ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
โครงการปลูกจิตสำนึกความปลอดภัยทางถนน |
ประเภท |
โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
ปีการศึกษา |
2563 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา 2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
|
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
จากการวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์บนท้องถนนพบว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมีสาเหตุจากตัวบุคคลหรือผู้ขับขี่ สภาพรถจักรยานยนต์ และสภาพถนน ชมรม RSC โรงเรียนพิบูลย์รักษ์พิทยา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการรณรงค์เพื่อป้องกันอันตรายและลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุรุนแรงจากการขับขี่รถจักรยานยนต์มาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการสนับสนุนสื่อ อุปกรณ์ จากบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด และการสนับสนุนกำลังเจ้าหน้าที่จากสถานีตำรวจภูธรพิบูลย์รักษ์ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีการขยายผลสู่ชุมชนหรือโรงเรียนใกล้เคียง ชมรม RSC โรงเรียนพิบูลย์รักษ์พิทยาจึงได้จัด “โครงการปลูกจิตสำนึกความปลอดภัยทางถนน ประจำปี 2563 ” ขึ้น
|
วัตถุประสงค์ |
-
- คณะครู นักเรียนโรงเรียนพิบูลย์รักษ์พิทยา สวมหมวกนิรภัย ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
2. เพื่อลดอัตราการบาดเจ็บรุนแรงลง
3. เพื่อรณรงค์และเผยแพร่ความรู้ ให้คณะครู นักเรียน ชุมชนและโรงเรียนใกล้เคียงตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน
|
เป้าหมาย |
1. ร้อยละ 80 ของคณะครูนักเรียนโรงเรียนพิบูลย์รักษ์พิทยา สวมหมวกนิรภัย
2. ร้อยละ 10 การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนของคณะครูนักเรียนโรงเรียนพิบูลย์รักษ์พิทยาลดลง
3. ร้อยละ 85 ของนักเรียนมีความรับผิดชอบ มีวินัย มีภาวะผู้นำ และจิตอาสา
4. ร้อยละ 85 ของ คณะครู นักเรียน โรงเรียนพิบูลย์รักษ์พิทยา ชุมชนและโรงเรียนใกล้เคียงตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน และปฏิบัติตามกฎจราจร
5. ร้อยละ 100 ของนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะและค่านิยมที่สถานศึกษากำหนด
|
ระยะเวลา |
15 พ.ค. 2563 - 30 ก.ค. 2563 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนพิบูลย์รักษ์พิทยา อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี |
ตัวชี้วัด |
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
1. โรงเรียนพิบูลย์รักษ์พิทยาเป็นเขตสวมหมวกนิรภัย 100 %
2. คณะครู นักเรียน และชุมชนตระหนักถึงความปลอดภัย และปฏิบัติตามกฎจราจรเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนลดลง
3. รถจักรยานยนต์ของคณะครู นักเรียน และบุคคลในชุมชนได้รับการตรวจสภาพและเปลี่ยนหลอดไฟให้พร้อมใช้งาน
4. สถิติการเกิดอุบัติเหตุจากรถจักยานยนต์และบาดเจ็บบาดเจ็บรุนแรงลดลง
5. มีโรงเรียนเครือข่าย RSC เพิ่มขึ้น อย่างน้อย 1 โรงเรียน
|
สรุปคะแนนประเมิน |
0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
|
ขั้นดำเนินการ |
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
|
งบประมาณ |
|
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|