โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

พัฒนางานเรียนรวม

โรงเรียน : เม็งรายมหาราชวิทยาคม สพม.เชียงราย

ประเภท : โรงเรียนจัดการศึกษาพิเศษเรียนร่วม

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 14 ส.ค. 2563 โดย : กมลพรรณ เขื่อนเพชร จำนวนผู้เข้าชม 28 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม พัฒนางานเรียนรวม
ประเภท โรงเรียนจัดการศึกษาพิเศษเรียนร่วม
ปีการศึกษา 2563
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา หลักการและเหตุผล
. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.2542  และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545  ที่แสดงเจตนารมณ์ในการยกระดับการศึกษาของประชาชนให้สูงขึ้น โดยกำหนดสิทธิและโอกาสของประชาชนในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐต้องจัดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เด็กและเยาวชนพิการทุกประเภทมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษซึ่งสอดคล้องเชื่อมโยงกับพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551  ที่กล่าวถึงสิทธิทางการศึกษาของคนพิการในการได้รับโอกาส และบริการทางการศึกษาในทุกระบบและทุกรูปแบบที่หลากหลายอย่างมีคุณภาพ และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล มาตรา 5  ที่กล่าวถึงสิทธิทางการศึกษาของคนพิการในการได้รับโอกาสและบริการทางการศึกษาในทุกระบบและทุกรูปแบบที่หลากหลายอย่างมีคุณภาพและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตามศักยภาพของแต่ละบุคคลและมาตรา  19  ที่กล่าวว่า  ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีหน้าที่ดำเนินการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการเรียนร่วม การนิเทศ กำกับ ติดตาม เพื่อให้คนพิการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพตามที่กฎหมายกำหนด  ดังนั้น เพื่อเป็นการประกันสิทธิและโอกาสทางการศึกษา การประเมินคุณภาพ และโอกาสทางการศึกษาตลอดจนการประกันคุณภาพของการให้บริการทางการศึกษาให้เด็กเยาวชนพิการ จำเป็นต้องจัดการศึกษาในรูปแบบของ  “การจัดการเรียนร่วม”  เพื่อให้เด็กและเยาวชนพิการสามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างทั่วถึง  มีการจัดการที่เหมาะสมในโรงเรียนและห้องเรียนเพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์ที่ยึดหลักปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) โดยเน้นให้มีการนำบริการสนับสนุนต่างๆ มาจัดกระบวนการเรียนการสอน สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยกำหนดทางเลือกให้หลายๆ ทาง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรวมกันได้โดยไม่แบ่งแยกและเลือกปฏิบัติในโรงเรียน ในการจัดการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนพิการได้อย่างมีประสิทธิภาพมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาศักยภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะที่จำเป็นในด้านการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนพิการเรียนร่วมเพื่อสามารถปฏิบัติงานให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด เป็นการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาพิเศษให้มีคุณภาพด้านการบริหารจัดการเรียนร่วมตามมาตรฐานที่กำหนดอีกทางหนึ่งด้วย
          โรงเรียนเม็งรายมหาราชวิทยาคมเป็นโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม และเพื่อให้การดำเนินงานตามกรอบแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และได้มีแนวทางการใช้นวัตกรรมการบริหารจัดการรูปแบบ SMART model พัฒนาโรงเรียนให้เกิดความเข้มแข็งตามมาตรฐานการเรียนร่วม พัฒนาการบริหารจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ (Standard) เสริมสร้างให้นักเรียนเรียนรวมมีจิตสาธารณะ มีความซื่อสัตย์ สุจริต (Moral) มีรูปแบบการพัฒนาระบบบริการ ส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของนักเรียนตามศักยภาพของแต่ละบุคคล (Ability) สนับสนุน และช่วยเหลือบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ(Student Support Service : SSS) ที่รวมแหล่งเรียนรู้ สื่อ อุปกรณ์ ให้มีคุณภาพเหมาะสมในการจัดการเรียนการสอน (Reliability) ตัวอย่างการทำงานที่มีประสิทธิภาพและเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ให้แก่โรงเรียนใกล้เคียงทั้งด้านการบริหารจัดการหลักสูตร การเรียนการสอนและการวัดผลเด็กพิการ และพัฒนาผู้เรียน ครู และบุคลากร ให้มีการสร้างและใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผลและประหยัด (Technology) จึงได้ดำเนินงานจัดการศึกษาตามแนวทางที่โรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรวมให้กับเด็กและเยาวชนพิการได้อย่างมีประสิทธิภาพมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาศักยภาพของครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีคุณภาพสามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานอีกทางหนึ่งต่อไป
   
 
วัตถุประสงค์ 1 เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
2 เพื่อส่งเสริมให้ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล   
 
เป้าหมาย          1 ด้านผลผลิต (Outputs)
          1.1. ครูร้อยละ 80 มีการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรของนักเรียนเรียนร่วมเป็นไป
                    ตามเกณฑ์  ได้ระดับดีขึ้นไป
          1.2. ครูร้อยละ 80 มีการกำหนดเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านความรู้ทักษะกระบวนการ
                    สมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์   ได้ระดับดีขึ้นไป
          1.3. ครูร้อยละ 80 มีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลและใช้ข้อมูลในการวางแผนการจัดการ
          เรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนซึ่งเป็นนักเรียนเรียนร่วม ได้ระดับดีขึ้นไป
          
1.4. ครูร้อยละ 80 ออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและ
     พัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนเรียนร่วม ได้ระดับดีขึ้นไป
          1.5. ครูร้อยละ 75 ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมผนวกกับบริบทและภูมิปัญญาของ
     ท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนเรียนร่วม ได้ระดับดีขึ้นไป
          
1.6. ครูร้อยละ 80 มีการวัดผลและประเมินผลที่มุ้งเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนเรียน
     ร่วมด้วยวิธีการที่หลากหลาย
         
1.7. ครูร้อยละ 80 ให้คำแนะนำคำปรึกษาและแก้ไขปัญหาให้แก่นักเรียนเรียนร่วมทั้งด้านการ
     เรียนและคุณภาพชีวิตด้วยความเสมอภาค  ได้ระดับดีขึ้นไป
         1.8. ครูร้อยละ 80 จัดการเรียนการสอนตามวิชาที่ได้รับมอบหมายเต็มเวลาเต็มความสามารถ
     และพัฒนานักเรียนเรียนร่วม  ได้ระดับดีขึ้นไป
        1.9. นักเรียนเรียนร่วมร้อยละ 100  มีแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP)
       1.10 ร้อยละ 100 ของนักเรียนพิการเรียนร่วมบรรลุผลการเรียนรู้ตามแผนจัดการเรียนรู้รายบุคคล  (IIP)       
       1.11. ร้อยละ 80 ของนักเรียนพิการเรียนร่วมได้รับการสอนเสริมอย่างน้อย  20  ชม./ภาคเรียน
        1.12. นักเรียนเรียนร่วมร้อยละ 80 ได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นรายบุคคล
         2 ด้านผลลัพธ์ (Outcomes)
         2.1. นักเรียนพิการเรียนร่วมได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพตามความแตกต่างของบุคคล
                     ตลอดจนการสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทาง
                     การศึกษาอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง
         2.2. ครูและบุคลากรมีองค์ความรู้และมีการนำเสนอผลงานเกี่ยวกับการศึกษาพิเศษสามารถจัด
     กระบวนการเรียนการสอนให้กับนักเรียนพิการเรียนร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          2.3. ครูมีองค์ความรู้ สามารถปรับเกณฑ์การวัดผล ประเมินผลและตัดสินผลการเรียนของ
    นักเรียนเรียนร่วมได้ผ่านเกณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ
          2.4. โรงเรียนจัดการเรียนรวมได้ตามมาตรฐานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของหน่วยงาน
                             ต้นสังกัดและหน่วยงานอื่น
 
ระยะเวลา 1 ก.ค. 2563 - 1 เม.ย. 2564
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนเม็งรายมหาราชวิทยาคม
ตัวชี้วัด    มาตรฐานที่  1  คุณภาพผู้เรียน
             ข้อที่ 1ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
            เป้าหมายโรงเรียน
                1.1.ผู้เรียนร้อยละ60 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาระดับดีขึ้นไป(ระดับดี 70-79%)
             ข้อที่ 2คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
               2.1.ผู้เรียนร้อยละ80 ยอมรับที่จะอยู่รวมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย
   มาตรฐานที่  2  กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา
             ข้อที่ 2.1ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุก
                       กลุ่มเป้าหมาย
   มาตรฐานที่  3 .กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   
             ข้อที่ 3.1ครูผู้สอนร้อยละ90 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไป
                        ประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตระดับดีขึ้นไป(ระดับดี 70-79%)
             ข้อที่ 3.2ครูผู้สอนร้อยละ90 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
                        ระดับดีขึ้นไป
             ข้อที่ 3.3ครูผู้สอนร้อยละ90 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการ
                        จัดการเรียนรู้ ระดับดีขึ้นไป
 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ด้านผลผลิต (Output)
     1. ร้อยละ60 ของการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์  ได้ระดับดีขึ้นไป
2.ร้อยละของครูมีการกำหนดเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านความรู้ทักษะกระบวนการสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์   ได้ระดับดีขึ้นไป
3. ร้อยละ60 ของครูมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลและใช้ข้อมูลในการวางแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนได้ระดับดีขึ้นไป
4. ร้อยละ50 ของครูออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสติปัญญา  ได้ระดับดีขึ้นไป
5. ร้อยละ60 ของครูใช้สื่อและเทคโนโลยีที่
เหมาะสมผนวกกับการบริบทและภูมิปัญญาของท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้  ได้ระดับดีขึ้นไป
6. ร้อยละของครูมีการวัดผลและประเมินผลที่มุ่งเน้นพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย
7. ร้อยละ60 ของครูให้คำแนะนำคำปรึกษาและแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้เรียนทั้งด้านการเรียนและคุณภาพชีวิตด้วยความเสมอภาค  ได้ระดับดีขึ้นไป
8.ร้อยละ60 ของครูจัดการเรียนการสอนตามวิชาที่ได้รับมอบหมายเต็มเวลาเต็มความสามารถ  ได้ระดับดีขึ้นไป
9.ร้อยละ70 ของนักเรียนเรียนร่วมมีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP)ให้ผู้เรียน
10.ร้อยละ60 ของนักเรียนพิการเรียนร่วมบรรลุผลการเรียนรู้ตามแผนจัดการเรียนรู้รายบุคคล(IIP)
11.ร้อยละ60 ของนักเรียนพิการเรียนร่วมได้รับบริการทางการศึกษาเต็มตามศักยภาพตามความแตกต่างของบุคคลตลอดจนการสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง
12.ร้อยละ60 ของครูและบุคลากรมีองค์ความรู้และมีการนำเสนอผลงานเกี่ยวกับการศึกษาพิเศษสามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนให้กับนักเรียนพิการเรียนร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
13.ร้อยละ60 ของครูมีองค์ความรู้ สามารถปรับเกณฑ์การวัดผล ประเมินผลและการตัดสินผลการเรียนของนักเรียนเรียนรวมได้ผ่านเกณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ 
ด้านผลลัพธ์ (Outcomes)
1.  ครูมีความเข้าใจจัดการสอนเด็กเรียนร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          2.  นักเรียนเรียนร่วมได้รับพัฒนาเต็มตามศักยภาพตามความแตกต่างของบุคคล
3. นักเรียนเรียนร่วมอ่านออก  เขียนได้และคิดคำนวณเป็น
          4. โรงเรียนมีระบบบริการ สนับสนุนและช่วยเหลือบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (Student Support Service : SSS) ที่มีประสิทธิภาพ
            5. โรงเรียนที่ดำเนินการจัดการศึกษาเรียนรวมได้ตามมาตรฐานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานอื่น
 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ 3361300480159-2366.pdf
ขั้นเตรียมการ 1. กระบวนการวางแผน/วางแนวทาง (P)
1.1. ประกาศรับสมัครนักเรียน
2. สำรวจรายชื่อนักเรียนเรียนร่วมทั้งนักเรียนเก่าและนักเรียนสมัครเข้าเรียนใหม่
3. สร้างความเข้าใจให้ครู นักเรียนผู้ปกครอง
 
ขั้นดำเนินการ กระบวนการนำแผนงานลงสู่การปฏิบัติ (D)
1.  พัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนนักเรียนพิการเรียนร่วมให้มีประสิทธิภาพ
2. คัดกรองนักเรียน
3. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร งานเรียนร่วม/คณะกรรมการคัดกรองและจัดทำ IEP
4. ประชุมเชิงปฏิบัติการ ทำ  IEP 
5. สำรวจข้อมูลครูที่ประสงค์ขอรับสื่อ  บริการ  ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
6. ฝึกอาชีพการทำขนมเค้ก,คุกกี้ ให้นักเรียนเรียนรวม
7. กิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือเฉพาะกลุ่ม
8.จัดหาสื่อ  บริการ  ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
9. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการสอนเฉพาะบุคคล
10. จัดกิจกรรมสอนเสริมในคาบลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
 
ขั้นตรวจสอบประเมินผล กระบวนการประเมินความก้าวหน้าตามแผนงาน/แนวทาง เพื่อหาโอกาสปรับปรุงและสร้างนวัตกรรม (C)
11. ปรับสภาพแวดล้อมห้องเรียนร่วม
12. จัดกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
13. ส่งเสริมนักเรียนแข่งขันทักษะฯ
14. จัดกิจกรรมเม็งรายวิชาการ

15. จัดแสดงผลงานผลการดำเนินงานในห้องเสริมวิชาการ
16. สร้างขวัญกำลังใจให้บุคลากร
 
ขั้นสรุปและรายงาน กระบวนการปรับแผน ปรับปรุงแนวทางโดยอาศัยผลการการประเมินเพื่อให้เกิดการบูรณาการ (A)
17. นิเทศ   กำกับ  ติดตามการดำเนินงาน
18.วิเคราห์ผลสำเร็จของโครงการรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรฐานเรียนร่วม
19.นำเสนอผลการดำเนินการตามมาตรฐานต่อผู้บริหารโรงเรียน
งบประมาณ จำนวน   20,300 บาท
การบรรลุตัวชี้วัด ด้านผลผลิต (Output)
     1. ร้อยละ60 ของการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์  ได้ระดับดีขึ้นไป
2.ร้อยละของครูมีการกำหนดเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านความรู้ทักษะกระบวนการสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์   ได้ระดับดีขึ้นไป
3. ร้อยละ60 ของครูมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลและใช้ข้อมูลในการวางแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนได้ระดับดีขึ้นไป
4. ร้อยละ50 ของครูออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสติปัญญา  ได้ระดับดีขึ้นไป
5. ร้อยละ60 ของครูใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมผนวกกับการบริบทและภูมิปัญญาของท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้  ได้ระดับดีขึ้นไป
6. ร้อยละของครูมีการวัดผลและประเมินผลที่มุ่งเน้นพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย
7. ร้อยละ60 ของครูให้คำแนะนำคำปรึกษาและแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้เรียนทั้งด้านการเรียนและคุณภาพชีวิตด้วยความเสมอภาค  ได้ระดับดีขึ้นไป
8.ร้อยละ60 ของครูจัดการเรียนการสอนตามวิชาที่ได้รับมอบหมายเต็มเวลาเต็มความสามารถ  ได้ระดับดีขึ้นไป
9.ร้อยละ70 ของนักเรียนเรียนร่วมมีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP)ให้ผู้เรียน
10.ร้อยละ60 ของนักเรียนพิการเรียนร่วมบรรลุผลการเรียนรู้ตามแผนจัดการเรียนรู้รายบุคคล(IIP)
11.ร้อยละ60 ของนักเรียนพิการเรียนร่วมได้รับบริการทางการศึกษาเต็มตามศักยภาพตามความแตกต่างของบุคคลตลอดจนการสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง
12.ร้อยละ60 ของครูและบุคลากรมีองค์ความรู้และมีการนำเสนอผลงานเกี่ยวกับการศึกษาพิเศษสามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนให้กับนักเรียนพิการเรียนร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
13.ร้อยละ60 ของครูมีองค์ความรู้ สามารถปรับเกณฑ์การวัดผล ประเมินผลและการตัดสินผลการเรียนของนักเรียนเรียนรวมได้ผ่านเกณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ 
ด้านผลลัพธ์ (Outcomes)
1.  ครูมีความเข้าใจจัดการสอนเด็กเรียนร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          2.  นักเรียนเรียนร่วมได้รับพัฒนาเต็มตามศักยภาพตามความแตกต่างของบุคคล
3. นักเรียนเรียนร่วมอ่านออก  เขียนได้และคิดคำนวณเป็น
          4. โรงเรียนมีระบบบริการ สนับสนุนและช่วยเหลือบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (Student Support Service : SSS) ที่มีประสิทธิภาพ
            5. โรงเรียนที่ดำเนินการจัดการศึกษาเรียนรวมได้ตามมาตรฐานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานอื่น
 
ความพึงพอใจ 1. นักเรียนได้รับการพัฒนาอย่างหลากหลาย เช่นการจัดกิจกรรมบูรณาการ โครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้รายบุคคล กิจกรรมพี่สอนน้อง แบบตัวต่อตัว ตลอดจนกิจกรรมพัฒนานักเรียนของแต่ละระดับชั้น 
2. ครูมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีการปรับตัวชี้วัด และการวัดประเมินผล ทำให้ผู้เรียนเข้าถึงสิทธิทางการศึกษา และมีการสอนเสริมตามคูปองการศึกษา
3. ครูมีเจตคติที่ดต่อการจัดการศึกษาพิเศาเรียนรวม
4. นักเรียนเรียนมีความสุขในการอยู่ร่วมกับนักเรียนปกติซึ่งเป็นสังคมเสมือนจริง
ปัญหาและอุปสรรค 1. ควรมีการนิเทศเพื่อปรับการจัดกิจกรรมการสอนให้ได้ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
2. โรงเรียนควรมีอัตราครูการศึกษาพิเศษและนักจิตวิทยาประจำศูนย์พัฒนาการจัดการศึกษาเรียนรวมของโรงเรียน
ข้อเสนอแนะ ควรจัดให้มีห้องเรียนคู่ขนาบุคคลออทิสติก และมีครูการศึกษาพิเศษคอยดูแลช่วยเหลือและประสานงานกับครูผู้สอน
รูปภาพประกอบ




ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0