โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

ศาสตร์พระราชาและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

โรงเรียน : ดอยเต่าวิทยาคม สพม.เชียงใหม่

ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 25 มี.ค. 2564 โดย : ศิวพร วงค์กันยา จำนวนผู้เข้าชม 40 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม ศาสตร์พระราชาและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ประเภท โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีการศึกษา 2563
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
     2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมาและถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
หลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนการใช้ความรู้ ความรอบคอบละคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำต่างๆ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่พอประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ปัจจัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องอาศัยความรู้ และคุณธรรม เป็นเงื่อนไขพื้นฐาน กล่าวคือ เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตและการประกอบการงาน ส่วนเงื่อนไขคุณธรรม คือ การยึดถือคุณธรรมต่างๆ อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร การมุ่งต่อประโยชน์ส่วนรวมและการแบ่งปัน ฯลฯ ตลอดเวลาที่ประยุกต์ใช้ปรัชญา
ทางโรงเรียนดอยเต่าวิทยาคมจึงได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมของนักเรียนภายในโรงเรียน ให้นักเรียน ได้มีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต  ตลอดจนสร้างจิตสำนึกให้นักเรียน รู้จัก พออยู่  พอกิน และ มีรายได้ จากการใช้พื้นที่ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน ในการปลูกพืช ผัก และ เลี้ยงสัตว์ ไว้ใช้ในการบริโภค  และ ยังเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น   
 
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อพัฒนานักเรียนด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
  2. เพื่อให้นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและลักษณะที่พึงประสงค์ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
  3. เพื่อให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียน
เป้าหมาย นักเรียน และบุคลากรโรงเรียนดอยเต่าวิทยาคมได้เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
 
ระยะเวลา 1 ก.ค. 2563 - 30 เม.ย. 2564
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม
ตัวชี้วัด นักเรียน และบุคลากรโรงเรียนดอยเต่าวิทยาคมได้เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ          1. นักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม มีสมาธิปัญญาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
          2. การเรียนการสอนบรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
          3. นักเรียนเรียนได้อย่างมีความสุข
          4. ชุมชนให้การยอมรับโรงเรียนมากขึ้น
          5. นักเรียนได้ปฏิบัติตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในโรงเรียน  ในครอบครัวและในชุมชน
 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0