ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
ธนาคารขยะรีไซเคิล โรงเรียนแสนสุข |
ประเภท |
โรงเรียนในฝัน (Lab School) |
ปีการศึกษา |
2560 |
มาตรฐาน |
3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก 3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน 3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ |
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
ปัจจุบัน ปัญหาการจัดการขยะ เป็นปัญหาที่นับวันแต่จะเพิ่มความยุ่งยาก ให้กับผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ในทุกองค์กรและทุกชุมชน โรงเรียนแสนสุขเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ต้องประสบปัญหาเกี่ยวกับการจัดการขยะ ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ทำให้ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ในการขนย้าย และยุ่งยากมากในการหาสถานที่กำจัด
การจัดการขยะอย่างเป็นระบบ เพื่อนำขยะที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกครั้งหนึ่ง กลับมาใช้ประโยชน์ ( Recycle ) จึงเป็นหนทางหนึ่ง ที่จะช่วยลดจำนวนขยะ และลดภาระความสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ในการจัดการขยะลงได้
“ธนาคารขยะรีไซเคิล โรงเรียนแสนสุข” คือแนวทางหนึ่ง ที่จะทำให้ เกิดการคัดแยกขยะอย่างเป็นระบบและมีการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งช่วยปลูกฝังจิตสำนึกให้กำลังพลและครอบครัว ตลอดจนนักเรียน รู้จักและมีส่วนร่วม ในการจัดการขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อให้โรงเรียนแสนสุขสะอาด สวยงาม น่าอยู่อาศัย ตลอดไป
|
วัตถุประสงค์ |
1. เพื่อลดปริมาณขยะ และลดภาระค่าใช้จ่าย ในการกำจัดขยะของโรงเรียนแสนสุข
2. เพื่อให้มีการจัดการขยะรีไซเคิล อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ขยะ และสร้างรายได้เสริมให้กับผู้ที่เข้าร่วมโครงการ
|
เป้าหมาย |
เชิงปริมาณ
1. นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษาร้อยละ 90 ลดปริมาณและลดภาระค่าใช้จ่าย ในการกำจัดขยะของโรงเรียนแสนสุข
2. นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษาร้อยละ 90 จัดการขยะรีไซเคิล อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
3. โรงเรียนสามารถสร้างมูลค่าขยะได้ร้อยละ 80 และสร้างรายได้เสริมให้กับผู้ที่เข้าร่วมโครงการ
เชิงคุณภาพ
1. นักเรียน บุคลากรทุกฝ่ายร้อยละ 90 มีจิตสำนึกเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างคุ้มค่าและกำจัดขยะอย่างถูกวิธีและคัดแยกขยะก่อนทิ้งอย่างถูกต้อง
|
ระยะเวลา |
1 เม.ย. 2563 - 31 มี.ค. 2564 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนแสนสุข |
ตัวชี้วัด |
เชิงคุณภาพ
1. นักเรียน บุคลากรทุกฝ่ายร้อยละ 90 มีจิตสำนึกเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างคุ้มค่าและกำจัดขยะอย่างถูกวิธีและคัดแยกขยะก่อนทิ้งอย่างถูกต้อง
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
1. นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษาสามารถลดปริมาณและลดภาระค่าใช้จ่าย ในการกำจัดขยะของโรงเรียนแสนสุข
2. นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษาสามารถจัดการขยะรีไซเคิล อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
3. โรงเรียนสามารถสร้างมูลค่าขยะได้และสร้างรายได้เสริมให้กับผู้ที่เข้าร่วมโครงการ
|
สรุปคะแนนประเมิน |
0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
|
ขั้นดำเนินการ |
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
|
งบประมาณ |
|
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|