ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
โครงการ ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักของเศรษฐกิจพอเพียง |
ประเภท |
โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
ปีการศึกษา |
2558 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน 2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา 2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย 2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ 2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ 2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้ 3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก 3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน 3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ |
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งทางวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี ซึ่งประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข สมดุล 4 มิติ และ 3 ศาสตร์ คือ ศาสตร์พระราชา ศาสตร์ท้องถิ่น และศาสตร์สากล (2-3-4-3) สู่ระบบบริหารจัดการของโรงเรียน เพื่อการพัฒนาระบบการบริหารของโรงเรียนให้มีคุณภาพ อันส่งผลต่อการพัฒนานักเรียน ครู และบุคลากรร้อยละ 80 ของโรงเรียนสามารถสร้างความสมดุลในการดำรงชีวิตและพร้อมต่อการเผชิญกับสภาพของสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ด้าน สามารถสร้างผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลโลก บนพื้นฐานของความพอเพียง มีการสร้างเครือข่ายผู้ปกครอง เพื่อถ่ายทอด แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับหลักคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และประสานความร่วมมือในการดำเนินงานของโรงเรียนในด้านต่างๆจนสามารถเป็นแบบอย่างให้กับสถานศึกษาอื่น และสร้างเครือข่าย ร่วมพัฒนาหน่วยงานต่างๆ ให้สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ จึงได้รับการประเมินเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ในปีการศึกษา 2558
ทั้งนี้โรงเรียนยังคงดำเนินงานด้านหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญในกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้โดยมีฐานการเรียนรู้บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และพัฒนาศูนย์การเรียนรู้รองรับการศึกษาดูงานจากโรงเรียน และหน่วยงานภายนอกเพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา
|
วัตถุประสงค์ |
1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน ครู และบุคลากร มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถในการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้
2. เพื่อให้นักเรียนและครูร่วมกันถอดประสบการณ์จากการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้
3. เพื่อพัฒนาครูและนักเรียนแกนนำในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หน่วยงานอื่นๆ ได้
4. เพื่อพัฒนาฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้มีความพร้อมต่อการศึกษาดูงานของหน่วยงานต่างๆ
|
เป้าหมาย |
1. เป้าหมายเชิงปริมาณ
1. นักเรียนและบุคลากร ร้อยละ 90 มีความรู้ ความเข้าใจ และนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน
2. ครูทุกคนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ทุกรายวิชา
3. ครูและนักเรียนแกนนำทุกฐานการเรียนรู้มีการพัฒนามีความรู้ และพัฒนาฐานการเรียนรู้ให้พร้อมต่อการถ่ายทอดความรู้
2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ
1. ผู้ที่มาศึกษาดูงานมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีคุณภาพในระดับดี
2. นักเรียนและครูมีความพึงพอใจในการใช้แหล่งเรียนรู้ของศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีคุณภาพในระดับดี
|
ระยะเวลา |
28 ม.ค. 2564 - 28 ม.ค. 2564 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ๒ |
ตัวชี้วัด |
1. ร้อยละ 90 ของนักเรียน ครูและบุคลากร นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในวิถีชีวิต
2. ระดับความพึงพอใจของผู้ที่มาศึกษาดูงานมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับดี
3. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนและครูในการใช้แหล่งเรียนรู้ของศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีคุณภาพในระดับดี
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
1. ครูในโรงเรียนมีการใช้ฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้อย่างหลากหลายและต่อเนื่อง
2. โรงเรียนมีฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับหน่วยงานภายนอกอย่างต่อเนื่อง
3. คณะครู บุคลากร และนักเรียน มีอุปนิสัยพอเพียง และมีหลักคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตประจำวัน
|
สรุปคะแนนประเมิน |
90.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
|
ขั้นดำเนินการ |
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
|
งบประมาณ |
|
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|