โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

ทวิศึกษา

โรงเรียน : ปะทิววิทยา สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร

ประเภท : โรงเรียนโครงการทวิศึกษา

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 15 ส.ค. 2563 โดย : จิตราภรณ์ บุญมา จำนวนผู้เข้าชม 39 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม ทวิศึกษา
ประเภท โรงเรียนโครงการทวิศึกษา
ปีการศึกษา 2563
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ (ฉบับที่ ๒) มาตรา ๒๒ ระบุว่าการจัดการศึกษาจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพและมาตรา ๒๔ ระบุว่าการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา รวมทั้งจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกให้คิดเป็น ทำเป็น
           สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีนโยบายให้โรงเรียนที่มีความพร้อมส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษด้านต่างๆ ให้ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ
           โรงเรียนปะทิววิทยาเป็นโรงเรียนประจำอำเภอปะทิว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 11 สหวิทยาเขตชุมพร ๑ โดยเข้าร่วมโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล  ทั้งนี้ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนปะทิววิทยา ได้บริหารระบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อ นวัตกรรมการศึกษาที่มีคุณภาพ ผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษา จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ในระดับดีเยี่ยม เป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองนักเรียนชุมชนตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยการความร่วมมือของคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา ทั้งนี้ในสภาพปัจจุบันโรงเรียนปะทิววิทยา มุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถอันเป็นสากล มีทักษะและสมรรถนะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ สามารถพัฒนาตนเองตามความถนัดได้เต็มตามศักยภาพ มีการเรียนการสอนแบบบูรณาการศาสตร์ความรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยการเรียนแบบ Active Learning และ Profession based Learning ใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างนวัตกรรมสะอาดที่สามารถตอบแทนสังคมได้ในที่สุด ทั้งนี้มุ่งเน้นการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่สะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย ก่อให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ที่สำหรับนักเรียน ทั้งนี้โรงเรียนมีความจำเป็นต้องปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาให้นักเรียนได้เรียนภาษาที่สองและวิชาคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างโครงงาน SMART P.W. Project ทุกคน ทุกภาคเรียน จนจบการศึกษา ภายใต้ความร่วมมือกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
          ด้านการจัดการเรียนรู้ทวิศึกษา เป็นแนวคิดในการสร้างนัตกรรมในการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ ที่เป็นการเพิ่มโอการด้านการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในการศึกษาด้านวิชาชีพควบคู่กันไป และเป็นการสร้างโอกาสให้ผู้เรียนมืทางเลือกในการศึกษาต่อหรือทำงานหลังเรียนจบการศึกษา ซึ่งโรงเรียนปะทิววิทยา มีความพร้อมในการจัดการเรียนรู้นี้ ภายใต้ความร่วมมือกับ วิทยาลัยสารพัดช่างชุมพร และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์
          ทั้งนี้โรงเรียนปะทิววิทยา ดำเนินการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีการศึกษา 2563 จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะตามความถนัดของผู้เรียนนอกเวลาเรียน  และ การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ด้วย SMART P.W. Project และพัฒนาหลักสูตรทวิศึกษา (S(a)VoN Model) ขึ้น

 
วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะตามความถนัดของผู้เรียนนอกเวลาเรียน
เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ และทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้วย SMART P.W. Project
เพื่อให้นักเรียนมีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพเฉพาะที่นักเรียนประสงค์เรียนรู้ด้วยหลักสูตรหารจัดการเรียนรู้ทวิศึกษา

 
เป้าหมาย เชิงปริมาณ
 1.นักเรียนทุกคน ได้รับการพัฒนาทักษะตามความถนัดของผู้เรียนนอกเวลาเรียนและได้รับการพัฒนาความรู้ คุณลักษณะ และทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้วยการเรียนตามหลักสูตร SMART P.W. Project
2. นักเรียนที่เลือกเรียนหลักสูตรทวิศึกษามีความรู้ความสามารถในวิชาชีพเฉพาะตามที่นักเรียน
เลือกเรียน
          เชิงคุณภาพ
                    1.นักเรียนร้อยละ  100 สร้างผลงานจากการเข้าร่วมกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เกษตร ช่างอุตสาหกรรม การสื่อสารทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ กีฬานันทนาการ ตามจินตนาการ
                     2.นักเรียนร้อยละ 100 สร้างผลงานจากการเรียนรู้ตามหลักสูตร SMART P.W. Project โดยผ่านการประเมินความรู้ คุณลักษณะ และทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ในระดับดีขึ้นไป               

                     3.ผู้เรียนหลักสูตรทวิศึกษาร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด          
 
ระยะเวลา 18 พ.ค. 2563 - 30 เม.ย. 2564
สถานที่ดำเนินการ - โรงเรียนปะทิววิทยา - .แหล่งเรียนรู้ในเขตอำเภอปะทิว - สจล.ชุมพร - วิทยาลัยสารพัดช่างชุมพร
ตัวชี้วัด มาตรฐานที่ ๑
                                                            ข้อ ๑.๑.๑ มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ
                                                            ข้อ ๑.๑.๒ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา

                                                            ข้อ ๑.๑.๓ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม
                                                            ข้อ ๑.๑.๔ มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
                                                            ข้อ ๑.๑.๕ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา

                                                            ข้อ ๑.๑.๖ ความรู้  ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ
                                                            ข้อ ๑.๒.๑ การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด

                                                            ข้อ ๑.๒.๒ ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย
                                                            ข้อ ๑.๒.๓ การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย
                                                            ข้อ ๑.๒.๔  สุขภาวะทางร่างกายและจิตสังคม

 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1 นักเรียนทุกคน ได้รับการพัฒนาทักษะตามความถนัดของผู้เรียนนอกเวลาเรียนและได้รับการพัฒนาความรู้ คุณลักษณะ และทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้วยการเรียนตามหลักสูตร SMART P.W. Project
2 นักเรียนที่เลือกเรียนหลักสูตรทวิศึกษามีความรู้ความสามารถในวิชาชีพเฉพาะตามที่นักเรียน


 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0