โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

ธนาคารโรงเรียนแสนสุข

โรงเรียน : แสนสุข สพม.ชลบุรี ระยอง

ประเภท : โรงเรียนในฝัน (Lab School)

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 27 ธ.ค. 2563 โดย : Siwinee Phromboot จำนวนผู้เข้าชม 51 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม ธนาคารโรงเรียนแสนสุข
ประเภท โรงเรียนในฝัน (Lab School)
ปีการศึกษา 2560
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน


ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา

   ธนาคารเป็นสถาบันการเงินแห่งหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเราเพราะธนาคารเป็นสถานที่รับฝาก – ถอนเงิน การออมทรัพย์โดยการฝากเงินไว้กับธนาคารเป็นการสร้างนิสัยในการประหยัดอดออม

   ธนาคารโรงเรียน เป็นธนาคารจำลอง ที่ดำเนินการโดยนักเรียนในโรงเรียนมีครู-อาจารย์ และพนักงานธนาคารออมสินเป็นที่ปรึกษา มีนักเรียนเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน โดยนักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติงานในธนาคารโรงเรียน เป็นนักเรียนที่มีความประพฤติดี มีความรับผิดชอบ มีความละเอียดรอบคอบ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ซึ่งเจ้าหน้าที่ของธนาคารโรงเรียนประกอบด้วยนักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติงาน ทำหน้าที่ผู้จัดการ พนักงานการเงิน พนักงานบัญชี พนักงานติดต่อ และพนักงานลงรายการเพื่อให้นักเรียนมีเงินเก็บไว้ใช้จ่ายในยามจำเป็นสิ่งที่ธนาคารโรงเรียนมุ่งหวังก็คือให้เด็กรู้จักการทำงานที่ต้องมีความซื่อสัตย์และมีความสุจริตเพราะว่าการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเงินนั้น ต้องมีความซื่อสัตย์ต้องมีความสุจริตเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นรากฐานนำไปสู่สังคมที่ดีคนก็จะมีระเบียบของชีวิต มีสังคมที่ไม่ต้องเสี่ยงกับความที่มีการกระทำที่ไม่ถูกต้องเกิดขึ้นมากนัก ธนาคารโรงเรียนจะเน้นเฉพาะเรื่องการฝากเงินกับการถอนเงิน นักเรียนจะมีความคุ้นเคยที่จะรับฝากเงิน ถอนเงิน ทำบัญชีคือชีวิตประจำวัน นอกเหนือจากการรู้จักการออม นักเรียนยังรู้จักฝึกการทำงาน และทำงานร่วมกับผู้อื่น คือเรื่องสำคัญในสังคมไทยการให้บริการนั้นเป็นเรื่องซึ่งการแข่งขันการมีชีวิตอยู่รอดในอนาคต

   ธนาคารโรงเรียนจึงเป็นเป้าหมายคือการที่ให้นักเรียนฝึกงานในภาคปฏิบัติกับระบบการเงินจริง ได้มีการออมด้วยตัวเองให้เกิดความรู้สึกโดยการออมทรัพย์อย่างเป็นระบบ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ครูและนักเรียนมีส่วนร่วมในการรู้จักประหยัด อดออม และสามารถดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง

2. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ด้านธนาคาร สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

3. เพื่อให้นักเรียน มีความรับผิดชอบ และเสียสละเพื่อส่วนรวม

เป้าหมาย

เชิงปริมาณ
1.  ครูและนักเรียนร้อยละ 80 มีบัญชีเงินฝากของธนาคารโรงเรียนและสามารถดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง

2.  ครูและนักเรียนร้อยละ 80 มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ด้านธนาคาร สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

3.  ครูและนักเรียนร้อยละ 80 มีความรับผิดชอบและเสียสละเพื่อส่วนรวม

เชิงคุณภาพ

1.  ครูและนักเรียนมีความพึงพอใจในงานธนาคารโรงเรียน

ระยะเวลา 1 เม.ย. 2563 - 31 มี.ค. 2564
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนแสนสุข
ตัวชี้วัด

เชิงคุณภาพ

1.  ครูและนักเรียนมีความพึงพอใจในงานธนาคารโรงเรียน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ครูและนักเรียนมีส่วนร่วมในการรู้จักประหยัด อดออม และสามารถดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง

2. นักเรียนมีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ด้านธนาคาร สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

3. นักเรียนมีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ด้านธนาคารโรงเรียน

สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0