรรมที่ 3 กิจกรมพัฒนาศักยภาพทางด้านนาฏศิลป์
กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการทางด้านนาฏศิลป์
กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมซ่อมแซมปรับปรุงพัฒนาห้อง ( 1101 )
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
นักเรียนมีการพัฒนาทักษะการปฏิบัติทางด้านการแสดงนาฏศิลป์การประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์ประกอบการแสดง มีสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายและทันสมัย เหมาะแก่การเป็นแหล่งเรียนรู้ นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้การแสดงนาฏศิลป์ ละคร-โขน จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อเป็นการเป็นโลกการเรียนรู้ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
|
ระยะเวลา |
16 ก.ย. 2561 - 16 ก.ย. 2561 |
สถานที่ดำเนินการ |
ห้องเรียนนาฏศิลป์ไทย (๑๑๐๑) อาคารศูนย์ศิลป์ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา |
ตัวชี้วัด |
... |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
1 นักเรียนได้ศึกษาศิลปะการแสดงละคร – โขน จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ
2 สถานศึกษาเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย และมีสื่อประกอบการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างหลากหลายและทันสมัย
3 มีสื่อประกอบการเรียนการสอนวิชานาฏศิลป์มากยิ่งขึ้น และนักเรียนสามารถประดิษฐ์สื่อ อุปกรณ์ประกอบการแสดงนาฏศิลป์ได้
4 นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติทางด้านนาฏศิลป์ที่ดีขึ้น
|
สรุปคะแนนประเมิน |
0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
|
ขั้นดำเนินการ |
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
|
งบประมาณ |
|
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|