ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน |
ประเภท |
โรงเรียนในฝัน (Lab School) |
ปีการศึกษา |
2562 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน 2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา 2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย 2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ 2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ 2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้ 3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก 3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน 3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ |
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโรงเรียนที่ใช้เพื่อการเรียนรู้โดยมีพืชเป็นปัจจัยหลัก ชีวภาพอื่นเป็นปัจจัยรอง กายภาพเป็นปัจจัยเสริม และวัสดุอุปกรณ์เป็นปัจจัยประกอบ งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน คือ การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ทรัพยากรชีวภาพ และกายภาพ โดยมีการสัมผัส การเรียนรู้ การสร้างและการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม การเสริมสร้างปัญญาและภูมิปัญญา จากความหมายที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนสามารถนำมาบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้กับ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยการนำ สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนบูรณาการสู่การเรียนการสอน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมี พระราชดำริเกี่ยวกับกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชไว้ว่า “การสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษันธุกรรมพืชนั้น ควรใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงาม ความน่าสนใจ และเกิดความปิติที่จะทำการศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป การใช้วิธีการสอนการอบรมที่ให้เกิดความรู้สึกกลัวว่า หากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสีย เกิดอันตรายแก่ตนเอง จะทำให้เด็กเกิดความเครียดซึ่งจะเป็นผลเสียแก่ประเทศในระยะยาว” นอกจากนี้ยังมีพระราชดำริบางประการเกี่ยวการการศึกษา ไว้ว่า “..นอกจากพืชพรรณแล้ว สิ่งที่มี
ในธรรมชาติ สิ่งที่หาได้ง่าย อาจเป็นอุปกรณ์สอนได้หลายอย่าง แม้แต่วิชาศิลปะก็ให้มาวาดรูปต้นไม้ ก็ไม่ต้องหาของอื่นมาเป็นแบบ หรือเรื่องภาษาไทย การเรียงความ ก็อาจทำให้เรื่องของการเขียนรายงาน ทำให้หัดเขียนหนังสือ หรืออาจแต่งคำประพันธ์ ในเรื่องพืชเหล่านี้..” จากการวิเคราะห์ความสอดคล้อง งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสัมผัสกับพรรณไม้ ซึ่งจะก่อให้เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยใช้พืชพรรณ ปัจจัยทางชีวภาพและกายภาพเป็นสื่อ ผู้เรียนมีการสัมผัสปัจจัยต่าง ๆด้วยตนเอง ก่อให้เกิดภูมิปัญญา ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและทรัพยากรในที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นการสนองพระราชดำริ ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ซึ่งโรงเรียนเป็นสมาชิกอีกด้วย จึงจัดทำโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนธรรมบวรวิทยา จังหวัดสกลนคร
|
วัตถุประสงค์ |
เชิงปริมาณ
1. ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียนมีส่วนร่วมปฏิบัติ คิดเป็นร้อยละ 100
เชิงคุณภาพ
1. ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและทรัพยากร
2. ให้นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา ตระหนักถึงคุณค่าของพืชพรรณและทรัพยากรท้องถิ่น
3. เพื่อให้โรงเรียนเป็นแหล่งรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้ ข้อมูลพรรณไม้ และเป็นแหล่งรวบรวมฐานข้อมูลฐานทรัพยากรท้องถิ่น
4. เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ในการศึกษาค้นคว้าโดยบูรณาการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนกับการจัดการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ
5. ปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่ดีงามโดยใช้กิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นสื่อ มุ่งหวังให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่ง เรียนอย่างมีความสุข
ุ6. เพื่อสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
|
เป้าหมาย |
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 710 คน
|
ระยะเวลา |
15 ส.ค. 2563 - 15 ส.ค. 2563 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนธรรมบวรวิทยา จังหวัดสกลนคร |
ตัวชี้วัด |
1. ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1.1 เชิงปริมาณ ปริมาณชิ้นงาน ผลงานนักเรียนที่เกิดจากการจัดกิจกรรม
1. สำรวจและจัดทำทะเบียนพรรณไม้ที่มีอยู่ในโรงเรียนเพิ่มอย่างน้อย 30 ชนิด
2. ศึกษาพรรณไม้ตามแบบศึกษาพรรณไม้ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน (ก.7- 003) ครบทุกชนิด ตามทะเบียนพรรณไม้ (ก.7- 005)
. 3. จัดหา รวบรวมพรรณไม้ในท้องถิ่นเข้ามาปลูกเพิ่มในพื้นที่โรงเรียนอย่างน้อย 10 ชนิด
4. จัดทำป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์ ร้อยละ 100
5. จัดเก็บตัวอย่างพืชแบบแห้งอย่างน้อย 20 ชนิด
6. ดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กำหนดทั้งด้านที่ 1 การบริหารจัดการ ด้านที่ 2 การดำเนินงาน 5 องค์ประกอบ ด้านที่ 3 ผลการดำเนินงาน ด้านที่ 4 ความถูกต้องทางวิชาการ พืชศึกษา (เสาวรส) 3 สาระการเรียนรู้ ประกอบด้วย ธรรมชาติแห่งชีวิต สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว ประโยชน์แท้แก่มหาชน และงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ครบถ้วน สมบูรณ์
7. ครูและนักเรียนเข้าร่วมโครงการคิดเป็นร้อยละ 100
1.2 เชิงคุณภาพ
1. สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชแก่บุคลากรในโรงเรียน
2. โรงเรียน นักเรียนมีแหล่งเรียนรู้ใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆมากขึ้น
3. โรงเรียนมีการจัดระบบการศึกษาข้อมูลทางพันธุกรรมพืชและมีข้อมูลฐานทรัพยากรท้องถิ่น
อย่างถูกหลักวิชาการ เพื่อให้ครู นักเรียน และผู้สนใจศึกษา
4. นักเรียนมีองค์ความรู้ด้านพฤกษศาสตร์และมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่ดีงาม
5. ดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กำหนดทั้งด้านที่ 1 การบริหารจัดการ
ด้านที่ 2 การดำเนินงาน 5 องค์ประกอบ ด้านที่ 3 ผลการดำเนินงาน ด้านที่ 4 ความถูกต้องทางวิชาการ
พืชศึกษา (เสาวรส) 3 สาระการเรียนรู้ ประกอบด้วย ธรรมชาติแห่งชีวิต สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว ประโยชน์แท้แก่มหาชน และงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ครบถ้วน สมบูรณ์
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
1. นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษาและชุมชนตระหนัก มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
2. รวบรวมตัวอย่างพรรณไม้และมีการจัดเก็บเพื่อการศึกษาได้อย่างเป็นระบบถูกต้องตามหลักวิชาการ
3. เกิดความร่วมมือภายในโรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนมากขึ้น
4. สำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลฐานทรัพยากรท้องถิ่น และจัดทำทะเบียนข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ
5. มีการจัดทำทะเบียนพรรณไม้ในโรงเรียนอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการเชื่อมต่อกันด้วยระบบข้อมูล
6. มีการเก็บตัวอย่างพืช มีการศึกษาค้นคว้าเกิดผู้เชี่ยวชาญและเกิดผลงานทางวิชาการ
7. มีการทำป้ายชื่อพรรณไม้ในโรงเรียนเผยแพร่สู่ชุมชนได้
8. เป็นแหล่งความรู้ให้กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ บูรณาการในการเรียนการสอนและให้นักเรียนได้ศึกษา
9. ผู้ปฏิบัติมีการใช้สื่อธรรมชาติที่มีอยู่รอบตัวในการเรียนรู้ รู้จักตั้งคำถาม หาคำตอบ ช่างสังเกต และค้นคว้า
10. มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจแก่นักเรียนและชุมชนผู้ปฏิบัติมีจิตใจอ่อนโยน เห็นคุณและรู้ค่า ทำให้เกิดความรักในพืชพรรณ ไม่คิดทำลาย มีแนวคิดที่จะอนุรักษ์สืบไป
11. ส่งเสริมให้ผู้เรียนฝึกทักษะชีวิต มีกระบวนการทำงาน มีคุณธรรม จริยธรรมอันดีงาม
|
สรุปคะแนนประเมิน |
0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
- ประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับการดำเนินงาน
- แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
- กำหนดแนวทางการดำเนินงาน
|
ขั้นดำเนินการ |
- ประชาสัมพันธ์
- อบรมให้ความรู้
- ดำเนินการตามโครงการ
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
- ประเมินผลการดำเนินงาน
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
- ประชุมเพื่อประมวลผลจากการประเมิน
สรุปปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ
ในการดำเนินงาน
|
งบประมาณ |
ตลอดปีการศึกษาใช้งบประมาณ จำนวน 5,000 บาท |
การบรรลุตัวชี้วัด |
1. ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและทรัพยากร
2. นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา ตระหนักถึงคุณค่าของพืชพรรณและทรัพยากรท้องถิ่น
3. โรงเรียนเป็นแหล่งรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้ ข้อมูลพรรณไม้ และเป็นแหล่งรวบรวมฐานข้อมูลฐานทรัพยากรท้องถิ่น
4. ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ในการศึกษาค้นคว้าโดยบูรณาการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนกับการจัดการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ
5. ปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่ดีงามโดยใช้กิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นสื่อ มุ่งหวังให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่ง เรียนอย่างมีความสุข
ุ6. สนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน |
ความพึงพอใจ |
พึงพอใจมากที่สุด |
ปัญหาและอุปสรรค |
ได้จัดหา และรวบรวมพรรณไม้ในท้องถิ่นเข้ามาปลูกเพิ่มในพื้นที่โรงเรียนมากกว่า 10 ชนิด แต่บางต้นตายไปต้องหามาปลูกทดแทน
|
ข้อเสนอแนะ |
- |
รูปภาพประกอบ |
|