Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร

โรงเรียน : ชลบุรี (สุขบท) สพม.ชลบุรี ระยอง

ประเภท : โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)

ผลการประเมิน : 5.00

เผยแพร่เมื่อ : 30 ก.ค. 2563 โดย : นางสาวกนกกาญจน์ แสงทอง จำนวนผู้เข้าชม 24 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร
ประเภท โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ปีการศึกษา 2562
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน


ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา         อุตสาหกรรมอาหาร (food industry) หมายถึง อุตสาหกรรมที่นำผลิตผลจากภาคเกษตร ได้แก่ผลิตผลจากพืช ปศุสัตว์ และ ประมง มาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตอาหาร โดยอาศัยเทคโนโลยีการแปรรูปอาหารและการถนอมอาหาร ตลอดจนเทคโนโลยีเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการแปรรูปอาหาร (food processing equipment) บรรจุภัณฑ์อาหาร (packaging) เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์อาหารให้ได้ปริมาณมากๆ มีคุณภาพสม่ำเสมอ ปลอดภัย และสะดวกต่อการบริโภค หรือการนำไปใช้ในขั้นตอนต่อไป และเป็นการยืดอายุการเก็บรักษาผลิตผลจาก พืช ปศุสัตว์ และประมง
       อุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมลำดับแรกที่ได้รับการสนับสนุนมาตั้งแต่ประเทศไทยเริ่มประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ในปี พ.ศ.2504 เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เงินลงทุนน้อยใช้วัตถุดิบภายในประเทศมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า และสามารถนำเอาทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ของประเทศไปพัฒนาเพื่อประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมได้มาก ทำให้ง่ายต่อการพัฒนาเพื่อการลงทุน นอกจากนี้อุตสาหกรรมอาหารยังก่อให้เกิดผลเชื่อมโยงไปสู่กิจกรรมการผลิตอื่นๆ ที่เป็นอุตสาหกรรมสนับสนุน ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ เช่น กระป๋อง และนำไปสู่การจ้างงานและรายได้ประชาชาติที่สูงขึ้น
          กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ  โรงเรียนชลบุรี “สุขบท” จึงได้จัดทำโครงการอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร  เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา รองรับอาชีพในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้ได้ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกด้าน 
 
วัตถุประสงค์           2.1 เพื่อพัฒนาความพร้อมในการศึกษาต่อ การฝึกงานหรือการทำงานตามความสนใจและความถนัดของแต่ละบุคคล
          2.2 เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะและค่านิยมที่ดี ตามที่สถานศึกษากำหนดโดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม
          2.3 เพื่อส่งเสริมความเป็นไทยและความภาคภูมิใจในท้องถิ่น ตลอดจนยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและความหลากหลาย
          2.4 เพื่อพัฒนาและส่งเสริมทักษะอาชีพตอบสนองโรงเรียนในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
 
เป้าหมาย     3.1 เชิงปริมาณ
          3.1.1 นักเรียนร้อยละ 100 ได้ศึกษาวิชาเพิ่มเติมกลุ่มทักษะอาชีพเพียงพอต่อความสนใจและความถนัดของแต่ละบุคคล
          3.1.2 นักเรียนร้อยละ 100 ได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพที่ส่งเสริมการมีงานทำสอดคล้องกับความต้องการในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
    3.2 เชิงคุณภาพ
         3.2.1 นักเรียนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
         3.2.2 นักเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตรงตามความต้องการของหน่วยงาน
         3.2.3 นักเรียนสามารถจัดแสดงผลงานของแต่ละกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
         3.2.3 นักเรียนสามารถจัดแสดงผลงานของแต่ละกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
ระยะเวลา 30 ก.ค. 2563 - 30 ก.ค. 2563
สถานที่ดำเนินการ ห้องแปรรูป
ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีวัดการประเมิน เครื่องมือที่ใช้
1. นักเรียนร้อยละ 100 ได้ศึกษาวิชาเพิ่มเติมกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารเพียงพอต่อความสนใจและความถนัด สำรวจจำนวนนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนตามความถนัดและความสนใจ รายงานนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนตามความถนัดและความสนใจ
2. นักเรียนร้อยละ 100 ได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพที่ส่งเสริมการมีงานทำสอดคล้องกับความต้องการในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก สำรวจจำนวนนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนตามความถนัดและความสนใจ รายงานนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนตามความถนัดและความสนใจ
3. นักเรียนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและพึงพอใจในการเรียนการสอน ประเมินความพึงพอใจ แบบสอบถามความพึงพอใจ
4. นักเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตรงตามความต้องการของหน่วยงานภายนอกและสถานประกอบการ ประเมินสภาพจริง
ประเมินจากหน่วยงานหรือสถานประกอบการ
ผลงานนักเรียน
รายงานการสรุปการจัดกิจกรรม
5. นักเรียนสามารถจัดแสดงผลงานของแต่ละกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประเมินสภาพจริง
ผลงานนักเรียน
นิทรรศการมีชีวิต
ผลงานนักเรียน
นิทรรศการมีชีวิตเปิดโลกการศึกษาและอาชีพ
รายงานการสรุปการจัดกิจกรรม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ที่ วัตถุประสงค์ของโครงการ/กิจกรรม ผลการดำเนินการ ร้อยละความสำเร็จ
1.  เพื่อพัฒนาความพร้อมในการศึกษาต่อ การฝึกงานหรือการทำงานตามความสนใจและความถนัดของแต่ละบุคคล จัดทำห้องแปรรูปอาหาร และจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำหรับให้นักเรียนได้ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาการแปรรูปอาหาร ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ 100
 
2. เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะและค่านิยมที่ดี ตามที่สถานศึกษากำหนดโดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของสังคม นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมการแปรรูปอาหาร
ตามวัตถุประสงค์
100
3. เพื่อส่งเสริมความเป็นไทยและความภาคภูมิใจในท้องถิ่น ตลอดจนยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและความหลากหลาย จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วัสดุ/วัตถุดิบที่มีในชุมชนท้องถิ่น มาแปรรูปอาหาร 100
 
4. เพื่อพัฒนาและส่งเสริมทักษะอาชีพตอบสนองโรงเรียนในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฝึกทักษะ  การเลือกวัตถุดิบ การแปรรูปอาหาร/วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น  การจัดจำหน่าย เพื่อเป็นแนวทางที่นักเรียนสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพได้
 
100
สรุปคะแนนประเมิน 5.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ ขั้นเตรียมงาน (PLAN)
1.1 เขียนแผนการเรียนรู้เพื่อจัดทำหลักสูตร
     สถานศึกษา
1.2 จัดทำงบประมาณโครงการแปรรูปอาหาร
1.3 เสนอขออนุมัติโครงการ
ขั้นดำเนินการ ขั้นดำเนินการ (DO)
2.1 ดำเนินการจัดซื้อวัสดุ  อุปกรณ์ ที่ใช้ในการจัดการ
     เรียนการสอน
2.2 จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ให้พร้อม
2.3 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนกำหนดแนวทางการ
     จัดการเรียนรู้
ขั้นตรวจสอบประเมินผล ขั้นตรวจสอบ (CHECK)
3.1 ประเมินความความรู้ความเข้าใจสาระเนื้อหา
     กิจกรรมฝึกปฏิบัติของนักเรียน
3.2 ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน
3.3 ประเมินผลการเรียนรู้
3.4 นิเทศ กำกับ ติดตาม การเรียนรู้
ขั้นสรุปและรายงาน ขั้นรายงาน (ACTION)   นำผลการประเมินโครงการไปปรับปรุงพัฒนาการ ดำเนินงาน
งบประมาณ งบประมาณที่ได้รับจัดสรร  34,456  บาท    ใช้ไป 34,178 บาท  คิดเป็นร้อยละ 99.19
การบรรลุตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีวัดการประเมิน เครื่องมือที่ใช้
1. นักเรียนร้อยละ 100 ได้ศึกษาวิชาเพิ่มเติมกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารเพียงพอต่อความสนใจและความถนัด สำรวจจำนวนนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนตามความถนัดและความสนใจ รายงานนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนตามความถนัดและความสนใจ
2. นักเรียนร้อยละ 100 ได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพที่ส่งเสริมการมีงานทำสอดคล้องกับความต้องการในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก สำรวจจำนวนนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนตามความถนัดและความสนใจ รายงานนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนตามความถนัดและความสนใจ
3. นักเรียนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและพึงพอใจในการเรียนการสอน ประเมินความพึงพอใจ แบบสอบถามความพึงพอใจ
4. นักเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตรงตามความต้องการของหน่วยงานภายนอกและสถานประกอบการ ประเมินสภาพจริง
ประเมินจากหน่วยงานหรือสถานประกอบการ
ผลงานนักเรียน
รายงานการสรุปการจัดกิจกรรม
5. นักเรียนสามารถจัดแสดงผลงานของแต่ละกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประเมินสภาพจริง
ผลงานนักเรียน
นิทรรศการมีชีวิต
ผลงานนักเรียน
นิทรรศการมีชีวิตเปิดโลกการศึกษาและอาชีพ
รายงานการสรุปการจัดกิจกรรม
ความพึงพอใจ        นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเฉลี่ย  3.60   ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายของกลุ่มสาระที่ตั้งไว้
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของโครงการที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์
 
ปัญหาและอุปสรรค -
ข้อเสนอแนะ -
รูปภาพประกอบ