Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

โครงการขับเคลื่อนการดำเนินงานศาสตร์พระราชาในสถานศึกษา

โรงเรียน : ดอยสะเก็ดวิทยาคม สพม.เชียงใหม่

ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการประเมิน : 0

เผยแพร่เมื่อ : 25 ก.ย. 2561 โดย :   จำนวนผู้เข้าชม 54 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการขับเคลื่อนการดำเนินงานศาสตร์พระราชาในสถานศึกษา
ประเภท โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีการศึกษา 2561
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานข้อที่1และ3 มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถในการวิเคราะห์และคิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหา มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนดโดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย มีการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมและยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น นักเรียนมีวินัยในตนเอง ซื่อสัตย์ ประหยัด อดออม และรับผิดชอบในหน้าที่ สามารถนำภูมิปัญญาไทยและน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม                                                                   
วัตถุประสงค์  1.  เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และส่งเสริมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
 2.  เพื่อเผยแพร่โครงการพระราชดำริและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9รัชกาลที่10 และพระบรวงศ์                                                                                                                  3เพื่อส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
 4. เพื่อส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม


 
เป้าหมาย เป้าหมาย
              1 . เชิงปริมาณ
                  1.  นักเรียนร้อยละ60 เข้าใช้แหล่งเรียนรู้ศูนย์เฉลิมพระเกียรติฯ
                  2.  นักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนร้อยละ60เข้าร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติและกิจกรรมด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นที่จัดตามโอกาส
                3.  มีการจัดกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานและบุคลากรภายนอกประมาณ 1-2 ครั้งต่อปี
                4. นักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนร้อยละ100 เข้าร่วมกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
                  5. นักเรียนร้อยละ 70 ได้เรียนแบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV)
               2. เชิงคุณภาพ
                1.  นักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจและซาบซึ้งในพระราชกรณียกิจและพระราชอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 รัชกาลที่ 10 และพระบรมวงศ์                                                                                                                                            
              2. นักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ในการศึกษาต่อ การหารายได้ระหว่างเรียน และการประกอบอาชีพได้
              3. โรงเรียนมีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและบุคลากรภายนอกในการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและกิจกรรมการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

 
ระยะเวลา 1 เม.ย. 2561 - 31 มี.ค. 2562
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคม
ตัวชี้วัด สนองกลยุทธ์ของโรงเรียน กลยุทธ์ที่  1 พัฒนานักเรียนให้มีความรู้ตามศักยภาพและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบนพื้นฐานความเป็นไทย   กลยุทธ์ที่  3 พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับศักยภาพผู้เรียนสอดคล้องกับแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และท้องถิ่น
จุดเน้น ข้อที่ 2 นักเรียนมีสมรรถนะ มีความสามารถและมีทักษะอย่างหลากหลาย
จุดเน้น ข้อที่ 9 ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาที่ยั่งยืน
จุดเน้น ข้อที่ 13 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือการจัดการศึกษา
สนองมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน
  มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนแป็นสำคัญ
ประเด็นพิจารณา  1.2.2 ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย  1.2.3 การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนมีระบบการจัดทำที่ชัดเจน
2. มีพันธุกรรมพืชหายาก พันธุกรรมพืชท้องถิ่น
3. มีการจัดทำทะเบียนพรรณพืชในโรงเรียน
4. มีการเก็บตัวอย่างพืช
5. มีการทำป้ายทะเบียนพืชในโรงเรียน
6. เป็นแหล่งความรู้ให้หมวดวิชาต่างๆ บูรณาการในการเรียนการสอนและให้นักเรียนได้มาศึกษา
7. มีการจัดการเรียนการสอนบูรณาการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
 
สรุปคะแนนประเมิน 0
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ กิจกรรมที่  1  กิจกรรมพัฒนาห้องศูนย์เฉลิมพระเกียรติฯ
1.1 ประชุมวางแผน วิเคราะห์ปัญหา สังเคราะห์แนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหา
1.2 มอบหมายภาระงาน ประชุมกำหนดปฏิทินปฏิบัติงาน 
1.3 เสนอเพื่ออนุมัติ 
กิจกรรมที่  2  กิจกรรมส่งเสริมความรู้ภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
1.1 ประชุมวางแผนการดำเนินงาน
1.2 มอบหมายภาระงาน
1.3 เสนอเพื่ออนุมัติ
กิจกรรมที่  3 กิจกรรมส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ด้านโครงการพระราชดำริและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ
1.1 ประชุมวางแผนการดำเนินงาน
1.2 มอบหมายภาระงาน
1.3 เสนอเพื่ออนุมัติ
ขั้นดำเนินการ กิจกรรมที่  1  กิจกรรมพัฒนาห้องศูนย์เฉลิมพระเกียรติฯขั้นดำเนินการ
2.1 ทำความสะอาด จัดระบบการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นและปรับภูมิทัศน์ (5ส.)
2.2 พัฒนาอาคาร ซ่อมแซมปรับปรุง จัดการระบบเอกสารและสารสนเทศ
2.3 จัดแสดงผลงานในรูปนิทรรศการผลิตภัณฑ์
2.4 ปรับปรุงส่วนจัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ
2.5 ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในอาคารให้เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมากขึ้น
กิจกรรมที่  2  กิจกรรมส่งเสริมความรู้ภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
2.1  กิจกรรมเพลงพื้นบ้านและการแสดงพื้นเมือง
2. 2 กิจกรรมนวดแผนไทย
2.3  กิจกรรมสาธิตและเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม
2.4  กิจกรรมบรรยาย เสวนา สัมมนา ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
กิจกรรมที่  3 กิจกรรมส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ด้านโครงการพระราชดำริและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ
2.1 กิจกรรมนิทรรศการเผยแพร่โครงการพระราชดำริ
2.2 กิจกรรมตามรอยเท้าพ่อ
2.3 กิจกรรมสัปดาห์เฉลิมพระเกียรติวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม
2.4 กิจกรรมเนื่องในวันสำคัญต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตรวจสอบประเมินผล กิจกรรมที่  1  กิจกรรมพัฒนาห้องศูนย์เฉลิมพระเกียรติฯขั้นติดตามประเมินผล
3.1 นิเทศติดตาม
3.2 สรุป ประเมินผล
3.3 รายงานผลการดำเนินงาน
กิจกรรมที่  2  กิจกรรมส่งเสริมความรู้ภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
3.1 มีการนิเทศติดตามเป็นระยะ
3.2 สรุปรายงานการดำเนินงาน
กิจกรรมที่  3 กิจกรรมส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ด้านโครงการพระราชดำริและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ
3.1 มีการนิเทศติดตามเป็นระยะ
3.2 สรุปรายงานการดำเนินงาน
ขั้นสรุปและรายงาน กิจกรรมที่  1  กิจกรรมพัฒนาห้องศูนย์เฉลิมพระเกียรติฯขั้นแก้ไขปรับปรุง/พัฒนา
4.1 ประชุมสรุปงานและหาแนวทางแก้ไข
4.2 จัดเตรียมกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาและเขียนแผนตามโครงการ
กิจกรรมที่  2  กิจกรรมส่งเสริมความรู้ภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
4.1 ประชุมสรุปงานและหาแนวทางแก้ไข
4.2 จัดเตรียมกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาและเขียนแผนตามโครงการ
กิจกรรมที่  3 กิจกรรมส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ด้านโครงการพระราชดำริและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ
4.1 ประชุมสรุปงานและหาแนวทางแก้ไข
4.2 จัดเตรียมกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาและเขียนแผนตามโครงการ
งบประมาณ 45,980
การบรรลุตัวชี้วัด 1.  นักเรียนร้อยละ60 ใช้แหล่งเรียนรู้ศูนย์เฉลิมพระเกียรติฯ
2.  นักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนร้อยละ70เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดตามโอกาส
3.  นักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจและซาบซึ้งในพระราชกรณียกิจ
4. นักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้เพื่อทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
5. นักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนได้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนา ลงมือปฏิบัติจริง ได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้สิ่งที่ตนเองสนใจ
6. โรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคมมีแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียนและบุคลากรเพิ่มขึ้น
7. นักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนร้อยละ70ได้รับความรู้และเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

 
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ