โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โครงการต่อต้านยาเสพติดของ สพฐ.

โรงเรียน : โนนสูงพิทยาคาร สพม.อุดรธานี

ประเภท : โรงเรียนวิถีพุทธ

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 3 ส.ค. 2563 โดย : นางทิพวัลย์  ไชยวาน จำนวนผู้เข้าชม 18 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการต่อต้านยาเสพติดของ สพฐ.
ประเภท โรงเรียนวิถีพุทธ
ปีการศึกษา 2563
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
     2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
     2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา จากสถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญซึ่งมีผลกระทบและเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ รัฐบาลได้กำหนดให้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ และกำหนดยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดเพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยึดเป็นหลักในการขับเคลื่อนงานยาเสพติดเด็กและเยาวชน เป็นหมายของขบวนการยาเสพติด เนื่องจากเป็นวัยที่เอื้อต่อการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งปัจจัยจากตนเอง
คือเป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ ต้องการค้นหา สร้างตัวตน สร้างการยอมรับ
มีแรงผลักดันทางอารมณ์สูง กล้าเสี่ยง กล้าทำสิ่งท้าทาย นอกจากนี้ นักค้ายาเสพติดต่างมองว่า เยาวชนส่วนใหญ่มีเงิน จึงมีความมั่นใจว่าการค้ายาเสพติดกับเยาวชนนั้น จะทำให้มีลูกค้าอยู่สม่ำเสมอ จากสถิติค้ายาเสพติดพบว่า เด็กและเยาวชนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดเริ่มมีอายุน้อยลง การแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของสิ่งเสพติด จะต้องดำเนินการการสอนหรือฝึก ให้เด็กมีภูมิคุ้มกันทางด้านจิตใจและสามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม   โรงเรียนโนนสูงพิทยาคาร ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ดังกล่าว จึงได้จัด โครงการเยาวชนยุคใหม่ห่างไกลยาเสพติดขึ้น
 
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดให้นักเรียนได้รับรู้รับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด
2. เพื่อสร้างเครือข่ายนักเรียนในการป้องกันและแก้ไขต่อต้านยาเสพติด
3. เพื่อควบคุมการขยายตัวของปัญหายาเสพติด และลดการแพร่ระบาดยาเสพติดในสถานศึกษา
 
เป้าหมาย เชิงปริมาณ
          1. นักเรียนร้อยละ 90 ได้รับรู้รับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด
2. สามารถควบคุมการขยายตัวของปัญหายาเสพติด และลดการแพร่ระบาดยาเสพติดในสถานศึกษา
   ร้อยละ 70
เชิงคุณภาพ 
1. นักเรียนร้อยละ 80 มีจิตสำนึก  มีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติดที่มีผลต่อร่างกาย สุขภาพอนามัย และส่งผลกระทบต่อปัญหาสังคมตลอดจนความมั่นคงของชาติ
 
ระยะเวลา 1 ก.ค. 2563 - 10 มี.ค. 2564
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนโนนสูงพิทยาคาร
ตัวชี้วัด เชิงปริมาณ
          1. นักเรียนร้อยละ 90 ได้รับรู้รับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด
2. สามารถควบคุมการขยายตัวของปัญหายาเสพติด และลดการแพร่ระบาดยาเสพติดในสถานศึกษา
   ร้อยละ 70
เชิงคุณภาพ 
1. นักเรียนร้อยละ 80 มีจิตสำนึก  มีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติดที่มีผลต่อร่างกาย สุขภาพอนามัย และส่งผลกระทบต่อปัญหาสังคมตลอดจนความมั่นคงของชาติ
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียน มีภูมิคุ้มกันยาเสพติดและ ได้รับรู้รับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด
2. โรงเรียนมีเครือข่ายนักเรียนในการป้องกันและแก้ไขต่อต้านยาเสพติด
3. ลดการขยายตัวของปัญหายาเสพติด และลดการแพร่ระบาดยาเสพติด
4. นักเรียนมีจิตสำนึก มีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติดที่มีผลต่อร่างกาย สุขภาพอนามัย และส่งผลกระทบต่อปัญหาสังคมตลอดจนความมั่นคงของชาติ
5. โรงเรียนมีความเข้มแข็งและสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดได้
 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ           6.1 ขั้นเตรียม ( Plan :P ) (P: Participation)
                   1) เขียนโครงการ
                   2) นำเสนอโครงการและขออนุมัติ
                   3)  คำสั่งผู้รับผิดชอบ
                    4)  ดำเนินการตามขั้นตอน
                   5)  ประสานวิทยากรและหัวข้อการให้การอบรม
 
ขั้นดำเนินการ 6.2 ขั้นดำเนินการ ( Do :D ) (R: Responsibility)
                   1)  ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ  มอบหมายงาน  และเสนอคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
2)  ดำเนินการตามกิจกรรมและกำหนดการของกิจกรรม
                   3) ประสานงานกับงานฝ่ายต่างๆ  ดำเนินงานตามกำหนดการ

กิจกรรม /ระยะเวลา/งบประมาณ/ผู้รับผิดชอบกิจกรรม
กิจกรรม ระยะเวลา งบที่ใช้ ผู้รับผิดชอบ
1. แกนนำ To be Number One ตลอดปีการศึกษา - นายคมกริช/น.ส.อนุศรา
2. สัปดาห์ต้านยาเสพติด/รณรงค์ต่อด้านยาเสพติด
(ประกวดจัดป้ายนิเทศ/เดินรณรงค์)
พ.ค.,มิ.ย.  6 500 นายคมกริช/น.ส.อนุศรา
3. แกนนำจุดอับจุดเสี่ยง ตลอดปีการศึกษา - กิจการนักเรียน
4. เสียงตามสาย ตลอดปีการศึกษา - สภานักเรียน
5. รู้เท่าทัน ICT ตลอดปีการศึกษา - กิจการนักเรียน
6. ประกวดไอดอล
  (เก่งและดี To be Number One)
พ.ย.  63 500 นายคมกริช/กิจการนักเรียน
7. ลูกเสือต้านภัยยาเสพติด ตลอดปีการศึกษา 500 นายคมกริช/กิจการนักเรียน
8. ประชุมเครือข่ายผู้ปกครอง นักเรียนกลุ่มเสี่ยงยาเสพติด ตลอดปีการศึกษา 500 นายคมกริช/กิจการนักเรียน
9.  กีฬาต้านยาเสพติด ตลอดปีการศึกษา - นายคมกริช/กิจการนักเรียน
รวม   2,000  
ขั้นตรวจสอบประเมินผล 6.3 ขั้นติดตามประเมินผล ( Check :C ) (St : Standard)
                   1) โดยการสังเกต/การสัมภาษณ์/แบบประเมิน
                   2) ประเมินความพึงพอใจ  ประเมินพฤติกรรมนักเรียน
                   3) สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ
 
ขั้นสรุปและรายงาน           6.4 ขั้นพัฒนาปรับปรุงแก้ไข ( Action :A )
                   1) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะ
                   2) วิเคราะห์  วางแผนพัฒนาปีต่อไป
 
งบประมาณ 8. งบประมาณที่ใช้  จำนวน 2,000  บาท
8.1 รายละเอียดงบประมาณกิจกรรม ( ขอถัวจ่ายทุกรายการ )
กิจกรรมและคำชี้แจง งบประมาณจำแนกตามรายการและกิจกรรม
เงินงบประมาณ
(บาท)

เงินนอกงบประมาณ(บาท)
ตอบแทน ใช้สอย วัสดุ
1. แกนนำ To be Number One - - - - -
 
2. สัปดาห์ต้านยาเสพติด/รณรงค์ต่อด้านยาเสพติด/โรงเรียนปลอดบุหรี่ - - 500 500 -
3. แกนนำจุดอับจุดเสี่ยง - - - - -
4. เสียงตามสาย - - - - -
5. รู้เท่าทัน ICT - - - - -
6. ประกวดไอดอล
(เก่งและดี To be Number One)
- -
 
500 500 -
7. ลูกเสือต้านภัยยาเสพติด   - 500 500 -
8. ประชุมเครือข่ายผู้ปกครอง นักเรียนกลุ่มเสี่ยงยาเสพติด - - 500 500 -
9.  กีฬาต้านยาเสพติด - - - - -
รวม - - 2,000 2,000 -
การบรรลุตัวชี้วัด 9.  การประเมินผล
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีวัดและประเมินผล เครื่องมือวัด
และประเมินผล
1. นักเรียนร้อยละ 90 ได้รับรู้รับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด
2. สามารถควบคุมการขยายตัวของปัญหายาเสพติด และลดการแพร่ระบาดยาเสพติดในสถานศึกษา ร้อยละ 70
3. นักเรียนร้อยละ 80 มีจิตสำนึก  มีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติดที่มีผลต่อร่างกาย สุขภาพอนามัย และส่งผลกระทบต่อปัญหาสังคมตลอดจนความมั่นคงของชาติ
 
-การสังเกต
-ประเมินความพึงพอใจ
 
-แบบสังเกต
-แบบบันทึก
-ประเมินความพึงพอใจ
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0