ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ |
ประเภท |
โรงเรียนนำร่องโครงการตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ |
ปีการศึกษา |
2563 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
|
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
แนวทางการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม นโยบายหนึ่งของรัฐบาล คือ การลดเวลาเรียน ภาควิชาการลง แต่ต้องไม่กระทบเนื้อหาหลักที่นักเรียนควรเรียนรู้ ซึ่งหมายความว่าครูต้องใช้ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ให้นักเรียนได้สาระที่ครบถ้วนอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากนโยบายการลดเวลาเรียนดังกล่าว จึงนำมาสู่การปฏิบัติ โดยกำหนดให้โรงเรียนเรียนภาควิชาการ ถึงเวลาบ่าย 14.30 น. แต่เวลาที่โรงเรียนเลิกยังคงเหมือนเดิมตามกำหนดของแต่ละโรงเรียนซึ่งมักจะเป็นช่วงเวลา 16.00 น. ดังนั้นช่วงระยะเวลาระหว่าง หลังเลิกเรียนจนกว่านักเรียนจะกลับบ้านซึ่งนักเรียนยังคงอยู่ที่โรงเรียน โรงเรียนจะต้องจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ต่าง ๆ ให้นักเรียนปฏิบัติและควรเป็นกิจกรรมที่มีความหลากหลายที่ช่วยเพิ่มพูนทักษะการคิดวิเคราะห์ ความมีน้ำใจต่อกัน การทำงานเป็นทีม และที่สำคัญควรมีกิจกรรมกระตุ้นให้นักเรียนได้ค้นหาศักยภาพและความชอบของตนเอง ซึ่งเชื่อว่านักเรียนทุกคนมีความพิเศษ มีความสามารถในแบบฉบับของตนเอง
จากที่กล่าวข้างต้น โรงเรียนตะคร้อพิทยา รับนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการบริหารจัดการเวลาเรียน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” มาสู่การปฏิบัติในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม ครูผู้สอนมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนได้ปฏิบัติและเรียนรู้ด้วย ตนเองมากขึ้น นักเรียนได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพและมีความสุขในการเรียนรู้อย่างแท้จริง
|
วัตถุประสงค์ |
1. เพื่อขับเคลื่อนการนำหลักสูตรสถานศึกษา ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักการของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
2. เพื่อให้สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ตามความสนใจและถนัดของนักเรียนแต่ละบุคคล
3. เพื่อให้สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการเวลาเรียนและจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ได้อย่างเหมาะสม ทั้งด้านวิชาการและด้านปฏิบัติ นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ตามความสนใจและถนัดของแต่ละบุคคล
4. เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ พัฒนาตนเองตามความสนใจและความถนัดอย่างเต็มตามศักยภาพ และมีความสุขกับการเรียนรู้
|
เป้าหมาย |
1. สถานศึกษาสามารถการบริหารจัดการเวลาเรียน และจัดกิจกรรม“ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้” ได้อย่างเหมาะสม ทั้งด้านวิชาการ ด้านปฏิบัติ ร้อยละ 80
2. นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ พัฒนา ตนเองตามความสนใจและความถนัดอย่างเต็มตามศักยภาพ และมีความสุขกับการเรียนรู้ ร้อยละ 90
|
ระยะเวลา |
1 ส.ค. 2563 - 1 ส.ค. 2563 |
สถานที่ดำเนินการ |
|
ตัวชี้วัด |
1. นักเรียนร้อยละ 75 มีความรู้ ทักษะพื้นฐานในการสร้างนวัตกรรม ในระดับดี ตามเกณฑ์การประเมินของสถานศึกษา
2. นักเรียนร้อยละ 75 มีความสามารถในการสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต และสรุปความรู้ ได้ด้วยตนเอง และอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นทางเทคโนโลยีสารสนเทศ |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
1. สถานศึกษาสามารถการบริหารจัดการเวลาเรียน และจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ได้อย่างเหมาะสม ทั้งด้านวิชาการ ด้านปฏิบัติ นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ตามความสนใจและถนัดของแต่ละบุคคล
2. นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ พัฒนา ตนเองตามความสนใจและความถนัดอย่างเต็มตามศักยภาพ และมีความสุขกับการเรียนรู้
|
สรุปคะแนนประเมิน |
0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
|
ขั้นดำเนินการ |
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
|
งบประมาณ |
|
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|