โรงเรียน : นวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี สพม.นนทบุรี
ประเภท : โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)
ผลการประเมิน : 0.00
เผยแพร่เมื่อ : 5 ก.ย. 2563 โดย : จำนวนผู้เข้าชม 173 คน
ชื่อโครงการ/กิจกรรม | พัฒนาห้องเรียนพิเศษ ส่งเสริมความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและส่งเสริมความเป็นเลิศด้านภาษาอังกฤษ ภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่น | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเภท | โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปีการศึกษา | 2563 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้ 3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก 3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน 3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้รับผิดชอบ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความเป็นมา | โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถ และมีความพร้อมตามศักยภาพให้เป็นผู้ที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สามารถใช้ทักษะปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี รวมถึงมีความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ นักเรียนสามารถสื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นพื้นฐาน ภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่นในชีวิตประจำวันและสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รักการเรียนรู้ มีทักษะการสรุปงานในรูปโครงงานวิทยาศาสตร์และงานวิจัย จนมีความเชี่ยวชาญสามารถเข้าร่วมแข่งขันทักษะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี ภาษาอังกฤษ ภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่น โครงการที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมความสามารถของนักเรียนได้ตามความสามารถพิเศษของนักเรียน โดยใช้แหล่งการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ตรงให้แก่นักเรียน โรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาห้องเรียนพิเศษ ส่งเสริมความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและภาษาอังกฤษ (IP) รวมถึงห้องเรียนพิเศษที่เน้นการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (IEP) ภาษาจีน (ICP) และภาษาญี่ปุ่น (IJP) โดยใช้ครูเจ้าของภาษาใน การจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีศักยภาพเป็นไปตามวิสัยทัศน์และนโยบายของโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งคุณภาพมาตรฐานสากลพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลโลกและเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศของผู้เรียนตามศักยภาพและอัจฉริยภาพ เพื่อการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอุดมศึกษาและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วัตถุประสงค์ | วัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ วิทยาสาสตร์ และภาษาอังกฤษ (IP) อย่างเต็มศักยภาพตามปรัชญาและจุดมุ่งหมายการจัดการศึกษาของชาติ 2) เพื่อพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านภาษาอังกฤษ (IEP) ภาษาจีน (ICP) และภาษาญี่ปุ่น (IJP) อย่างเต็มศักยภาพตามปรัชญาและจุดมุ่งหมายการจัดการศึกษาของชาติ 3) เพื่อให้นักเรียนที่เข้าศึกษาในโปรแกรมห้องเรียนพิเศษ มีความรู้ทุกด้านอย่างเต็มศักยภาพเชิงบูรณาการ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เป้าหมาย | เป้าหมาย 3.1 เป้าหมายด้านปริมาณ/ผลผลิต (outputs) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาตามหลักสูตรห้องเรียน Intensive English Program (IEP) ปีการศึกษา 2563 จำนวนทั้งสิ้น 378 คน รายละเอียดดังนี้ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาปีที่ 1/9 จำนวน 33 คน มัธยมศึกษาปีที่ 1/10 จำนวน 34 คน มัธยมศึกษาปีที่ 2/9 จำนวน 39 คน มัธยมศึกษาปีที่ 2/10 จำนวน 37 คน มัธยมศึกษาปีที่ 3/9 จำนวน 35 คน มัธยมศึกษาปีที่ 3/10 จำนวน 36 คน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มัธยมศึกษาปีที่ 4/11 จำนวน 31 คน มัธยมศึกษาปีที่ 4/12 จำนวน 37 คน มัธยมศึกษาปีที่ 5/11 จำนวน 32 คน มัธยมศึกษาปีที่ 5/12 จำนวน 25 คน มัธยมศึกษาปีที่ 6/10 จำนวน 39 คน รวมทั้งหมด จำนวน 378 คน ผู้เรียนได้รับการพัฒนาตามหลักสูตรห้องเรียน Intensive Program (IP) ปีการศึกษา 2563 จำนวนทั้งสิ้น 381 คน รายละเอียดดังนี้ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาปีที่ 1/11 จำนวน 33 คน มัธยมศึกษาปีที่ 1/12 จำนวน 34 คน มัธยมศึกษาปีที่ 2/11 จำนวน 34 คน มัธยมศึกษาปีที่ 2/12 จำนวน 36 คน มัธยมศึกษาปีที่ 3/11 จำนวน 33 คน มัธยมศึกษาปีที่ 3/12 จำนวน 32 คน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มัธยมศึกษาปีที่ 4/13 จำนวน 33 คน มัธยมศึกษาปีที่ 4/14 จำนวน 35 คน มัธยมศึกษาปีที่ 5/13 จำนวน 34 คน มัธยมศึกษาปีที่ 5/14 จำนวน 35 คน มัธยมศึกษาปีที่ 6/11 จำนวน 36 คน มัธยมศึกษาปีที่ 6/12 จำนวน 34 คน รวมทั้งหมด จำนวน 409 คน ผู้เรียนได้รับการพัฒนาตามหลักสูตรห้องเรียน Intensive Chinese Program (ICP) และ Intensive Japanese Program (IJP) ปีการศึกษา 2563 จำนวนทั้งสิ้น 23 คน รายละเอียดดังนี้ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มัธยมศึกษาปีที่ 4/10 จำนวน 28 คน มัธยมศึกษาปีที่ 5/10 จำนวน 24 คน รวมทั้งหมด จำนวน 52 คน รวมนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษ IEP IP ICP และ IJP ปีงบประมาณ 2563 ทั้งสิ้น 839 คน 3.2 เป้าหมายด้านคุณภาพ/ผลลัพธ์(Outcomes) 1) นักเรียนที่ศึกษาโปรแกรมห้องเรียนพิเศษ IEP IP ICP และ IJP สติปัญญา ทักษะทั้งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และสื่อสารภาษาต่างประเทศได้เป็นอย่างดี 2) นักเรียนที่ศึกษาโปรแกรมห้องเรียนพิเศษ IEP IP ICP และ IJP มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และภาษาต่างประเทศไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ระยะเวลา | 1 พ.ค. 2563 - 30 เม.ย. 2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สถานที่ดำเนินการ | โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตัวชี้วัด | ตัวชี้วัด 1) มีห้องเรียนพิเศษ IEP IP ICP IJP จำนวน 25 ห้อง ได้รับการจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ 2) นักเรียนทุกคนสามารถใช้วัสดุ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกเพียงพอกับนักเรียนร้อยละ 100 3) นักเรียนทุกคนสามารถใช้วัสดุ ครุภัณฑ์สารเคมีเพียงพอกับนักเรียนร้อยละ 100 4) นักเรียนสามารถใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ได้ถูกต้องและเพียงพอและมีความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน 5) นักเรียนมีแหล่งสืบค้นข้อมูล (หนังสือ) เสริมทักษะด้านต่างๆ 6) นักเรียนมีคุณภาพในด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ มีครูผู้สอนที่มีเชี่ยวเฉพาะด้านมีคุณภาพมาตรฐานสากล 7) นักเรียนมีคุณภาพในการเรียนสามารถสื่อสารโดยใช้ภาษาต่างๆได้ ตามมาตรฐานสากล 8) นักเรียนมีคุณภาพในด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษผ่านเกณฑ์การทดสอบทักษะกระบวนการคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ ร้อยละ90 9) นักเรียนมีความสามารถตามเกณฑ์มาตรฐานสากลได้รับการสอนเสริมในวิชาคณิตศาสตร์/วิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษคิดเป็น 90% 10) นักเรียนมีวิสัยทัศน์กว้างไกลได้รับการส่งเสริมพัฒนาความเป็นเลิศด้านวิชาคณิตศาสตร์/วิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษคิดเป็น 90% 11) นักเรียนมีศักยภาพด้านวิชาการสูงร้อยละ 70 เข้าแข่งขันทักษะกระบวนการคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน 12) นักเรียนได้ฝึกประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านหุ่นยนต์มีศักยภาพและสามารถนำความรู้ไปเข้าร่วมแข่งขันทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนได้เต็มศักยภาพ 13) นักเรียนห้องเรียนพิเศษเข้าค่ายบูรณาการคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สามารถใช้ทักษะกระบวนการทั้งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และภาษาสื่อสารโดยใช้ภาษาได้ดีถูกต้อง 14) นักเรียนมัธยมเข้าค่ายปฏิบัติการคณิต วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ร้อยละ 98 อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปีการศึกษาสามารถใช้ทักษะกระบวนการทั้งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และภาษาสื่อสารโดยใช้ภาษาได้ดีถูกต้อง 15) นักเรียนได้พัฒนาทักษะทางด้านภาษาและการอยู่ร่วมกันในสังคมจาการเข้าค่าย สามารถสื่อสารโดยใช้ภาษาได้ดีถูกต้อง 16) นักเรียนห้องเรียนพิเศษได้ฝึกทักษะการคิด การจัดการและเผยแพร่ผลงานทางด้านวิชาการมีศักยภาพ ส่งเสริมในความสามารถตามความถนัด 17) นักเรียนห้องเรียนพิเศษศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนำไปสู่การประกอบอาชีพมีศักยภาพ ส่งเสริมในความสามารถตามความถนัด 18) นักเรียนศึกษาดูงานต่างประเทศอย่างน้อย 1 ครั้งต่อภาคเรียนมีวิสัยทัศน์กว้างไกล 19) ครูผู้สอนห้องเรียนพิเศษศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนวิสัยทัศกว้างไกลและเป็นผู้จัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผลที่คาดว่าจะได้รับ | ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1) นักเรียนในโครงการได้พัฒนาตนเองเต็มศักยภาพตามปรัชญาและจุดมุ่งหมายการจัดการศึกษาของชาติ 2) โรงเรียนมีห้องเรียนพิเศษมีระบบการบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อผู้เรียน 3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและภาษาต่างประเทศ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สรุปคะแนนประเมิน | 0.00 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ไฟล์ประกอบ |
แผนปฎิบัติการ ปฏิทินกิจกรรม-2563-แก้ไข-4-ส.ค.63.pdf |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขั้นเตรียมการ | วิธีดำเนินการ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขั้นดำเนินการ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขั้นตรวจสอบประเมินผล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขั้นสรุปและรายงาน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
งบประมาณ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การบรรลุตัวชี้วัด | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความพึงพอใจ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปัญหาและอุปสรรค | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อเสนอแนะ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รูปภาพประกอบ |