Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

โรงเรียน : พญาเม็งราย สพม.เชียงราย

ประเภท : โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 30 ก.ค. 2563 โดย : สายพิน ราชลำ จำนวนผู้เข้าชม 23 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
ประเภท โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ปีการศึกษา 2563
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา ตามที่สมเด็จพระเทพราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระดำริบางประการเกี่ยวกับ              การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ซึ่งมีใจความดังต่อไปนี้ “การสอนและอบรมให้นักเรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณนั้น ควรใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงาม ความสนใจ  และเกิดความปิติ ที่จะทำการศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป การให้วิธีสอนการอบรมและให้ความรู้สึกกลัวว่า หากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสียเกิดอันตรายแก่ตนเอง จะทำให้เด็กเกิดความเครียด ซึ่งจะให้เด็กเกิดความเครียด ซึ่งจะเป็นผลเสียแก่ประเทศ             ในระยะยาว” โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ  ได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริจัดตั้งงาน “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” เพื่อเป็นสื่อในการสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดย ให้เยาวชนนั้นได้ใกล้ชิดกับพืชพรรณไม้ เห็นคุณค่าประโยชน์  ความสวยงาม อันจะก่อให้ความคิดที่จะอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป
สวนพฤกษศาสตร์ คือ แหล่งที่รวบรวมพันธุ์พืชชนิดต่างๆ ที่มีชีวิต จัดปลูกตามความเหมาะสม          กับสภาพถิ่นอาศัยเดิม มีห้องสมุด สถานที่เก็บรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้รักษาสภาพ อาจเป็นตัวอย่างแห้งหรือตัวอย่างดองหรือเก็บรักษาด้วยวิธีอื่นๆ พันธุพืชที่ทำการรวบรวมไว้นั้นจะเป็นแหล่งข้อมูลและ             การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้ นอกจากนี้สามารถใช้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจซึ่งสามารถดำเนินการสวนพฤกษศาสตร์ในพื้นที่ของโรงเรียน โดยมีองค์ประกอบดังกล่าว เป็นสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนใช้ในวัตถุประสงค์ดังกล่าว อีกทั้งใช้ในการศึกษาและเป็นประโยชน์ในการสอนวิชาต่างๆ
          จากพระราชดำริดังและพระราโชวาทของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในเรื่องของสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ซึ่งมีความสอดคล้องกับงานปกติในเรื่องของการเรียนการสอน และในเรื่องของการปฏิรูปการศึกษาของหลักสูตรการศึกษาแกนกลาง พุทธศักราช 2551 ซึ่งเน้นให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง ดังนั้นทางโรงเรียนจึงได้มีการประชุมหารือ และเห็นพ้องต้องกันที่จะสนองพระราชดำริ ดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
โรงเรียนพญาเม็งราย เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36 ได้เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 และได้ดำเนินการจัดกิจกรรมตามองค์ประกอบของสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนทั้ง 5 องค์ประกอบ 3 สาระการเรียนรู้ อันได้แก่ การจัดทำป้ายชื่อ การรวบรวมพรรณไม้เข้ามาปลูกในโรงเรียน การศึกษาข้อมูลต่างๆ               การเขียนรายงาน และการนำไปใช้ประโยชน์ มาอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย ทั้งกิจกรรมทางวิชาการซึ่งเป็นการเรียนรู้เชิงบูรณาการ ตลอดจนส่งเสริมให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า สืบค้น ข้อมูลเกี่ยวกับพรรณไม้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนมีส่วนในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช มีบทบาทในการค้นคว้ารวบรวมข้อมูล เผยแพร่ความรู้ และที่สำคัญคือ นักเรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ได้จัดสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ร่มรื่นสวยงาม มีการจัดสวนตกแต่งสถานที่ด้วยพรรณไม้ ที่สวยงาม มีการดูแลเอาใจใส่ดูแลพรรณไม้เป็นอย่างดี สร้างจิตสำนึกให้เยาวชน  มีความรักด้วยพรรณไม้  ที่สวยงามของพรรณไม้ ให้สนองต่อการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรการศึกษาแกนกลาง พุทธศักราช 2551 และให้สวนพฤกษศาสตร์เป็นสื่อกลางการเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญในวิสัยทัศน์ของโรงเรียน โดยเฉพาะที่สำคัญยิ่งของเป้าหมายหลัก เพื่อสนองแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
จากการประเมินคุณภาพภายนอกของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา  (สมศ.) พบว่า ผลการประเมินมาตรฐานของโรงเรียนพญาเม็งราย อยู่ในระดับ ดี และจากการวิเคราะห์สาเหตุ พบว่า ผู้เรียนมีสุขภาพและสุขภาพจิตที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์มีความใฝ่รู้ เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง คิดเป็นทำเป็น จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การบริหารจัดการและพัฒนาสถานศึกษามีประสิทธิภาพ การประกันคุณภาพภายใน ผลที่ได้รับบรรลุตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจและวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา มีการดำเนินงานโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษา ส่งผลกระทบที่ดีต่อผู้เรียน สถานศึกษาและชุมชน
          ด้วยเหตุผลดังกล่าวงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จึงเป็นการดำเนินงานในอีกรูปแบบหนึ่งของ “สวนพฤกษศาสตร์” โดยมีการรวมพันธุ์ที่มีชีวิต มีแหล่งข้อมูลความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้ มีการศึกษาต่อเนื่อง มีการเก็บตัวอย่างพันธุ์ไม้แห้ง และพันธุ์ไม้ดอง มีการรวบรวมพันธุ์ไม้ท้องถิ่นเข้ามาปลูกรวบรวมไว้ในโรงเรียนและภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการบันทึกรายงาน และข้อมูลรวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ มีศูนย์สำหรับศึกษาค้นคว้าและมีการนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ เป็นการดำเนินการให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่นไม่ฝืนธรรมชาติ และเป็นไปตามความสนใจและความพร้อมของโรงเรียน ดำเนินการโดยสมัครใจไม่ให้เกิดความเครียด อันจะส่งผลให้โรงเรียนได้เกิดการพัฒนาและผ่านการประเมินคุณภาพภายนอก ซึ่งกิจกรรมนี้สอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและการจัดการศึกษาของโรงเรียนเพื่อพัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐานของ สพฐ
          เพื่อให้การดำเนินการ งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ของโรงเรียนพญาเม็งรายบรรลุ                   ตามวัตถุประสงค์ และดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน โรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โดยมีกำหนดภารกิจองค์ประกอบทั้ง 5 ด้าน 3 สาระการเรียนรู้ ให้ครูและบุคลากร นักเรียน ส่วนราชการต่างๆ ประชาชนในท้องถิ่น มามีส่วนร่วมสนับสนุนประสานงานเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างสูงสุดต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและการจัดการศึกษาของโรงเรียนเพื่อพัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐานของ สพฐ
 
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างจิตสำนึกให้นักเรียน ตลอดจนบุคคลทั่วไปเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเป็นโครงการตามพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
2. มีความรัก และเห็นคุณค่าของพรรณไม้ ร่วมรณรงค์การลดภาวะโลกร้อนและเผยแพร่                สู่ภายนอก
3. เพื่อให้โรงเรียนเป็นแหล่งรวบรวมพรรณไม้ ข้อมูลพรรณไม้ และการเก็บรักษา เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยนักเรียนแต่ละระดับได้มีส่วนร่วมในการดูแลพื้นที่รับผิดชอบตามโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
4. เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เปรียบเสมือนเป็นครูที่พูดไม่ได้ ทั้งบุคคลภายในและภายนอกโรงเรียน
5.  เพื่อใช้เป็นแหล่งพักผ่อนในโรงเรียน
6. เพื่อให้นักเรียนตลอดจนผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องในชุมชน รักและภาคภูมิใจในกิจกรรมของโรงเรียน
 
เป้าหมาย ด้านปริมาณ
1. นักเรียนโรงเรียนพญาเม็งราย ระดับชั้น ม.1-.6 และบุคลากรทั้งหมดในโรงเรียนมีส่วนร่วมรับผิดชอบการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในองค์ประกอบทั้ง 5 รวมไปถึงการศึกษาสาระการเรียนรู้ทั้ง 3 สาระ คือ ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว ประโยชน์แท้แก่มหาชน และเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนตามตัวชี้วัดของระดับชั้น ร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการทุกกลุ่มสาระวิชาตามแนวพระราชดำริปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.  โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนสามารถบูรณาการเรียนรู้ และเผยแพร่จิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อบุคคลทั่วไป
3. ผู้เกี่ยวข้อง ชุมชน หน่วยงานต่างๆ ที่มาศึกษาดูงาน ร้อยละ 90 มีความพึงพอใจในการดำเนินงานของโรงเรียน
     ด้านคุณภาพ
1. นักเรียนและบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. นักเรียนและบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชสนองพระราชดำริสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
3 .นักเรียนและบุคลากรทุกคนร่วมสนองการนำแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้  และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนตลอดจนการรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน
 
ระยะเวลา 1 ต.ค. 2562 - 30 ก.ย. 2563
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนพญาเม็งราย
ตัวชี้วัด 1. เกิดความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชน  ครู  นักเรียน  ผู้ปกครอง
2. เป็นแหล่งข้อมูลพืชพรรณและภูมิปัญญาท้องถิ่น
3. พัฒนารูปแบบการสืบค้น เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้  โดยเชื่อมต่อด้วยระบบฐานข้อมูล
4.เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเกิดผู้ชำนาญการ  เกิดผลงานทางวิชาการ
5.ผู้ปฏิบัติรู้จักใช้สื่อธรรมชาติที่มีอยู่รอบตัวรู้จักการตั้งคำถาม  หาคำถาม   ช่างสังเกต  และค้นคว้า
6.มีจิตใจอ่อนโยน เห็นประโยชน์และคุณค่า ทำให้เกิดความรักในพืชพรรณไม้  ไม่ทำลาย  และมีแนวคิดที่อนุรักษ์สืบไป
7.เกิดความคิดสร้างสรรค์  ความสวยงาม ความร่มรื่นของอาคารสถานที่
8.
เป็นศูนย์ศึกษาและประสานงานสวนพฤกษศาสตร์ของสถานศึกษาอื่นหรือประชาชนทั่วไป
ผลที่คาดว่าจะได้รับ นักเรียนโรงเรียนพญาเม็งราย  ตระหนักในความสำคัญและคุณค่าของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ              อันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี  งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน  ใช้สวนพฤกษศาสตร์เป็นแหล่งเรียนรู้ในการศึกษาพรรณไม้ เป็นผู้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาพรรณไม้  ตลอดจนรักษาความสะอาด ในบริเวณพื้นที่รับผิดชอบด้วยความรักและความภูมิใจในโรงเรียนเกิดคุณลักษณะหรือคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา
 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ