Loading...

ข้อมูลโครงการพิเศษ

  PDF

ค่ายบูรณาการการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา

โรงเรียน : ชลบุรี (สุขบท) สพม.ชลบุรี ระยอง

ประเภท : โรงเรียนคุณภาพ สสวท. (SMT)

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 30 ก.ค. 2563 โดย : วิทยาศาสตร์ หลักสูตร จำนวนผู้เข้าชม 27 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม ค่ายบูรณาการการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา
ประเภท โรงเรียนคุณภาพ สสวท. (SMT)
ปีการศึกษา 2562
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน


ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา      นโยบายสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานปี 2562 มุ่งมั่นพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ผู้เรียนเป็นคนมีวินัย ภูมิใจในชาติและมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติด้วยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมบูรณาการการจัดการศึกษาบนพื้นฐานของความรับผิดชอบที่มีต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติ  (2561-2580) โรงเรียนต้องวางแผนงานให้รองรับยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 6 ด้าน คือความมั่นคง การสร้างความสามารถในการแข่งขัน การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ การสร้างโอกาสความเสมอภาคและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการของรัฐ อันนำไปสู่การเป็นประเทศที่มั่นคงและยั่งยืน การพัฒนาการศึกษาภายใต้กรอบประเทศไทย 4.0 สู่ศตวรรษที่ 21 มีเป้าหมายให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะที่เกิดจากการใช้ความรู้สาระหลักไปบูรณาการกับประสบการณ์ 3 ทักษะ เพื่อการดำรงชีวิตคือทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ทักษะชีวิตและอาชีพ ซึ่งสอดคล้องกับการเรียนรู้บูรณาการตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์) จะเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในโลกปัจจุบัน
    จากงานวิจัยความต้องการจำเป็นและการจัดลำดับการดำเนินการตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนชลบุรี”สุขบท” ปีการศึกษา 2561 พบว่ามาตรฐานที่ 1 (คุณภาพของผู้เรียน) มีความจำเป็นต้องปรับปรุงเร่งด่วนอยู่ในระดับที่ 1 มีสภาพจริงที่ประเมินมีค่าเฉลี่ย 3.17 แต่สภาพที่ควรจะเป็นเท่ากับ 4.22 ตัวบ่งชี้ที่ 1.1(3)
และ 1.1(2) อยู่ในลำดับที่ 1และ 2 ของการปรับปรุงเร่งด่วน ดังนั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงจัดทำโครงการค่ายการเรียนรู้บูรณาการสะเต็มศึกษาขึ้นเพื่อส่งเสริม ปรับปรุง และพัฒนากระบวนการคิดให้เป็นระบบ และสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศกับนานาชาติ
นโยบายสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานปี 2562 มุ่งมั่นพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ผู้เรียนเป็นคนมีวินัย ภูมิใจในชาติและมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติด้วยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมบูรณาการการจัดการศึกษาบนพื้นฐานของความรับผิดชอบที่มีต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติ  (2561-2580) โรงเรียนต้องวางแผนงานให้รองรับยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 6 ด้าน คือความมั่นคง การสร้างความสามารถในการแข่งขัน การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ การสร้างโอกาสความเสมอภาคและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการของรัฐ อันนำไปสู่การเป็นประเทศที่มั่นคงและยั่งยืน การพัฒนาการศึกษาภายใต้กรอบประเทศไทย 4.0 สู่ศตวรรษที่ 21 มีเป้าหมายให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะที่เกิดจากการใช้ความรู้สาระหลักไปบูรณาการกับประสบการณ์ 3 ทักษะ เพื่อการดำรงชีวิตคือทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ทักษะชีวิตและอาชีพ ซึ่งสอดคล้องกับการเรียนรู้บูรณาการตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์) จะเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในโลกปัจจุบัน
จากงานวิจัยความต้องการจำเป็นและการจัดลำดับการดำเนินการตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนชลบุรี”สุขบท” ปีการศึกษา 2561 พบว่ามาตรฐานที่ 1 (คุณภาพของผู้เรียน) มีความจำเป็นต้องปรับปรุงเร่งด่วนอยู่ในระดับที่ 1 มีสภาพจริงที่ประเมินมีค่าเฉลี่ย 3.17 แต่สภาพที่ควรจะเป็นเท่ากับ 4.22 ตัวบ่งชี้ที่ 1.1(3)
และ 1.1(2) อยู่ในลำดับที่ 1และ 2 ของการปรับปรุงเร่งด่วน ดังนั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงจัดทำโครงการค่ายการเรียนรู้บูรณาการสะเต็มศึกษาขึ้นเพื่อส่งเสริม ปรับปรุง และพัฒนากระบวนการคิดให้เป็นระบบ และสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศกับนานาชาติ
 
วัตถุประสงค์
    1. เพื่อให้นักเรียน มีทักษะการคิดวิเคราะห์  คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
และแก้ปัญหา
    1. เพื่อให้นักเรียนสร้างชิ้นงานจากการทำโครงงานและสามารถอธิบายหลักการ แนวคิด ขั้นตอนการทำงาน
และปัญหาอุปสรรคของการทำงาน
 
เป้าหมาย
    1. เชิงปริมาณ   
  3.1.1 นักเรียนร้อยละ 70 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมผ่านเกณฑ์การประเมินการคิดวิเคราะห์  คิดอย่างมี
วิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา
  3.1.2 นักเรียนร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีชิ้นงานจากการทำโครงงานสะเต็มศึกษา
    3.2 เชิงคุณภาพ
สามารถอธิบายหลักการ แนวคิด ขั้นตอนการทำงานและปัญหาอุปสรรคของการทำงาน จากการทำชิ้นงานจากโครงงานสะเต็มศึกษาได้ในระดับดี
 
ระยะเวลา 10 มี.ค. 2563 - 11 มี.ค. 2563
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนชลบุรี
ตัวชี้วัด 1. นักเรียนร้อยละ 70 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมผ่านเกณฑ์การประเมินการคิดวิเคราะห์  คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา
2. นักเรียนร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีชิ้นงานจากการทำโครงงานสะเต็มศึกษา
3.นักเรียนสามารถอธิบายหลักการ แนวคิด ขั้นตอนการทำงานและปัญหาอุปสรรคของการทำงาน จากการทำชิ้นงานจากโครงงานสะเต็มศึกษาได้ในระดับดี
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็น และแก้ปัญหา
2. นักเรียนได้พัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ การคิดเชิงวิพากษ์และแก้ปัญหา ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ทักษะชีวิตและการทำงาน
3. นักเรียนสามารถอธิบายหลักการ แนวคิด ขั้นตอนการทำงานและปัญหาอุปสรรคของการทำงาน
จากการสร้างชิ้นงาน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
1. ประชุมวิเคราะห์ปัญหา/วางแผน
2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
ขั้นดำเนินการ 1 .ประชุมรูปแบบการจัดกิจกรรม
2. รับสมัครนักเรียน
3. จัดเตรียมเอกสาร
4. จัดกิจกรรมค่ายบูรณาการ
 การจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา
ขั้นตรวจสอบประเมินผล สรุปผลการจัดกิจกรรมค่ายบูรณาการการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา
ขั้นสรุปและรายงาน นำสรุปผลการจัดกิจกรรมค่ายบูรณาการการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา ไปพัฒนาในปีต่อไป
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ