ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
สถานศึกษาปลอดสิ่งเสพติดและอบายมุข |
ประเภท |
โรงเรียนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา(โรงเรียนสุจริต) |
ปีการศึกษา |
2562 |
มาตรฐาน |
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
|
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
ปัญหาสิ่งเสพติดและอบายมุขเป็นปัญหาสำคัญ ซึ่งมีผลกระทบและเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ รัฐบาลได้กำหนดให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งเสพติดและอบายมุขเป็นวาระแห่งชาติ และกำหนดยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะสิ่งเสพติดและอบายมุข เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยึดเป็นหลักในการขับเคลื่อนงานยาเสพติดและได้มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบในการวางแผนการสร้างภูมิคุ้มกันและสร้างระบบป้องกัน เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาสิ่งเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษา
เนื่องจากเด็กและเยาวชนเป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ ต้องการการยอมรับ มีแรงผลักดันทางอารมณ์สูง กล้าเสี่ยง ปัญหาจากสิ่งเสพติดและอบายมุขก็นำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น ปัญหาอาชญากรรม การล่วงละเมิดทางเพศ และโรคเอดส์ เป็นต้น จากสถิติค้ายาเสพติดพบว่า เด็กและเยาวชนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดและอบายมุขเริ่มมีอายุน้อยลง ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้วิธีป้องกันสิ่งเสพติดและอบายมุขในเด็กและเยาวชน เพื่อจะได้สามารถร่วมมือกันปกป้องเด็กและเยาวชน จากปัญหาสิ่งเสพติดและอบายมุขต่าง ๆ ทางศูนย์อำนวยการประสานงานป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติดภาคเยาวชน โรงเรียนโรงเรียนรัตนาธิเบศร์ งานสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข และงานโรงเรียนปลอดบุหรี่ จึงได้ร่วมมือกันจัดกิจกรรม “สิ่งเสพติดและอบายมุขในสถานศึกษา” ขึ้น เพื่อดำเนินกิจกรรมกับกลุ่มเยาวชน ส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายนักเรียนในการดูแลเพื่อนเยาวชน เพิ่มพูนทักษะในการดำรงชีวิต ให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในสังคม และมุ่งสร้างโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้และตระหนักถึงโทษของสิ่งเสพติดและอบายมุข
|
วัตถุประสงค์ |
1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาตนเอง ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา และ มีภูมิคุ้มที่ดี ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดและอบายมุข
2. เพี่อสร้างจิตสำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบ และบทบาทในฐานะที่เป็นเครือข่ายนักเรียนแกนนำโดยใช้หลักแนวคิด การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพได้
3. เพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนให้เครือข่ายเยาวชนแกนนำมีคุณลักษณะการเป็นผู้นำ รู้จักการเสียสละเพื่อส่วนรวมและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
4. เพื่อให้นักเรียนสามารถแสดงความรู้ ความสามารถ อย่างเต็มศักยภาพและเกิดความภาคภูมิใจในการมีจิตสาธารณะต่อสังคมเกี่ยวกับการต่อต้านยาเสพติด
5. เพื่อให้เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และเข้ารับการอบรมได้เรียนรู้ทักษะชีวิต ดี เก่ง มีความสุข กล้าแสดงออก อย่างสร้างสรรค์ และมีสังคมในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และสังคม หลีกเลี่ยงจากอบายมุขและสิ่งเสพติด
6. เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากปัญหายาเสพติดและให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
7. เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้สถานศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งเสพติดและอบายมุข
|
เป้าหมาย |
1. ด้านคุณภาพ 1.1 นักเรียน ได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งเสพติดและอบายมุข
1.2 นักเรียนมีประสบการณ์ตรงจากกิจกรรมอบรมยาเสพติดและโรคเอดส์
1.3 นักเรียนสร้างภูมิคุ้มกันปัญหาอันอาจจะเกิดขึ้นกับตนเองและผู้คนรอบข้าง
1.4 นักเรียนมีเครือข่ายแกนนำที่ถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่น
1.5 เครือข่ายศูนย์อำนวยการประสานงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ภาคเยาวชนระดับโรงเรียนเกิดความเข้มแข็ง
2. ด้านปริมาณ 2.1 นักเรียนร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในกิจกรรมและเกิดความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม
2.2 จำนวนนักเรียนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดและอบายมุขต่าง ๆ ลดลงร้อยละ 10 ทุกปี
|
ระยะเวลา |
27 พ.ค. 2562 - 28 ก.พ. 2563 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนรัตนาธิเบศร์ |
ตัวชี้วัด |
นักเรียนร้อยละ 80 ของโรงเรียนรัตนาธิเบศร์ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขและ สิ่งเสพติดต่าง ๆ
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
1. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาตนเอง ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา และ มีภูมิคุ้มที่ดี ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดและอบายมุข
2. นักเรียนมีจิตสำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบ และบทบาทในฐานะที่เป็นเครือข่ายนักเรียนแกนนำโดยใช้หลักแนวคิด การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพได้
3. เครือข่ายเยาวชนแกนนำมีคุณลักษณะการเป็นผู้นำ รู้จักการเสียสละเพื่อส่วนรวมและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
4. นักเรียนสามารถแสดงความรู้ ความสามารถ อย่างเต็มศักยภาพและเกิดความภาคภูมิใจในการมีจิตสาธารณะต่อสังคมเกี่ยวกับการต่อต้านยาเสพติด
5.นักเรียน/เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และเข้ารับการอบรมได้เรียนรู้ทักษะชีวิต ดี เก่ง มีความสุข กล้าแสดงออก อย่างสร้างสรรค์ และมีสังคมในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และสังคม หลีกเลี่ยงจากอบายมุขและสิ่งเสพติด
6. นักเรียนตระหนักถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากปัญหายาเสพติดและให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
7. เกิดความเข้มแข็งให้สถานศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งเสพติดและอบายมุข
|
สรุปคะแนนประเมิน |
0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
|
ขั้นดำเนินการ |
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
|
งบประมาณ |
งบประมาณ
1. เงินอุดหนุน 26,591 บาท
2. เงินรายได้สถานศึกษา - บาท
3. เงินอื่น ๆ - บาท
รวมทั้งสิ้น 26,591 บาท
|
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|