โรงเรียน : สุราษฏร์พิทยา สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร
ประเภท : โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ผลการประเมิน : 4.69
เผยแพร่เมื่อ : 28 ก.ค. 2563 โดย : ภัทรพร ช่วยชนะ จำนวนผู้เข้าชม 4585 คน
ชื่อโครงการ/กิจกรรม | กิจกรรมพัฒนาคุณภาพนักเรียนสู่มาตรฐานสากล 2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเภท | โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปีการศึกษา | 2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้ 3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก 3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน 3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้รับผิดชอบ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความเป็นมา | โรงเรียนมาตรฐานสากลเป็นนวัตกรรมการจัดการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนำมาใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนา ยกระดับการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐานเทียบเท่าสากล ผู้เรียนมีศักยภาพและความสามารถทัดเทียมกับผู้เรียนนานาประเทศ หรือมาตรฐานของประเทศที่มีคุณภาพการศึกษาสูง มีความสามารถในการร่วมมือทำงานและแข่งขันกับนานาชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้คัดเลือกโรงเรียนที่มีความพร้อมและมีคุณภาพสูงเข้าโครงการด้วยการให้โรงเรียนในโครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และพัฒนาวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับปฏิญญาว่าด้วยการจัดการศึกษาของ UNESCO ทั้ง 4 ด้าน คือ Learning to Know, Learning to Do, Learning to Live Together และ Learning to Be รวมถึงการพัฒนาระบบการบริหารจัดการโรงเรียนด้วยระบบคุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ( Thailand Quality Award : TQA ) โรงเรียนสุราษฎร์พิทยาได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลรุ่นที่ 1 ตลอดมาจึงมุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ( ปรับปรุง พ.ศ.2560 ) พัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลโลก มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในระดับเดียวกับมาตรฐานของสากล หรือมาตรฐานของประเทศที่มีคุณภาพการศึกษาสูง และคำนึงถึงการส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ มีความพร้อมที่จะเรียนรู้และประกอบอาชีพเมื่อจบการศึกษา หรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น นอกจากการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแล้ว การดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลจะประสบความสำเร็จได้จะต้องมีการพัฒนาหลายมิติไปพร้อมกัน โดยใช้กระบวนการนิเทศภายในช่วยเหลือติดตามการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนสู่มาตรฐานสากล |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วัตถุประสงค์ | 1. เพื่อพัฒนากระบวนการการจัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนทางด้านสติปัญญา ความสามารถ และความถนัด 2. เพื่อพัฒนากระบวนการการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมพหุปัญญา เหมาะสมในการเพิ่มพูนศักยภาพของผู้เรียนให้สามารถพัฒนาไปสู่จุดสูงสุดแห่งศักยภาพ 3. เพื่อพัฒนากระบวนการการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ มีความพร้อมที่จะเรียนรู้และประกอบอาชีพเมื่อจบการศึกษา หรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เป้าหมาย | เชิงปริมาณ 1. ครูพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน จัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมพหุปัญญา เหมาะสมในการเพิ่มพูนศักยภาพของผู้เรียน มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ และการประกอบอาชีพ ร้อยละ 100
2. นักเรียนมีทักษะและความสามารถด้านภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษสูง สามารถใช้ใน การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ การติดต่อสื่อสาร นำเสนอผลงาน โต้แย้งให้เหตุผล และเจรจาความร่วมมือ รวมทั้งมีความสนใจเรียนวิชาภาษาต่างประเทศที่สอง 3. นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความคิดทางวิทยาศาสตร์ และมีความคิดอย่างมีวิจารณณาณ รวมถึงมีทักษะความสามารถในการคิดวิเคราะห์ในการแก้ปัญหา และการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ โดยมีหลักคิดที่น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ 4. นักเรียนทักษะความสามารถในการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนอง และมีความสามารถในการผลิตผลงาน ด้านต่าง ๆ ด้วยตนเอง 5. นักเรียนเป็นผู้มีจิตสาธารณะ มีสำนึกในการบริการสังคม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และมีจิตสำนึก ในการส่งเสริม พิทักษ์ และปกป้องสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม และสถานภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ระยะเวลา | 1 เม.ย. 2560 - 31 มี.ค. 2561 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สถานที่ดำเนินการ | โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตัวชี้วัด | ระดับความสำเร็จ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผลที่คาดว่าจะได้รับ | 1. นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ มีทักษะในการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีความพร้อมที่จะเรียนรู้และประกอบอาชีพเมื่อจบการศึกษา หรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น 2. นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และชุมชน มีความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สรุปคะแนนประเมิน | 4.69 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ไฟล์ประกอบ |
ผลการดำเนินงานของสถานศึกษา.pdf |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขั้นเตรียมการ | - เสนอโครงการ - ประชุมชี้แจง/กิจกรรม |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขั้นดำเนินการ | - พัฒนาบุคลากรด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน - ส่งเสริมการกิจกรรมจัดการเรียนรู้ สะเต็มศึกษา - ส่งเสริมการกิจกรรมจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน - ส่งเสริมการกิจกรรมจัดการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ( IS ) - ส่งเสริมการกิจกรรมจัดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่สอง |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขั้นตรวจสอบประเมินผล | ติดตามผลประเมินผล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขั้นสรุปและรายงาน | สรุปและรายงานผล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
งบประมาณ |
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความพึงพอใจ | นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา ในระดับ ดี เนื่องจาก 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM) เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จสถานศึกษา ได้วางแผนการพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี ภาษาอังกฤษ และสิ่งแวดล้อม โดยจัดสรรงบประมาณ เพื่อรองรับการอบรมและศึกษาดูงาน การจ้างครูอัตราจ้าง และครูต่างชาติ ให้ครูได้พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ และรองรับการขาดแคลนครูในบางกลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมทั้งจ้างการจ้างลูกจ้างเพื่อไว้ส่งเสริมการทำงานในสำนักงานกลุ่มบริหารเพื่อลดภาระงานอื่นๆ 2) สถานศึกษาได้จัดให้ครูสอนตรงกับวิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญ กำหนดให้ครูต้องศึกษาหลักสูตร วิเคราะห์หลักสูตร ศึกษาผู้เรียนเพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐาน และข้อมูลปัญหาของผู้เรียน ออกแบบการเรียนรู้ จัดทำแผนการเรียนรู้ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ มีการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มาเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู และบุคลากร มีการนิเทศติดตามและประเมินผล เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน 3) โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ และให้บริการทางวิชาการแก่โรงเรียนเครือข่ายและคนในชุมชน เช่น เป็นศูนย์อาเซียน ศูนย์ภาษาจีน เป็นสถานที่ศึกษาดูงานการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ด้วย สร.โมเดล และสะเต็มศึกษา เป็นศูนย์การพัฒนาครูแกนนำด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ 4) ผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ย ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) สูงกว่าระดับประเทศในทุกกลุ่มสาระ 5) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินตามหลักสูตรของสถานศึกษา และทุกกลุ่มสาระฯผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ในระดับ 3 ขึ้นไป เกินกว่าร้อยละ 50 6) ผู้เรียนมีความสามารถ อ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ในระดับดีเยี่ยม 7) ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับดีเยี่ยม 8) ผู้เรียนมีความพร้อม ในการรับการพัฒนาเต็มศักยภาพ และตามความรู้ความสามารถของผู้เรียน 9) ผู้เรียนมีความกล้าแสดงออก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ สามารถเลือกใช้ สื่อ เทคโนโลยี และนวัตกรรมได้อย่างเหมาะสม 10) ผู้บริหารมีความมุ่งมั่นในการทำงาน โดยยึดหลักการบริหารตามหลักธรรมภิบาล มีวิสัยทัศน์กว้างไกล สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงาน และคณะกรรมการสถานศึกษา มีความตั้งใจและความพร้อมในการปฏิบัติงานตามที่ได้รับหมอบหมาย 11) โรงเรียนมีการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม จึงแสวงหาความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มเพื่อพัฒนาองค์กรในทุกด้าน องค์กรหลักที่ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของสถานศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา ผู้ปกครองเครือข่ายโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา และสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา โดยเครือข่ายผู้ปกครองและสมาคมผู้ปกครองมีส่วนสำคัญในการประสานงานระหว่างสถานศึกษากับชุมชน สถานศึกษาได้จัดทำข้อตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ และองค์กรการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในกระบวนการจัดการเรียน การสอนให้มีคุณภาพ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเป็นเลิศเทียบเท่าระดับสากล 12.) โรงเรียนมีเครือข่ายความร่วมมือที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนที่เข้มแข็งและมีส่วนในการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปัญหาและอุปสรรค | 1) ผู้เรียนยังมีคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ในบางกลุ่มสาระฯ ต่ำกว่าร้อยละ 50 2) ผู้เรียนขาดการออมเงิน ไม่รู้จักใช้จ่ายอย่างประหยัด มีค่านิยมตามกระแสสังคมที่ไม่ถูกต้อง 3) มีข้อจำกัดเรื่องขนาดของพื้นที่ซึ่งไม่สามารถขยายได้ 4) มีจำนวนห้องเรียนและห้องปฏิบัติการต่างๆไม่เพียงพอจึงส่งผลกระทบต่อการจัดเรียนการสอน |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อเสนอแนะ | 1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนในกลุ่มนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินให้มีจำนวนลดลง 2) สร้างและปลูกฝังการมีวินัยในตนเองให้มากขึ้น 3) มุ่งปรับปรุงภูมิทัศน์ให้ ร่มรื่น สวยงาม และสามารถใช้งานได้อย่างหลากหลาย เพียงพอในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นแหล่งเรียนรู้ และสร้างเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตามศักยภาพ เพื่อ สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ 4) ขณะนี้โรงเรียนได้รับงบประมาณและกำลังดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียน 324 ล/55-ข สำหรับจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และอาคารโดมเพื่อเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ในการจัดกิจกรรมต่างๆ แล้ว 5) ครูควรวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีที่หลากหลายตามสภาพจริง สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และธรรมชาติวิชา 6) ครูควรให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนทันทีเพื่อพัฒนาตนเอง 7) ควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รูปภาพประกอบ |
![]() |