โรงเรียน : ท่านผู้หญิงจันทิมาพึ่งบารมี สพม.สกลนคร
ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ผลการประเมิน : 5
เผยแพร่เมื่อ : 27 มิ.ย. 2567 โดย : นายเมฆินทร์ พรมประศรี จำนวนผู้เข้าชม 44 คน
ชื่อโครงการ/กิจกรรม | กิจกรรมเกษตรเพื่ออาหารกลางวันแบบครบวงจร สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ภายใต้โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร |
ประเภท | โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
ปีการศึกษา | 2550 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน 1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้ 3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ |
ผู้รับผิดชอบ | |
ความเป็นมา | วิกฤตการณ์ด้านโภชนาการทั่วโลกที่เผชิญก่อนการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ มีแนวโน้มที่น่าเป็นห่วงในภาวะทุพโภชนาการทุกรูปแบบ มีผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากความอดอยาก เพิ่มขึ้นจาก ๖๑๘ ล้านคน ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็น ๗๖๘ ล้านคน ในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ และยังพบว่าในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ เกือบหนึ่งในสามของประชากรโลก มีความไม่ปลอดภัยด้านอาหารในระดับปานกลางหรือรุนแรง ส่งผลให้เกิดโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อที่เกี่ยวข้องกับอาหาร (NCDs) เพิ่มขึ้น (globalnutritionreport. ๒๐๒๓. online) สอดคล้องกับภาวะโภชนาการของเด็กไทยในฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข พบเด็กอ้วนสูงกว่าค่าเป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด คือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๓ จากร้อยละ ๑๑.๘, ๑๓.๖ และ ๑๒.๗๘ ตามลำดับ และเด็กเตี้ยสูงกว่าค่าเป้าหมายในช่วงเวลาเดียวกัน ร้อยละ ๕.๗, ๘.๙ และ ๕.๙ ตามลำดับ (ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง. ๒๕๖๓. online) จากรายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕ พบว่านักเรียนโรงเรียนท่านผู้หญิงจันทิมาพึ่งบารมี มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ โดยมีภาวะเตี้ยร้อยละ ๒.๕๐ มีภาวะผอม ร้อยละ ๓.๗๕ มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน รวมกันร้อยละ ๘.๓๙ ซึ่งต่ำกว่าค่าเป้าหมายของกรมอนามัย สอดคล้องกับข้อมูลการรายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริฯ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร กาฬสินธุ์ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอนและน่าน (ข้อมูลปีการศึกษา ๒๕๖๓ และ ๒๕๖๔) พบว่ากลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษามีภาวะเตี้ยร้อยละ ๓.๒๕ มีภาวะผอม ร้อยละ ๓.๒๙ มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ ๘.๘๒ (โครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. ๒๕๖๕. หน้า ๖ - ๘) โรงเรียนท่านผู้หญิงจันทิมาพึ่งบารมี ซึ่งเป็นโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (กพด.) ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนและสนองต่อวัตถุประสงค์หลักตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ฉบับที่ ๕ (พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๖๙) จึงได้ดำเนินโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันแบบครบวงจร สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการ นักเรียนมีสุขภาพที่ดี มีโภชนาการสมวัย ได้บูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ภายใต้แนวความคิด " ไม่ทิ้งเด็กไว้ข้างหลัง ; No child Left Behind " กล่าวคือ โรงเรียนส่งเสริม ปลูกฝัง อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโภชนาการ การรับประทานอาหารที่มีคุณค่า ถูกหลักโภชนาการ และการดูแลรักษาสุขภาพให้แก่นักเรียนทุกคน โดยบูรณาการการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระ เพื่อลดภาวะทุพโภชนาการ ส่วนนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ โรงเรียนเพิ่มกระบวนการติดตามและเก็บข้อมูล พร้อมอบรมให้ความรู้เป็นระยะ เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกับผู้ปกครอง และหน่วยงานสาธารณสุข ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนมีร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง มีพัฒนาการทางสมองและร่างกายอย่างสมวัย รวมถึงมีสุขนิสัยที่ดีทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป |
วัตถุประสงค์ | วัตถุประสงค์ ๑. นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการ ๒. นักเรียนมีสุขภาพที่ดี มีโภชนาการสมวัย ไม่มีภาวะทุพโภชนาการ |
เป้าหมาย | เป้าหมายเชิงปริมาณ ๑. นักเรียนร้อยละ ๑๐๐ ได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการ ๒. นักเรียนร้อยละ ๘๐ มีสุขภาพที่ดี มีโภชนาการสมวัย ไม่มีภาวะทุพโภชนาการ เป้าหมายเชิงคุณภาพ นักเรียนมีสุขภาพอนามัยตามเกณฑ์มาตรฐาน มีความรู้เรื่องโภชนาการ มีสุขลักษณะในการเลือกรับประทานอาหารที่ดี มีมารยาทในการรับประทานอาหารและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ |
ระยะเวลา | 30 เม.ย. 2567 - 30 เม.ย. 2567 |
สถานที่ดำเนินการ | โรงเรียนท่านผู้หญิงจันทิมาพึ่งบารมี |
ตัวชี้วัด | ๑. นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการ ๒. นักเรียนมีสุขภาพที่ดี มีโภชนาการสมวัย ไม่มีภาวะทุพโภชนาการ |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ | ๑. นักเรียนร้อยละ ๑๐๐ ได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการ ๒. นักเรียนร้อยละ ๘๐ มีสุขภาพที่ดี มีโภชนาการสมวัย ไม่มีภาวะทุพโภชนาการ |
สรุปคะแนนประเมิน | 5 |
ไฟล์ประกอบ |
กรอบการเขียนนำเสนอผลงานโภชนาการ๖๖.pdf |
ขั้นเตรียมการ | โรงเรียนท่านผู้หญิงจันทิมาพึ่งบารมี ได้ดำเนินโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันแบบครบวงจร สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยดำเนินขั้นตอนการทำกิจกรรมตาม หลัก ๘ ร่วม (ท่านผู้หญิงโมเดล) ๑. ร่วมคิด นักเรียนมีส่วนร่วมในการคิด ศึกษารายละเอียด ค้นคว้าหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา ตลอดจนระดมความคิด ความต้องการของสมาชิกในการดำเนินกิจกรรม เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการวางแผน ๒. ร่วมวางแผน นักเรียนร่วมในการวางแผนงาน กำหนดรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง กำหนดกรอบเวลา รวมทั้งแบ่งงานรับผิดชอบเพื่อทุกคนจะได้ไปปฏิบัติในส่วนของตน |
ขั้นดำเนินการ | ๓. ร่วมตัดสินใจ นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการดำเนินงานหรือปรับปรุงระบบการปฏิบัติงาน ให้มีประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมาย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ๔. ร่วมปฏิบัติ นักเรียนร่วมปฏิบัติด้วยการลงมือทำด้วยตนเองในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ เก็บเกี่ยวผลผลิต จำหน่ายผลผลิตผ่านสหกรณ์นักเรียนและจัดทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย นักเรียนได้ฝึกทักษะชีวิต ได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง |
ขั้นตรวจสอบประเมินผล | ๕. ร่วมตรวจสอบและประเมินผล นักเรียนและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนร่วมในการประเมินการดำเนินงานและรายงานผลการดำเนินงานให้ทางโรงเรียนทราบ เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบความเรียบร้อย ๖. ร่วมรับผลประโยชน์ นักเรียนมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ที่พึงได้รับจากการดำเนินงาน ทั้งด้านวัตถุและจิตใจ ซึ่งแต่ละกิจกรรมนำผลกำไรมาจัดสรรให้กับนักเรียน อีกทั้งนำผลผลิตบางส่วนกลับไปรับประทานที่บ้าน |
ขั้นสรุปและรายงาน | ๗. ร่วมรับผิดชอบ นักเรียนมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน โดยการนำผลผลิตทางการเกษตรไปช่วยสังคม ชุมชนและวัด ร่วมทำโรงทาน แจกจ่ายปัจจัยการผลิตแก่ผู้ปกครองและชุมชน ๘. ร่วมภาคภูมิใจ นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในการที่ตนเองมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานและร่วมยินดีในความสำเร็จของโรงเรียนในการได้รับรางวัลในระดับต่าง ๆ นำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ดังนี้ ความมั่นคง นักเรียนในทุกกิจกรรมมีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายและนำความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือนไปปฏิบัติร่วมกับผู้ปกครอง ความมั่งคั่ง นักเรียนนำความรู้และทักษะที่ได้รับไปปฏิบัติ เพื่อเพิ่มผลผลิตและเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว อีกทั้งมีการออมเงินไว้ใช้ในยามที่จำเป็น โดยการฝากเงินที่สหกรณ์นักเรียน ความยั่งยืน นักเรียนและผู้ปกครองมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง สามารถประกอบสัมมาชีพได้ รักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการทำเกษตรปลอดสารพิษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
งบประมาณ | โรงเรียนได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการจัดสรรงบประมาณอาหารกลางวันให้กับนักเรียน เพื่อใช้ในการซื้อวัตถุดิบในการประกอบอาหารจากกิจกรรมของนักเรียน รวมทั้งผลผลิตทางการเกษตรที่นักเรียนและผู้ปกครองนำมาจำหน่ายให้กับทางโรงเรียน ทำให้สามารถจัดหาอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้นักเรียนได้รับประทานอย่างเพียงพอและมีคุณภาพ |
การบรรลุตัวชี้วัด | จากการดำเนินงานพบว่า ร้อยละของภาวะเตี้ย ภาวะผอม ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กรมอนามัยกำหนด จัดว่าไม่เป็นปัญหาสาธารณสุข แต่ทางโรงเรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาแบบองค์รวม ภายใต้แนวความคิด" ไม่ทิ้งเด็กไว้ข้างหลัง ; No child Left Behind " กล่าวคือ โรงเรียนส่งเสริม ปลูกฝัง อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโภชนาการ การรับประทานอาหารที่มีคุณค่า ถูกหลักโภชนาการ และการดูแลรักษาสุขภาพให้แก่ “นักเรียนทุกคน” โดยบูรณาการการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระ เพื่อลดภาวะทุพโภชนาการ และ “นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ” โรงเรียนเพิ่มกระบวนการติดตามและเก็บข้อมูล พร้อมอบรมให้ความรู้เป็นระยะ เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกับผู้ปกครอง และหน่วยงานสาธารณสุข ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ๑. นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการ ๒. นักเรียนมีสุขภาพที่ดี มีโภชนาการสมวัย ๓. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีสมาธิ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ส่งผลให้นักเรียนได้การยอมรับและได้รับรางวัลจากหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ ชนะเลิศระดับประเทศการแข่งขันประกวดคลิปวีดีโอ หัวข้อ “เกษตรเพื่ออาหารกลางวันที่โรงเรียนของฉัน”ของกองงานพระราชดำริ กรมปศุสัตว์, รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ประจำปี ๒๕๖๓ และ ๒๕๖๔ , รางวัลเด็กและเยาวชนดีเด่นเนื่องในงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๔ ๒๕๖๕ และ ๒๕๖๖ ,รางวัลยอดนักอ่าน จากสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ประจำปี ๒๕๖๓ ,๒๕๖๔ และ ๒๕๖๕,นักเรียนรางวัลพระราชทาน ประจำปี ๒๕๖๔ ,รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ กิจกรรมวาดภาพ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖ กิจกรรมแข่งขันทักษะวิชาการ โรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ประจำปี ๒๕๖๕ |
ความพึงพอใจ | ทางโรงเรียนได้ดำเนินโครงการดังกล่าว โดยนำผลผลิตทางการเกษตรจากกิจกรรมย่อยทุกกิจกรรมที่จำหน่ายผ่านสหกรณ์นักเรียน เพื่อนำมาประกอบเป็นอาหารกลางวันให้นักเรียนได้รับประทาน โดยผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบใช้เมนูอาหารกลางวันตามโปรแกรมคำนวณคุณค่าทางอาหาร Thai Nutri Survey (TNS) ของสำนักโภชนาการ กรมอนามัย มาวางแผนการจัดเมนูอาหารกลางวัน เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวผัด พะแนงไก่ ไข่พะโล้ เป็นต้น จากการสอบถามนักเรียนพบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย ๔.๕๓) โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณค่าครบ ๕ หมู่ ถูกสุขลักษณะ (ค่าเฉลี่ย ๔.๘๖) รองลงมา คือ นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่ถูกหลักโภชนาการ (ค่าเฉลี่ย ๔.๖๗) และ นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันครบทุกคน ทุกวัน (ค่าเฉลี่ย ๔.๕๘) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ นักเรียนมีความรู้และทักษะในการประกอบอาหาร ไปใช้ในชีวิตประจำวัน (ค่าเฉลี่ย ๔.๓๕) จากข้อค้นพบช้างต้น แสดงว่านักเรียนมีความเชื่อมั่นต่อโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันแบบครบวงจรสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ว่าช่วยทำให้นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการ |
ปัญหาและอุปสรรค | ศัตรูพืช โรคพืชและแมลงแพร่ระบาด ทำให้พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย โรงเรียนได้ดำเนินการแก้ปัญหาโดยปลูกสมุนไพรไล่แมลง ปล่อยแตนเบียน ใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มา ใช้น้ำหมักชีวถาพ เป็นต้น |
ข้อเสนอแนะ | ขยายผลการดำเนินงานและการพัฒนาโครงการจากโรงเรียนสู่โรงเรียนมัธยมศึกษาในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารในเขตพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์และสกลนคร ตลอดจนโรงเรียนประถมศึกษาและขยายโอกาสในเขตพื้นที่บริการ |
รูปภาพประกอบ |
|