โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

ยกระดับและส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี

โรงเรียน : เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯทรงครองสิริราชสมบัติครบ50ปีจังหวัดสกลนคร สพม.สกลนคร

ประเภท : โรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 18 พ.ค. 2567 โดย : ยุวรรณ สาขา จำนวนผู้เข้าชม 88 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม ยกระดับและส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี
ประเภท โรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ปีการศึกษา 2567
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
     2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
     2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
     3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
     3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา        การจัดศึกษาและการเรียนรู้ควรมีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาคนในฐานะพลเมืองให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตอย่างสมดุล มีทักษะจำเป็นและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข มีภาวะผู้นำการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเน้นการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมแรงบันดาลใจให้มีชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย การเรียนรู้เพื่อบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการรังสรรค์สิ่งใหม่ๆ การเรียนรู้เพื่อปลูกฝังจิตสาธารณะ ยึดประโยชน์ส่วนรวม และการเรียนรู้เพื่อการนำไปปฏิบัติ มุ่งสร้างการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ พึ่งพาตนเองได้ และดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขหลักสูตรและการเรียนการสอนทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ครูผู้สอนควรให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนรู้ตามทักษะที่ระบุข้างต้นเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ความรู้และทักษะในรายวิชาต่าง ๆ ที่หลากหลาย โดยควรเน้นที่การจัดการเรียนการสอนตามทักษะ/สมรรถนะ (competency-based approach) นำวิธีการและนวัตกรรมการเรียนรู้โดยการบูรณาการเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการคิดวิเคราะห์และทักษะการคิดขั้นสูง และการใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้ที่สำคัญ (inquiry- and problem-based approaches) กระตุ้นและสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยการระดมสรรพกำลังและทรัพยากรการเรียนรู้ในชุมชนมาสนับสนุนการเรียนการสอนส่งเสริมและสนับสนุนการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้อย่างสมดุลและเหมาะสม เพื่อยกระดับการเรียนรู้ตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ จะเห็นได้ว่า การพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ นั้น ต้องให้ความสำคัญกับทั้งระบบ โดยการบูรณาการประเด็นดังกล่าวในมาตรฐานการจัดการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล หลักสูตรการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอน การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ และการพัฒนาครูผู้สอน เพื่อก่อเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่จำเป็นและการพัฒนาผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่พึงประสงค์
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔) สำหรับใช้เป็นแผนพัฒนาประเทศไทยในระยะ ๕ ปี ซึ่งเป็นการแปลงยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเตรียมความพร้อมและวางรากฐานในการยกระดับประเทศไทยให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว มีความมั่นคง  มั่งคั่ง ยั่งยืน ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งการพัฒนาประเทศในระยะของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔) มีหลักการที่สำคัญ คือ   ๑) ยึด “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”เพื่อให้เกิดบูรณาการการพัฒนาในทุกมิติ  อย่างสมเหตุสมผล มีความพอประมาณ และมีระบบภูมิคุ้มกันและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาคน มีความเป็นคนที่สมบูรณ์ สังคมไทย เป็นสังคมคุณภาพ มีที่ยืนและเปิดโอกาสให้กับทุกคนในสังคมได้ดำเนินชีวิตที่ดีมีความสุข และอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์  ๒) ยึด “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา”มุ่งสร้างคุณภาพชีวิต และสุขภาวะที่ดี สำหรับคนไทย พัฒนาคนให้มีความเป็นคนที่สมบูรณ์ มีวินัย ใฝ่รู้ มีความรู้ มีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดีรับผิดชอบต่อสังคม มีจริยธรรมและคุณธรรม พัฒนาคนทุกช่วงวัยและเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ รวมถึงการสร้างคนให้ใช้ประโยชน์และอยู่กับสิ่งแวดล้อมอย่างเกื้อกูล อนุรักษ์ ฟื้นฟู ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม  ๓) ยึด “วิสัยทัศน์ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี” มาเป็นกรอบของวิสัยทัศน์ประเทศไทยในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ วิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หรือเป็นคติพจน์ประจำชาติว่า“มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ๔)  ยึด “เป้าหมายอนาคตประเทศไทย ปี ๒๕๗๙” ที่เป็นเป้าหมายในยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปีมาเป็นกรอบในการกำหนดเป้าหมายที่จะบรรลุใน ๕ ปีแรกและเป้าหมายในระดับย่อยลงมา ควบคู่กับกรอบเป้าหมายที่ยั่งยืน (SDGs)  ๕)  ยึด “หลักการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดความเหลื่อมล้ำและขับเคลื่อนการเจริญเติบโต จากการเพิ่มผลิตภาพการผลิตบนฐานของการใช้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม”และ  ๖)  ยึด “หลักการนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างจริงจังใน ๕ ปีที่ต่อยอดไปสู่ผลสัมฤทธิ์ ที่เป็นเป้าหมายระยะยาว” และทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญในการยกระดับการพัฒนาประเทศในทุกมิติไปสู่เป้าหมายการเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วที่ขับเคลื่อนโดยภูมิปัญญาและนวัตกรรมในอีก ๒๐ ปีข้างหน้า  ภายใต้กรอบแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๔ ได้กำหนดสาระสำคัญสาหรับบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาการศึกษาใน ๕ ประการ ได้แก่ การเข้าถึง (Access) ความเท่าเทียม (Equity) คุณภาพ(Quality) ประสิทธิภาพ (Efficiency) และตอบโจทย์บริบทที่เปลี่ยนแปลง (Relevancy) ในระยะ ๑๕ ปี ข้างหน้า โดยมีวิสัยทัศน์ : ให้ความสำคัญกับการสร้างระบบการศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อเป็นกลไกหลักของการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของทุนมนุษย์ และรองรับการศึกษา การเรียนรู้ และความท้าทายที่เป็นพลวัตรของโลกศตวรรษที่ ๒๑ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการวางรากฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศอย่างเป็นระบบ โดยจำเป็นต้องมุ่งเน้นการพัฒนาและยกระดับคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดี เก่งและมีคุณภาพพร้อมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปข้างหน้าได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่ง “คนไทยในอนาคตจะต้องมีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัยมีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรม และเป็นพลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้อง  มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ มีทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาที่ ๓ และอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทย ที่มีทักษะสูง เป็นนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่และอื่น ๆ โดยมีสัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง”
กลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยและโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชฯ ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปีจังหวัดสกลนคร  เป็นโรงเรียนที่มีวัตถุประสงค์พิเศษเช่นเดียวกับโรงเรียนภปร.ราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์และจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนมีความรู้ทางวิชาการเป็นอย่างดี  มีความประพฤติเป็นที่พึงประสงค์ของสังคมและสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ  รับนักเรียนสหศึกษาประเภทประจำและไป – กลับ  ทั้งในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย  โดยเน้นความเป็นเลิศวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี  และนวัตกรรม ตั้งแต่ปีการศึกษา  ๒๕๕๔  กลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย  ได้เข้าสู่โรงเรียนดีมีมาตรฐานสากล (World - Class Standard School)  โดยมุ่งเน้นการขับเคลื่อนโครงการยกระดับส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๔ เป็นต้นมา จนปรากฎผลของการดำเนินงาน ที่มีความตระหนักถึงความสำคัญและพยายามที่จะพัฒนาผู้เรียนทุกด้าน เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานการบริหารและการจัดการศึกษากลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ระดับคุณภาพมาตรฐานครูด้านการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพให้สูงขึ้น โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์ภาษาและเทคโนโลยี และยกระดับคุณภาพนักเรียนมีคุณธรรม ความรู้  ความสามารถ และทักษะทางด้านวิชาการให้เต็มตามศักยภาพ โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์ภาษาและเทคโนโลยี  เทียบมาตรฐานสากล สืบสานงานพระราชดำริ โดยดำเนินการตามกลยุทธ์ที่ ๑ ส่งเสริม และพัฒนาระบบการบริหารงานโรงเรียน และการบริหารงานกลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย  แบบความร่วมมือและการมีส่วนร่วม กลยุทธ์ที่ ๒ พัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ กลยุทธ์ที่ ๓  ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนของครู โดยการพัฒนาครูให้มีทักษะและเทคนิคการสอน และการวัดประเมินผลแบบมืออาชีพ กลยุทธ์ที่ ๔ ส่งเสริมงานวิจัยครูและใช้งานวิจัยในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน รวมถึงการส่งเสริมนักเรียนด้วยกระบวนการคิด  การทำงาน  การแก้ปัญหา ด้วยกระบวนการทำวิจัย กลยุทธ์ที่ ๕ ส่งเสริมค่ายทักษะวิชาการด้านวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์ ภาษา และเทคโนโลยี กลยุทธ์ที่ ๖  ส่งเสริมสื่อการเรียนรู้  และการนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาผู้เรียน กลยุทธ์ที่ ๗ ส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วม และทำงานเป็นทีม กลยุทธ์ที่  ๘ ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม การทำงานเป็นทีม  และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีผลการดำเนินการพัฒนา ดังนี้ การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ กลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย มีการพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ นิเทศกำกับติดตามมาอย่างต่อเนื่อง การพัฒนากระบวนการวิจัยและกระบวนการจัดการความรู้ กลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูและนักเรียนของโรงเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการทำวิจัย และการพัฒนาตนเอง ตลอดเวลา เพื่อให้มีความรู้ทางวิชาการ และประสบการณ์ทันต่อวิชาการที่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยๆ  และศูนย์วิจัยของสถาบันวิจัยต่าง ๆ ในการสร้างบรรยากาศและส่งเสริมการวิจัย เช่น ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความชำนาญการเฉพาะด้านของ  คณะวิทยาศาสตร์ ห้องวิจัยของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และศูนย์วิจัยของสถาบันวิจัยต่าง ๆ ได้ให้คำแนะนำและคำปรึกษา รวมทั้งอนุญาตใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ในการทำโครงงานและให้การสนับสนุนในการทำโครงงานของนักเรียน มีการสนับสนุนผู้ทรงวุฒิมาเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษและรับนักเรียนให้ไปดูงานหรือฝึกงาน เป็นต้น ร่วมกันเป็นภาคีเครือข่ายในการพัฒนาคุณภาพ และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนมาเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของกลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยและโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปีจังหวัดสกลนคร 
ทั้งนี้โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปีจังหวัดสกลนคร ได้ตะหนักถึงความสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๔ ทิศทางการพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ในการส่งเสริมระบบการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM  Education) ทักษะความเป็นนวัตกรแก่เด็กและเยาวชนไทย และเพิ่มจำนวนนักเรียน เกิดแรงบันดาลใจ และสนใจที่จะมีอาชีพเป็นวิศวกรหรือนวัตกรในอนาคต เพื่อผลิตกำลังคนและครูในเชิงคุณภาพ พร้อมสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายข้อที่ ๒ พัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ โดยการพัฒนาระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ สร้างสรรค์ต่อยอดไปสู่การสร้างนวัตกรรมความรู้ มีทักษะชีวิตและอาชีพ ทักษะทางการเงิน ทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี เพิ่มสมรรถนะทั้งความรู้ ทักษะ คุณลักษณะให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงาน สู่การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ต่อไป
 
วัตถุประสงค์ ๑)  เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์  และเทคโนโลยี
๒)  เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับนักเรียนที่มีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี   
๓) เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนใช้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้  และการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการทำวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรม
๔) เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐาน
๕) เพื่อพัฒนาหลักสูตรกลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยฯ สู่ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์  และเทคโนโลยี๑)  เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์  และเทคโนโลยี
            
เป้าหมาย
  • ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์  มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ
  • นักเรียนได้รับโอกาสในการพัฒนาศักยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี  
  • นักเรียนสามารถนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้  และการสร้างนวัตกรรม
  • นักเรียนทุกคนมีผลงานนวัตกรรมที่เกิดจากกระบวนการวิจัยโดยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้
  • ครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานได้
  • กลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยฯ มีหลักสูตรที่ส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์  และเทคโนโลยี
ระยะเวลา 1 ต.ค. 2566 - 30 ก.ย. 2567
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชฯ ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปีจังหวัดสกลนคร
ตัวชี้วัด
  • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เต็มศักยภาพเทียบ มาตรฐานสากล
  • เป็นผู้นำทางปัญญา ผู้นาทางความคิด มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความเป็นนักวิจัย นักประดิษฐ์คิดค้น และนักพัฒนาที่ดีด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีเทียบโรงเรียนมาตรฐานสากล
  • เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ รักการเรียนรู้ รักการอ่าน การเขียน การศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มีความรู้ รู้รอบ สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่และสามารถบูรณาการความรู้ได้
  • มีความรู้และทักษะในการใช้ภาษาต่างประเทศ อย่างน้อย ๒ ภาษาและมีทักษะการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบมาตรฐานสากล
  • เป็นการส่งเสริมสนับสนุนกระจายโอกาสการผลิตและการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์  เทคโนโลยี  ภาษา และนวัตกรรม  ให้มีปริมาณและคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ  ที่สามารถทำการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างความรู้และนวัตกรรมได้
  • เป็นการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์  เทคโนโลยี  ภาษาและนวัตกรรม  เพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคเศรษฐกิจและสังคม
  • เป็นการส่งเสริมการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์  เทคโนโลยี  ภาษาและนวัตกรรมให้กระจายอย่างทั่วถึงทุกท้องถิ่น  ซึ่งเป็นกลไกสำคัญทางปัญญาในการสร้างและเผยแพร่ความรู้  และใช้ความรู้  เพื่อแก้ไขปัญหาในชุมชน  การเพิ่มผลผลิตและการพัฒนาประเทศให้มีความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
  • เป็นแนวทางที่จะช่วยลดปัญหาความเลื่อมล้ำด้านคุณภาพการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของประเทศที่ปัจจุบันส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานครและตัวจังหวัดเท่านั้น  เป็นแนวทางที่จะช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของครอบครัวของนักเรียนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีให้ดีขึ้นในอนาคต


 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. นักเรียนมีความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
    2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ในระดับชาติ  สูง
    3. การยกระดับโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เป็นการกระจายโอกาสให้นักเรียนของโรงเรียนดีประจำตำบลที่อยู่ในท้องถิ่นมีโอกาสได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  ส่งผลถึงคุณภาพชีวิตของนักเรียนในอนาคต 
    4. การยกระดับโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เป็นการกระจายโอกาสให้นักเรียนของโรงเรียนดีในเขตพื้นที่บริการทุกภูมิภาคมีโอกาสเข้าเรียนที่มีคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  ส่งผลถึงคุณภาพชีวิตของนักเรียนในอนาคต 
    5. โรงเรียนได้รับการประเมินเป็นโรงเรียนส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เทียบมาตรฐานสากล  ครู นักเรียนสามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์อย่างเต็มศักยภาพ
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0