ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
โครงการ เศรษฐกิจพอเพียง |
ประเภท |
โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
ปีการศึกษา |
2561 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้ 3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน 3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ |
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ มุ่งให้ผู้เรียนได้
พัฒนาตนเองตามศักยภาพ พัฒนาอย่างรอบด้านเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม เสริมสร้างให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัยปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์ เพื่อสังคม สามารถจัดการตนเองได้ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ใช้องค์ความรู้ ทักษะและเจตคติจากการเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียนมาปฏิบัติกิจกรรมเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ ได้แก่ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ซึ่งจะส่งผลในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ได้แก่ รักชาติ ศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักเป็นความไทยและมีจิตสาธารณะ เกิดทักษะการทำงาน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก
กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายมุ่งพัฒนาสถานศึกษาทุกแห่ง ให้สามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่างมีคุณภาพด้วยความยั่งยืน จึงต้องมีการพัฒนาโรงเรียนต่างๆให้เป็นสถานศึกษาพอเพียง
การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สร้างความตระหนักให้นักเรียนเกิดความความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง รักษ์ถิ่นบ้านเกิด และหวงแหนช่วยกันดูแลปกป้องมรดกโบราณของตนเอง มีระเบียบวินัย นำความรู้ทักษะมาปรับพัฒนาตนเองสู่จุดประสงค์ของการจัดการศึกษาแก่ผู้เรียนได้อย่างแท้จริง การนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
พัฒนานักเรียนให้มีความรู้ตามศักยภาพ และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บนพื้นฐานความเป็นไทยเพื่อให้
เกิดแหล่งเรียนรู้ คุณลักษณะการบริหาร การจัดกระบวนการเรียนการสอน และผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจนนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุล และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อไป
|
วัตถุประสงค์ |
1. เพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจ
2. เพื่อให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมผ่านประสบการณ์ที่หลากหลาย ฝึกการทำงาน ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง ตลอดสะท้อนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ของผู้เรียน
3. เพื่อจัดกิจกรรมอย่างสมดุลทั้ง 3 ลักษณะ คือ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมเพื่อสังคม
และสาธารณประโยชน์ โดยจัดกิจกรรมรายบุคคล กิจกรรมกลุ่ม ทั้งในและนอกสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
4. เพื่อจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเป็นผู้ดำเนินการ โดยการศึกษาและใช้ข้อมูลประกอบการวางแผนอย่างเป็นระบบ เน้นการคิดวิเคราะห์และใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการดำเนินกิจกรรม
5. เพื่อใช้กระบวนการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้แบบร่วมมือมากกว่าเน้นการแข่งขันบนพื้นฐาน การปฏิบัติตามวิถีประชาธิปไตย
6. เพื่อจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่กิจกรรม
7. เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
8. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
|
เป้าหมาย |
เชิงปริมาณ นักเรียนโรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคม จำนวน 645 คน
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคม จำนวน 80 คน
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคม จำนวน 65 คน
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคม จำนวน 96 คน
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคม จำนวน 140 คน
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคม จำนวน 131 คน
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคม จำนวน 133 คน
เชิงคุณภาพ
1. เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ให้กว้างขวางลึกซึ้งยิ่งขึ้น ในลักษณะเป็นกระบวนการเชิงบูรณาการโดยยึดหลักคุณธรรมจริยธรรม ตลอดจนสามารถ บูรณาการระหว่างกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
2. เป็นกิจกรรมที่ตอบสนองความสนใจ ความถนัด และความต้องการของผู้เรียนตาม ความแตกต่างระหว่างบุคคล เน้นการให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของวิชาความรู้ อาชีพ และการดำเนินชีวิตที่ดีงาม ตลอดจนเห็นแนวทางในการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ
3. เป็นกิจกรรมที่ปลูกฝังและส่งเสริมจิตสำนึกการทำประโยชน์ต่อสังคมในลักษณะต่าง ๆ สนับสนุนค่านิยมที่ดีงามและเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
4. เป็นกิจกรรมที่ฝึกการทำงานและการให้บริการด้านต่าง ๆ ทั้งที่เป็นประโยชน์ ต่อตนเองและต่อส่วนรวม เพื่อเสริมสร้างความมีน้ำใจ ความเอื้ออาทร ความเป็นพลเมืองดี และ ความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม
5. ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคม จัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในลักษณะบูรณาการ
6. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจนสามารถนำไปปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันตามวิถีชีวิตได้อย่างพึงพอใจแลมีความสุข
|
ระยะเวลา |
1 เม.ย. 2561 - 30 มี.ค. 2562 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคม |
ตัวชี้วัด |
สนองกลยุทธ์ของโรงเรียน กลยุทธ์ที่ 1. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาตามหลักสูตร และส่งเสริมทักษะในการสื่อสาร ทักษะการคิด ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะชีวิต และทักษะการใช้เทคโนโลยี
2. ปลูกฝังผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม ตามค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ รวมทั้งมีจิตสานึกในการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และห่างไกลยาเสพติด
จุดเน้น สพฐ ข้อ 4. นักเรียนมีทักษะในการสื่อสาร ทักษะการคิด ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะชีวิต และ
ทักษะการใช้เทคโนโลยี ที่เหมาะสมตามช่วงวัย
ข้อ 5. นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ตามค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ รวมทั้งมีจิตสานึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และห่างไกลยาเสพติด
สนองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
ประเด็นพิจารณา ข้อ1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
ข้อ1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
1. นักเรียนมีความรู้ มีคุณภาพตามมาตรฐานคุณภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถแข่งขันในระดับสากล จากประสบการณ์ตรง
2. นักเรียนจบหลักสูตรการศึกษาของโรงเรียนอย่างมีคุณภาพ ตามศักยภาพ และสมรรถนะ ในศตวรรษ
ที่ 21 มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
|
สรุปคะแนนประเมิน |
0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
1. กิจกรรมห้าห้องชีวิต พิชิตความยากจน
1.1 ประชุมวางแผน และเตรียมความพร้อม คณะกรรมการเศรษฐกิจพอเพียง
1.2 จัดเตรียมกิจกรรมประชาสัมพันธ์
1.3 จัดเตรียมกิจกรรม วางแผนการจัดกิจกรรม
1.4 จัดเตรียมคู่มือ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือวัด ประเมินผลกิจกรรม
2. กิจกรรมแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
1.1 ประชุมวางแผน และเตรียมความพร้อม คณะกรรมการเศรษฐกิจพอเพียง
1.2 จัดเตรียมกิจกรรมประชาสัมพันธ์
1.3 จัดเตรียมกิจกรรม วางแผนการจัดกิจกรรม
1.4 จัดเตรียมคู่มือ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือวัด ประเมินผลกิจกรรม
3. กิจกรรม การสร้างสรรค์ภาพทิวทัศน์ด้วยฟางข้าว
1. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน
1.2 กำหนดกิจกรรมภาระงาน
1. การสร้างสรรค์ภาพทิวทัศน์ด้วยฟางข้าว
(ความรู้พื้นฐานวัสดุ อุปกรณ์,การใช้
และเก็บบำรุงรักษาเครื่องมือวัสดุ อุปกรณ์ )
2. การสร้างสรรค์ภาพทิวทัศน์ด้วยฟางข้าว
( การเลือกฟางข้าว ในการทำงาน )
3. วิธีการ ขั้นตอน และปฏิบัติงาน
4. กิจกรรมทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้และการปลูกผักสวนครัว
1.1 ประชุม วางแผนคณะทำงาน
5. กิจกรรม เรื่องเล่าจากอดีตในโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
1.1 ประชุมวางแผน วิเคราะห์ปัญหา สังเคราะห์แนวทางการดำเนินการแก้ปัญหา
1.2 มอบหมายภาระงาน ประชุมกำหนดปฏิทินปฏิบัติงาน
1.3 เสนอเพื่ออนุมัติ
6. กิจกรรม สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
1.1 ประชุมวางแผน
1.2 จัดทำโครงการ
1.3 แต่งตั้งผู้รับผิดชอบต่างๆ
1.4 จัดทำปฏิทินงาน
1.5 จัดซื้ออุปกรณ์
7. กิจกรรม การพัฒนาศักยภาพทักษะอาชีพให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตตามหลักพอเพียง
1.ประชุมวางแผนแนวทางการปฏิบัติงาน
2. คัดเลือกกิจกรรมที่นักเรียนใจความสนใจ เพื่อวางแผนในการจัดหาแหล่งศึกษาการเรียนรู้ และจัดหาวิทยากรให้ความรู้
8. กิจกรรมเรารักพรรณไม้ในโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
1.1 ประชุมวางแผนและจัดทำกิจกรรม
1.2 แต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบ
9. กิจกรรมนักบัญชีน้อย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3,5
1.1 ประชุมวางแผน และเตรียมความพร้อม
1.2 จัดเตรียม วางแผนการจัดกิจกรรม
1.3 จัดเตรียมคู่มือ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือวัด ประเมินผลกิจกรรม
10 .กิจกรรมบัญชีรายรับ รายจ่าย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
1.1 ประชุมวางแผน และเตรียมความพร้อม
1.2 จัดเตรียม วางแผนการจัดกิจกรรม
1.3 จัดเตรียมคู่มือ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือวัด ประเมินผลกิจกรรม
|
ขั้นดำเนินการ |
1. กิจกรรมห้าห้องชีวิต พิชิตความยากจน
2.1 จัดกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ติดต่อสถานที่
2.2 จัดกิจกรรมในรูปแบบอบรม 2 วันติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.3 ชี้แจงเตรียมความพร้อมของ คณะกรรมการเศรษฐกิจพอเพียง
2. กิจกรรมแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.1 จัดกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ติดต่อสถานที่
2.2 จัดกิจกรรมในการเชิญ
ติดต่อประสานงานกับวิทยากรที่เกี่ยวข้อง
2.3 ชี้แจงเตรียมความพร้อมของ คณะกรรมการเศรษฐกิจพอเพียง
3. กิจกรรมการสร้างสรรค์ภาพทิวทัศน์ด้วยฟางข้าว
2.1 ดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานที่กำหนด
1. การสร้างสรรค์ภาพทิวทัศน์ด้วยฟางข้าว(ความรู้พื้นฐานวัสดุ อุปกรณ์,การใช้และเก็บบำรุงรักษาเครื่องมือวัสดุ อุปกรณ์ )
2. การสร้างสรรค์ภาพทิวทัศน์ด้วยฟางข้าว( การเลือกฟางข้าว ในการทำงาน )
3. วิธีการ ขั้นตอน และปฏิบัติงาน
4. กิจกรรมทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้และการปลูกผักสวนครัว
2.1 เก็บสะสมใบไม้
2.2 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์
2.3 ทำปุ๋ยหมัก และปลูกผักสวนครัว
5. กิจกรรม เรื่องเล่าจากอดีตในโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
2.1 ประชุมชี้แจงนักเรียนในห้องที่สอนเพื่อมอบหมายภาระงาน
2.2 มอบหมายให้นักเรียนทุกคนคิดรูปแบบการนำวัสดุที่ใช้แล้วในบ้านเรือนของตนเองกลับมาทำเป็นสื่อการเรียนรู้ในชั้นเรียน
2.3 จัดเตรียมห้องสื่อการเรียนรู้สำหรับเก็บงานขอนักเรียนหลัง
จากนำเสนอในชั้นเรียนแล้วเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนต่อไป
2.4 จัดนิทรรศการประกวดผลงานตามระดับชั้นโดยมีครูที่สอนหรือคณะกรรมการเป็นผู้ให้คะแนน
2.5 นำสื่อมาใช้จริง
6. กิจกรรม สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
2.1 ผู้รับผิดชอบดำเนินงานตามภาระหน้าที่
2.2 ปรับปรุงพื้นที่สำหรับทำกิจกรรม
2.3 จัดทำฐานการเรียนรู้ๆ
2.4 ฝึกอบรมให้ความรู้และให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ
-รู้จักสมุนไพรไทย
-ประโยชน์ของสมุนไพร
-การปลูกพืชสมุนไพร
-การแปรรูปและการผลิต ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร
2.5 นำความขยายผล
7. กิจกรรม การพัฒนาศักยภาพทักษะอาชีพให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตตามหลักพอเพียง
1. หาสถานที่ในการเรียนรู้ฝึกทักษะอาชีพ และวิทยากรในการให้ความรู้แก่นักเรียน (ทักษะอาชีพที่เรียนรู้ได้แก่ การปลูกถั่วงอก,การปลูกต้นอ่อนทานตะวัน,การปลูกเห็ดฟาง,การทำขนมไทย)
2. วิทยากรให้ความรู้นักเรียน และเข้าเรียนรู้ใน สถานที่จริง ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้
3. จัดเตรียมสถานที่ในการปลูกพืชให้แก่นักเรียน
4. จัดซื้ออุปกรณ์ในการทำงาน
5. นักเรียนลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง
(การปลูกผัก,การทำขนมไทย)
6. สรุปผลการจัดกิจกรรม
7. วัดและประเมินผล
8. กิจกรรมเรารักพรรณไม้ในโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
2.1 ชี้แจงนักเรียนกลุ่มเป้าหมายในการทำกิจกรรม
2.2 ให้ความรู้ในการทำรายงานเรื่องพรรณไม้ในโรงเรียน พร้อมทั้งบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการทำรายงาน
2.3 นักเรียนกลุ่มเป้าหมายทำรายงานรูปเล่ม
พร้อมทั้งนำเสนอ
9. กิจกรรมนักบัญชีน้อย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3,5
2.1 จัดกิจกรรมตามแผนที่วางไว้
2.2 จัดกิจกรรมในรูปแบบการจัดการสอน ม. 3,ม. 5
10 .กิจกรรมบัญชีรายรับ รายจ่าย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2.1 จัดกิจกรรมตามแผนที่วางไว้
2.2 จัดกิจกรรมในรูปแบบการจัดการสอน ม. 2 |
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
1. กิจกรรมห้าห้องชีวิต พิชิตความยากจน
3.1 ติดตามประเมินขั้นตอนการจัดกิจกรรม
3.2 การสังเกต/การสัมภาษณ์
3.3 แบบประเมินการดำเนินกิจกรรมการแบบบันทึก ความพึงพอใจ ความรู้สึก ความประทับใจการนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
2. กิจกรรมแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
3.1 ติดตามประเมินขั้นตอนการจัดกิจกรรม
3.2 การสังเกต/การสัมภาษณ์
3.3 แบบประเมินการดำเนินกิจกรรมการแบบบันทึก ความพึงพอใจ ความรู้สึก ความประทับใจ
3. กิจกรรมการสร้างสรรค์ภาพทิวทัศน์ด้วยฟางข้าว
3.1 ประเมินผลการปฏิบัติงาน
1. การสร้างสรรค์ภาพทิวทัศน์ด้วยฟางข้าว
(ความรู้พื้นฐานวัสดุ อุปกรณ์,การใช้
และเก็บบำรุงรักษาเครื่องมือวัสดุ อุปกรณ์ )
2. การสร้างสรรค์ภาพทิวทัศน์ด้วยฟางข้าว
( การเลือกฟางข้าว ในการทำงาน )
3. วิธีการ ขั้นตอน และปฏิบัติงาน
3.2 ประเมินผลโดย แบบตรวจผลงาน แบบทดสอบ
แบบสอบถามความพึงพอใจ ความ คิดเห็นต่อ
การจัดกิจกรรมและข้อเสนอแนะในการ
จัดกิจกรรมครั้งต่อไป
4. กิจกรรมทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้และการปลูกผักสวนครัว
3.1 ประเมินผลการจัดกิจกรรม
3.2 สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรม
5. กิจกรรม เรื่องเล่าจากอดีตในโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
3.1 นิเทศติดตาม
3.2 สรุป ประเมินผล
3.3 รายงานผลการดำเนินงาน
6. กิจกรรม สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
3.1 ติดตามครูที่รับผิดชอบ
3.2 บันทึกเก็บข้อมูลกิจกรรมต่างๆ
3.3 นำข้อมูลมาวิเคราะห์และประเมินกิจกรรมเป็นระยะๆ
3.4 เปรียบเทียบผลการประมานในระดับที่ตั้งไว้
7. กิจกรรม การพัฒนาศักยภาพทักษะอาชีพให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตตามหลักพอเพียง
1. นิเทศ และติดตามงานอย่างเป็นระบบ
2. สรุปรายงานผลการดำเนินกิจกรรม
8. กิจกรรมเรารักพรรณไม้ในโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
3.1 รายงานผลการดำเนินงาน การเข้าร่วมกิจกรรม
9. กิจกรรมนักบัญชีน้อย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3,5
3.1 ติดตามประเมินขั้นตอนการจัดกิจกรรม
3.2 แบบประเมินการดำเนินกิจกรรมการ
แบบบันทึก ความพึงพอใจ ความรู้สึก
ความประทับใจ
3.3 การนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
10 .กิจกรรมบัญชีรายรับ รายจ่าย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
3.1 ติดตามประเมินขั้นตอนการจัดกิจกรรม
3.2 แบบประเมินการดำเนินกิจกรรมการแบบบันทึก ความพึงพอใจ ความรู้สึก ความประทับใจ
3.3 การนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน |
ขั้นสรุปและรายงาน |
1. กิจกรรมห้าห้องชีวิต พิชิตความยากจน
4.1 รายงานและสรุปผลการดำเนินงานกิจกรรม
4.2 นำปัญหาที่พบไปปรับปรุงพัฒนาในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป
2. กิจกรรมแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
4.1 รายงานและสรุปผลการดำเนินงานกิจกรรม
4.2 นำปัญหาที่พบไปปรับปรุงพัฒนาในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป
3. กิจกรรม การสร้างสรรค์ภาพทิวทัศน์ด้วยฟางข้าว
- นำผลการปฏิบัติงาน ผลงานและนำผลสถิติความพึง
พอใจ ความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมและ ข้อเสนอ
แนะมาประชุมเพื่อหาแนวทางและแก้ไขปัญหาและ
พัฒนาในการวางแผนจัดกิจกรรมครั้ง ต่อไป
4. กิจกรรมทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้และการปลูกผักสวนครัว
4.1 รายงานผลการดำเนินงานกิจกรรม
4.2 นำปัญหาที่พบไปปรับปรุงพัฒนาในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป
5. กิจกรรม เรื่องเล่าจากอดีตในโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
4.1 ประชุมสรุปงานและหาแนวทางแก้ไข
4.2 จัดเตรียมกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาและเขียนแผนตามโครงการ
6. กิจกรรม สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
4.1 รายงานผลกิจกรรม
4.2 สรุปผลการดำเนินงาน
4.3 นำผลการการจัดกิจกรรม/ปัญหา/ข้อผิดพลาดไปปรับปรุงต่อไป
7. กิจกรรม การพัฒนาศักยภาพทักษะอาชีพให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตตามหลักพอเพียง
1.รายงานผลการดำเนินงาน การเข้าร่วมกิจกรรม
2.นำปัญหาที่พบไปปรับปรุงแก้ไขเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
8. กิจกรรมเรารักพรรณไม้ในโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
4.1 สรุปรายงานผลการจัดกิจกรรม
4.2 นำปัญหาที่พบไปปรับปรุงแก้ไขเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
9. กิจกรรมนักบัญชีน้อย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3,5
4.1 รายงานและสรุปผลการดำเนินงานกิจกรรม
4.2 นำปัญหาที่พบไปปรับปรุงพัฒนาในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป
10 .กิจกรรมบัญชีรายรับ รายจ่าย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
4.1 รายงานและสรุปผลการดำเนินงานกิจกรรม
4.2 นำปัญหาที่พบไปปรับปรุงพัฒนาในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป |
งบประมาณ |
33,730 |
การบรรลุตัวชี้วัด |
1. แบบประเมินโครงการ
2. แบบประเมินคุณลักษณะตามตัวบ่งชี้ ตามหลักสูตรของโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
3. แบบบันทึกความพึงพอใจความรู้สึก ความประทับใจ การนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|