โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาเรียนร่วม

โรงเรียน : สวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี สพม.นนทบุรี

ประเภท : โรงเรียนจัดการศึกษาพิเศษเรียนร่วม

ผลการประเมิน : 4.53

เผยแพร่เมื่อ : 21 ส.ค. 2563 โดย : นางสาวพัชยา  สิทธิวงศ์ จำนวนผู้เข้าชม 71 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม กิจกรรมพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาเรียนร่วม
ประเภท โรงเรียนจัดการศึกษาพิเศษเรียนร่วม
ปีการศึกษา 2562
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน


ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา  พ.ศ.  2553  และนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองได้กำหนดเป้าหมายและ ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนไทยให้สมบูรณ์เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐาน  ได้กำหนดให้ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  แก้ไขเพิ่มเติม  (ฉบับที่  2) พ.ศ. 2545 หมวดที่ 4 ว่าด้วยแนวการจัดการศึกษา มาตรา 24 (2) การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาและ มาตรา  23  กำหนดให้การจัดการศึกษาต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้  คุณธรรม  กระบวนการเรียนรู้  และบูรณาการตามความเหมาะสมแต่ละระดับการศึกษาทั้ง  8  สาระการเรียนรู้  ตลอดทั้งมีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน รวมทั้งระบบประกันคุณภาพการศึกษา   กำหนดให้ผู้เรียนมีทักษะในการทำงานสามารถทำงานร่วมกับ  ผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต  เพื่อสนองนโยบายดังกล่าว  สถานศึกษาจึงจัดให้มี  “โครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน”  ขึ้น
 
วัตถุประสงค์

1. เพื่อประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรของผู้เรียนให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

เป้าหมาย 1. ด้านปริมาณ
1.1 ร้อยละ 100ของกลุ่มสาระฯมีกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เชิงบูรณาการแบบสหวิทยาการ
2. ด้านคุณภาพ
2.1 กลุ่มสาระฯมีกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เชิงบูรณาการแบบสหวิทยาการ
ระยะเวลา 16 มี.ค. 2562 - 1 มี.ค. 2563
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี
ตัวชี้วัด ประเด็นกลยุทธ์ 5) การจัดการศึกษาเพื่อการบรรลุเป้าหมายโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) เพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
          ตัวชี้วัด
          (1) ร้อยละของผู้เรียนที่มีพฤติกรรมแสดงออกถึงการดำเนินชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
          (2) ร้อยละของสถานศึกษาที่มีการจัดสภาพแวดล้อมที่สอดคล้องกับมาตรฐานสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Environmental Education SustainableDevelopment: EESD)
          (3) ทุกสถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายโลก เพื่อการพัฒนา อย่างยั่งยืน (Global Goals for Sustainable Development)


 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ผู้เรียนมีผลการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรของผู้เรียนให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
2. ผู้เรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
สรุปคะแนนประเมิน 4.53
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ ขั้นเตรียมการ
1. ขออนุมัติโครงการ
2. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
3. ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
 
ขั้นดำเนินการ ขั้นดำเนินการ
1.  จัดหา และผลิตนวัตกรรมทางการศึกษา สื่อและอุปกรณ์นักเรียนพิเศษเรียนร่วม
2. ดำเนินงานตามกิจกรรมส่งเสริมและดูแลนักเรียนตามระเบียบปฏิบัติที่กำหนด
 
ขั้นตรวจสอบประเมินผล ขั้นตรวจสอบการประเมิน
  1. จัดทำแฟ้มสรุปเศรษฐกิจพอเพียง
ขั้นสรุปและรายงาน ขั้นสรุปและรายงาน
1. สรุปการจัดกิจกรรม 
2. ประเมินผลกิจกรรม
3. สรุปปัญหาและอุปสรรค
งบประมาณ งบอุดหนุน 8,000  บาท
การบรรลุตัวชี้วัด นักเรียนเรียนร่วมทุกคนได้รับการดูแลอย่างดีและทั่วถึง
ความพึงพอใจ ในระดับ 4.53 ระดับดีมาก
ปัญหาและอุปสรรค 1. ไม่มีสถานที่ฝึกทักาะและพัมนาทักษะที่บกพร่องอย่างเป็นสัดส่วน
2. สถานที่ให้คำปรึกาา แก้ไขปัญหาให้แก่นักเรียนพิเศษเรียนร่วมและผู้ปกครองที่มาขอคำปรึกษา คับแคบแออัด
3. ไม่สามารถจัดสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อบริการให้นักเรียนพิเศษเรียนร่วมได้ทำกิจกรรมเพื่อพัมนาคุณภาพชีวิตตามข้อตกลงความร่วมมือ MOU ได้
4. ผู้ปกครองไม่เปิดเผยข้อมูลของนักเรียนที่มีความบกพร่อง
ข้อเสนอแนะ เพื่อให้นักเรียนพิเศษเรียนร่วมทุกคนได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงด้านทักษะการดำรงชีวิตและไม่สร้างปัญหาให้กับสังคมและบุคคลรอบข้าง รู้สึกปลอดภัยและเกิดความสงบสุข ควรจัดกิจกรรมเสริมทักษะซึ่งต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก และขอสถานที่ชั้นล่างเพื่อให้สะดวกกับนักเรียนเรียนรวมมาขอใช้บริการเชิงปฏิบัติการ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0