ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
สถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข |
ประเภท |
โรงเรียนในฝัน (Lab School) |
ปีการศึกษา |
2560 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
|
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
กระทรวงศึกษาธิการได้เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านเฉลิมพระเกียรติปลอดยาเสพติด ซึ่งเป็นโครงการที่สำนักงาน ป.ป.ส. สำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการเรื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ โดยมีคำขวัญว่า “รักในหลวง ห่วงลูกหลาน ร่วมกันต้านยาเสพติด” หลังจากนั้นจึงได้ทำโครงการ “โรงเรียนสีขาว ครู ตำรวจ ทหาร ร่วมกันต้านยาเสพติด” โดยใช้แนวคิดและหลักการของ 4 ประสาน 2 ค้ำ ซึ่ง 4 ประสานได้แก่ ผู้บริหาร สถานศึกษา ผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครองและผู้แทนนักเรียน ในส่วน 2 ค้ำ คือ ตำรวจ และทหาร ทั้งนี้เพื่อช่วยให้โรงเรียนมีมาตรการป้องปรามติดตามผู้จำหน่ายและผู้เสพ การดำเนินการข่าวและมาตรการความปลอดภัย เป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับคณะกรรมการโรงเรียนสีขาวในการต่อสู้กับปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาในสถานการณ์ปัจจุบันสถานศึกษากำลังเผชิญปัญหาหลายอย่างอันเนื่องมาจากผลการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ปัญหาหนึ่งซึ่งเป็นปัญหาสำคัญ คือ ปัญหายาเสพติดเข้ามาเกี่ยวข้องกับนักเรียนและมีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการจัดกิจกรรมการเรียนการการสอนรวมทั้งการปลูกฝั่งค่านิยมที่ดีงาม
ดังนั้นโรงเรียนแสนสุข จึงจัดทำโครงการโรงเรียนสีขาวเป็นงานสำคัญและเร่งด่วน โดยมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในด้านยาเสพติด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้สถานศึกษาปลอดจากสิ่งเสพติด สื่อลามกอนาจาร การพนัน และการทะเลาะวิวาทเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนเติบโตเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศ
|
วัตถุประสงค์ |
1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโทษของสิ่งเสพติดและอบายมุข
2. เพื่อปลูกจิตสำนึกในการหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดและอบายมุขตลอดจนสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้อื่น
3. เพื่อสร้างความร่วมมือกับชุมชนให้เป็นชุมชนเข็มแข็งปลอดภัยจากสิ่งเสพติดและอบายมุข
|
เป้าหมาย |
เชิงปริมาณ
1. นักเรียนร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของสิ่งเสพติดและอบายมุข
2. นักเรียนร้อยละ 80 มีการหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติดและอบายมุข
เชิงคุณภาพ
1. โรงเรียนและชุมชนมีความพึงพอใจ และให้ความร่วมมือในการรณรงค์
|
ระยะเวลา |
1 เม.ย. 2563 - 31 มี.ค. 2564 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนแสนสุข |
ตัวชี้วัด |
เชิงคุณภาพ
1. โรงเรียนและชุมชนมีความพึงพอใจ และให้ความร่วมมือในการรณรงค์
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
1. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโทษของสิ่งเสพติดและอบายมุข
2. นักเรียนมีจิตสำนึกในการหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดและอบายมุขตลอดจนสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้อื่น
3. โรงเรียนสร้างความร่วมมือกับชุมชนให้เป็นชุมชนเข็มแข็งปลอดภัยจากสิ่งเสพติดและอบายมุข
|
สรุปคะแนนประเมิน |
0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
|
ขั้นดำเนินการ |
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
|
งบประมาณ |
|
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|