ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
โครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปีการศึกษา 2563 |
ประเภท |
โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
ปีการศึกษา |
2563 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้ |
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีสายพระเนตรกว้างและยาวไกล ทรงเห็นความสําคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ในปี พ.ศ. 2503 ทรงอนุรักษ์ต้นยางนา ในปี พ.ศ. 2504 ทรงให้นําพรรณไม้จากภูมิภาคต่าง ๆ มาปลูกไว้ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา และทรงมีโครงการพระราชดําริที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ พัฒนาทรัพยากร พัฒนาแหล่งน้ำ การพัฒนาและอนุรักษ์ดินอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ เป็นการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2535สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงสืบทอดพระราชปณิธานต่อโดยมีพระราชดําริกับนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวัง ให้ดําเนินการ อนุรักษ์พืชพรรณของประเทศโดยพระราชทานให้โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา เป็นผู้ดําเนินการจัดตั้งธนาคารพืชพรรณขึ้นในปี พ.ศ. 2536 และดําเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
โรงเรียนพิบูลย์รักษ์พิทยา ได้เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และได้ดำเนินงานตามกิจกรรมที่ 7 กิจกรรมสร้างจิตสํานึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยดําเนินการงาน “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” เพื่อสร้างจิตสํานึกให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป ได้เข้าใจถึงความสําคัญและประโยชน์ของพันธุกรรมพืชจนเกิดความหวงแหนและนําไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากที่สุด ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการศึกษาของจริง เข้าถึงและสัมผัสกับธรรมชาติรอบ ๆ ตัว สามารถรู้จริงเกี่ยวกับธรรมชาติแห่งชีวิต เห็นการพึ่งพากันของสรรพสิ่งสรรพชีวิต เกิดความรัก และคิดที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรต่าง ๆ รวมทั้ง คณะครูมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถเป็นที่ปรึกษาในการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนพิบูลย์รักษ์พิทยา จึงได้ดำเนินโครงการ“งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปีการศึกษา 2563 ขึ้น
|
วัตถุประสงค์ |
1. เพื่อให้นักเรียนได้ร่วมสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
2. เพื่อให้ครู และนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถดำเนินงานทั้ง 5 องค์ประกอบ และ 3 สาระ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นแหล่งเรียนรู้ได้
3. เพื่อให้โรงเรียนเป็นแหล่งรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้ ข้อมูลพรรณไม้และการเก็บรักษา มีระบบข้อมูลพันธุกรรมพืชที่สมบูรณ์ เป็นปัจจุบัน
4. เพื่อให้โรงเรียนร่มรื่น สวยงาม เป็นเรียนรู้ให้บุคคลทั้งภายในและภายนอก และสามารถบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนได้หลากหลายทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
5. เพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่า ประโยชน์ ความงดงาม เกิดความปิติ และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
|
เป้าหมาย |
เชิงปริมาณ
นักเรียนโรงเรียนพิบูลย์รักษ์พิทยาได้ร่วมศึกษาและทำกิจกรรมตามองค์ประกอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และสาระการเรียนรู้ครบ 3 สาระ 100 %
เชิงคุณภาพ
นักเรียนและครูมีความรู้ ความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ได้ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ กิจกรรมต่าง ๆ ทั้ง 5 องค์ประกอบ สาระการเรียนรู้ครบ 3 สาระ เห็นคุณค่า ประโยชน์ และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
|
ระยะเวลา |
15 พ.ค. 2562 - 30 ก.ค. 2563 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนพิบูลย์รักษ์พิทยา อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี |
ตัวชี้วัด |
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
1. นักเรียนและครูมีความรู้ ความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และเห็นความสำคัญของพันธุกรรมพืช
2. นักเรียนได้ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติตามลำดับการทำกิจกรรมขององค์ประกอบต่าง ๆ
3. นักเรียนเห็นคุณค่า ประโยชน์ ความงดงาม เกิดความปิติและมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
4. นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปเปรียบเทียบกับชีวิตและประยุกต์นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
5. มีระบบข้อมูลพันธุกรรมพืชที่สมบูรณ์ เป็นปัจจุบัน และเป็นแหล่งเรียนรู้
6. เกิดความร่วมมือร่วมใจภายในโรงเรียนและชุมชน
|
สรุปคะแนนประเมิน |
0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
|
ขั้นดำเนินการ |
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
|
งบประมาณ |
|
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|