โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

โครงการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และสมรรถนะสำคัญสู่มาตรฐานสากล

โรงเรียน : เบญจมราชานุสรณ์ สพม.นนทบุรี

ประเภท : โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 29 ส.ค. 2563 โดย : อุไร เพิ่มพูล จำนวนผู้เข้าชม 99 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และสมรรถนะสำคัญสู่มาตรฐานสากล
ประเภท โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ปีการศึกษา 2562
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน


ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา จากยุทธศาสตร์ สพฐ. ที่ 2/ 2.2-2.3 และ 4/ 4.1-4.2  รวมทั้งมาตรฐานที่ 1 ด้านคุณภาพผู้เรียน ที่มุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนให้มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารภาษาต่างประเทศ และการใช้เทคโนโลยีสารสรเทศและการสื่อสาร (Digital Technology) เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ตามสมรรถนะ ความต้องการ และความถนัดได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และสอดคล้องกับกลยุทธ์โรงเรียนที่ 3 ที่ว่า พัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และสมรรถนะสำคัญสู่มาตรฐานสากล กลุ่มงานโรงเรียนมาตรฐานสากล เห็นความสำคัญในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 นักเรียนต้องมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ มีความสามารถในการสื่อสารและการคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจได้อย่างถูกต้องบนพื้นฐานของข้อมูลและเหตุผล การใช้ทักษะชีวิตที่ถูกต้อง สามารถค้นหาความรู้ใหม่ ๆ ได้ด้วยเทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด ด้วยตนเองด้วยเหตุนี้ จึงเป็นหน้าที่ครูและโรงเรียนที่ต้องจัดประสบการณ์แก่ผู้เรียนอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรมเรื่องการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีศักยภาพ คิดประดิษฐ์และสร้างสรรค์ผลงาน สามารถแข่งขันทัดเทียมกับนานาประเทศ เป็นเยาวชนรุ่นใหม่ที่คุณภาพ อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก และในการจัดกิจกรรมโรงเรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเองอย่างครบวงจร ตั้งแต่ศึกษา วิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติตามแผน ประเมิน และปรับปรุงการทำงาน โดยเน้นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
สืบเนื่องจากผลการประเมินการจัดโครงการพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล ในปีงบประมาณ 2562 ระยะที่ 1 พบว่า ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะชีวิต มีทักษะการคิด และการแก้ปัญหาพร้อมที่จะก้าวสู่ประชาคมอาเซียน และก้าวสู่ความเป็นสากลอย่างภาคภูมิใจ จึงจัดทำโครงการพัฒนาการเรียนรู้สู่มาตรฐานสากลซึ่งมีกิจกรรมในโครงการที่หลากหลายเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างยั่งยืน
กลุ่มงานโรงเรียนมาตรฐานสากลตระหนักในความสำคัญดังกล่าว จึงดำเนินการปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล  ในปีงบประมาณ 2562 ระยะที่ 2 โดยจัดประชุมบุคลากรในกลุ่มสาระการเรียนรู้ /งานฯ เพื่อหามาตรการร่วมกันในการดำเนินการจัดกิจกรรมให้มีความเหมาะสม และใช้งบประมาณอย่างประหยัดและคุ้มค่าเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพเพิ่มมากขึ้น และขออนุมัติผ่านที่ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
 
วัตถุประสงค์      2.1 เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรงเรียนมาตรฐานสากลและ จัดการเรียนรู้สาระเพิ่มเติมวิชา is ให้สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
     2.2 เพื่อส่งเสริม/สนับสนุน ผู้เรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจในวัตถุประสงค์ เป้าหมายของการแสวงหาความรู้ด้วย  ตนเอง เข้าร่วมการแข่งขันเวทีระดับต่างๆ และสามารถนำความรู้เผยแพร่ต่อสังคม 
 
เป้าหมาย 3.1 เชิงปริมาณ
            1) ร้อยละ 100 ของครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรงเรียนมาตรฐานสากล และจัดการเรียนรู้สาระเพิ่มเติมวิชา is ให้สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
            2) ร้อยละ 100 ของผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในวัตถุประสงค์ เป้าหมายของการแสวงหาความรู้ด้วย ตนเองเข้าร่วมการแข่งขันเวทีระดับต่างๆ และสามารถนำความรู้เผยแพร่ต่อสังคม         
      3.2 เชิงคุณภาพ
            1) ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรงเรียนมาตรฐานสากลและจัดการเรียนรู้
                สาระเพิ่มเติมวิชา is ให้สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
            2) ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในวัตถุประสงค์ เป้าหมายของการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  เข้าร่วมการแข่งขันเวทีระดับต่างๆ และสามารถนำความรู้เผยแพร่ต่อสังคมเพิ่มขึ้น
 
ระยะเวลา 1 มี.ค. 2562 - 30 ก.ย. 2562
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์
ตัวชี้วัด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 2.1 ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรงเรียนมาตรฐานสากลและจัดการเรียนรู้สาระเพิ่มเติมวิชา is ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.2 ผู้เรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจในวัตถุประสงค์ เป้าหมายของการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีผลงานจาก การเข้าร่วมการแข่งขันเวทีระดับต่างๆ และสามารถนำความรู้เผยแพร่ต่อสังคมได้อย่างมีคุณภาพ    
 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน กลุ่มงานโรงเรียนมาตรฐานสากลเพื่อวางแผนในการพัฒนา/ปรับปรุงการดำเนินงานของกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล ในปีงบประมาณ 2562จากข้อมูลสรุปผลการประเมินการดำเนินงานของโครงการในปีงบประมาณ 2561
2. เสนอโครงการของกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล ในปีงบประมาณ 256
2 เพื่อขออนุมัติฯ  และแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานกิจกรรมฯในปีงบประมาณ 2561 ที่ได้รับการอนุมัติตามแผนปฏิบัติการฯ โดยติดต่อประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ขั้นดำเนินการ 3. ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล ตามแผนปฏิบัติการฯ โดยมีรายละเอียดดังนี้  
   - จัดการอบรม/ศึกษาดูงานแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนมาตรฐานสากล
   - จัดนิทรรศการการแข่งขันเวทีศักยภาพภายในสถานศึกษา
ขั้นตรวจสอบประเมินผล 4. ติดตามและประเมินผลเพื่อสรุปและรายงานผลการดำเนินงานกิจกรรมฯ เสนอต่อฝ่ายบริหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินผลความพึงพอใจและแบบรายงาน สพฐ.
ขั้นสรุปและรายงาน 5. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ฯโดยนำข้อมูลต่างๆ จากการสรุปและรายงานผลการดำเนินงานกิจกรรมมาวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาการจัดกิจกรรมในปีงบประมาณต่อไป
งบประมาณ - จัดนิทรรศการการแข่งขันเวทีศักยภาพภายในสถานศึกษา                           5,000               บาท    
- จัดการอบรม/ศึกษาดูงานแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา               5,000         บาท
   ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนมาตรฐานสากล
 
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค 4.1 ด้านบุคลากร ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรงเรียนมาตรฐานสากล
4.2 ด้านงบประมาณ งบประมาณไม่เพียงพอในการเดินทางเข้าร่วมประชุม สัมมนาหรือร่วมการนำเสนองานเวทีศักยภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล
4.3 ด้านวัสดุ อุปกรณ์     -
4.4 ด้านการบริหารจัดการ   -
 
ข้อเสนอแนะ จัดอบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงาน ให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับโรงเรียนมาตรฐานสากล
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0