ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนสุข |
ประเภท |
โรงเรียนในฝัน (Lab School) |
ปีการศึกษา |
2563 |
มาตรฐาน |
2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน 2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา 2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย 2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ 2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ 2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
|
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
โรงเรียนแสนสุข เป็นสถานศึกษาที่น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการในบริหารงานโดยแบ่งการบริหารงานโรงเรียนออกเป็น 4 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหารงานวิชาการ ฝ่ายบริหารงานกิจการนักเรียน ฝ่ายส่งเสริมการจัดการศึกษา และฝ่ายบริหารงานบุคคล การเงิน และสินทรัพย์ ทั้งนี้ ได้มีการสนับสนุน ส่งเสริมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียน ได้ใช้เป็นหลักการดำเนินการพื้นฐานในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตน ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียงมาใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีการจัดกิจกรรมและสร้างแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน พัฒนาบุคคลากรให้ตระหนักและเห็นคุณค่าของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำสู่การปฏิบัติงานอย่างชัดเจนและยั่งยืน
ดังนั้น โรงเรียนจึงจัดทำโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนแสนสุขขึ้น เพื่อสนองนโยบายและยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนของสถานศึกษา สานต่องานขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเสริมสร้างความเข้มแข็ง มั่นคงและยั่งยืนให้กับนักเรียน ตลอดจนชุมชนและประเทศชาติต่อไป
|
วัตถุประสงค์ |
1 เพื่อกำหนดและขับเคลื่อนนโยบายของสถานศึกษา โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
2 เพื่อพัฒนาข้าราชการครู บุคลากรและนักเรียนให้มีความรู้ เข้าใจ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เสริมสร้างอุปนิสัยพอเพียงและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
3 เพื่อส่งเสริมข้าราชการครู บุคลากรและนักเรียนให้มีทักษะงานอาชีพ มีกระบวนการคิดและกระบวนการทำงานร่วมกัน
4 ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสารกิจกรรมต่างๆที่ดำเนินในโรงเรียน ให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
|
เป้าหมาย |
เชิงปริมาณ
1 ครูและบุคลกรทางการศึกษา ร้อยละ 80 สามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
2 ครูและบุคลกรทางการศึกษา และนักเรียนร้อยละ 80 ในโรงเรียนให้มีความรู้ เข้าใจและปฏิบัติตนตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3 ครูและบุคลกรทางการศึกษา และนักเรียนร้อยละ 80 มีทักษะงานอาชีพ กระบวนการคิดและกระบวนการทำงานร่วมกันตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4 ครูและบุคลกรทางการศึกษา และนักเรียนร้อยละ 80 สามารถประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข่าวสารและกิจกรรมต่างๆที่ดำเนินในโรงเรียน แก่ผู้ปกครอง และชุมชน
เชิงคุณภาพ
1 ครูและบุคลกรทางการศึกษา และนักเรียนน้อมนำการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้จนเกิดเป็นอุปนิสัย
|
ระยะเวลา |
31 มี.ค. 2563 - 1 เม.ย. 2563 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนแสนสุข |
ตัวชี้วัด |
เชิงคุณภาพ
1 ครูและบุคลกรทางการศึกษา และนักเรียนน้อมนำการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้จนเกิดเป็นอุปนิสัย |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
1 ครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนโรงเรียนแสนสุขได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2 ครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนโรงเรียนแสนสุข มีความรู้ เข้าใจ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เสริมสร้างอุปนิสัยพอเพียงและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
3 ครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนโรงเรียนแสนสุขมีทักษะงานอาชีพ มีกระบวนการคิดและกระบวนการทำงานร่วมกันได้
4 ครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนมีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสารกิจกรรมต่างๆที่ดำเนินในโรงเรียน ให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
|
สรุปคะแนนประเมิน |
0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
|
ขั้นดำเนินการ |
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
|
งบประมาณ |
|
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|