ชื่อโครงการ/กิจกรรม |
โรงเรียนมาตรฐานสากล |
ประเภท |
โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School) |
ปีการศึกษา |
2562 |
มาตรฐาน |
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน 2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา 2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย 2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ 2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ 2.6 จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้ 3.2 ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3.3 มีการบริหารจัดการชั้นเรียบเชิงบวก 3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน 3.5 มีการแลกเปลียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ |
ผู้รับผิดชอบ |
|
ความเป็นมา |
โรงเรียนมาตรฐานสากลเป็นนวัตกรรมการจัดการศึกษาที่ สพฐ. นำมาใช้เป็นมาตรการเร่งด่วนในการยกระดับ การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐานเทียบเท่าสากล ด้วยการให้โรงเรียนในโครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและ จัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนบรรลุคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 และเพิ่มเติมสาระการเรียนรู้ความเป็นสากล ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 และปรับปรุงแนวปฏิบัติเกี่ยวกับ การจัดหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน และการบริหารจัดการสำหรับโรงเรียนในโครงการเพื่อแก้ปัญหาคุณภาพ การศึกษาของประเทศไทย เช่น ผลคะแนน O-NET GAT PAT PISA และ TIMSS ของนักเรียนอยู่ในระดับต่ำเป็นต้น ตั้งแต่ปีการศึกษา 2555
โรงเรียนมาตรฐานสากล ( World - class standard school) หมายถึง โรงเรียนที่พัฒนา หลักสูตรและจัดการเรียนการสอน อย่างมีคุณภาพเทียบเคียงมาตรฐานสากล รวมทั้งมีการบริหารจัดการ ด้วยระบบคุณภาพ เพื่อให้ได้ผู้เรียนที่มีคุณภาพ คือเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและคุณลักษณะ (Learner Profile) เทียบเคียง มาตรฐานสากล ( World class standard) และมีศักยภาพเป็นพลโลก ( World citizen) สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่มุ่งเน้นการพัฒนา คุณภาพเยาวชนสำหรับยุคศตวรรษที่ 21 อีกทั้งเป็นไปตามปฏิญญาว่าด้วยการจัดการศึกษาของ UNESCO คือ Learning to know, Learning to do, Learning to live with the others, Learning to be
การดำเนินการของโรงเรียนมาตรฐานสากลนั้น จะประสบความสำเร็จได้จะต้อง มีการพัฒนา หลายมิติไป พร้อมๆ กัน และต้องดำเนินการทั้งระบบ คือ ด้านหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การบริหารจัดการ มิใช่เป็น การจัดการศึกษาเพียงบางส่วนของโรงเรียน หรือจัดเป็นแผนการเรียนมาตรฐานสากล การจัดการศึกษาในโรงเรียน มาตรฐานสากลจะต้องมีจุดมุ่งหมายและทิศทางที่ชัดเจน คือ 1) พัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลโลก (World Citizen) [เป็นเลิศวิชาการ,สื่อสารสองภาษา, ล้ำหน้าทางความคิด , ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์] สร้างวิถีแห่งการรู้แจ้ง สร้างแรงกระตุ้นใหม่ๆ ให้ผู้เรียนเกิดความมุ่งมั่น รักและเพลิดเพลินใน การแสวงหาความรู้สามารถวิเคราะห์และสรุป องค์ความรู้ มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และมีจิตสาธารณะและสำนึกในการบริการสังคม 2) ยกระดับการจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล ( World-Class Standard) โดยคำนึงถึงความหลากหลายของผู้เรียนซึ่ง มีภูมิปัญญา ความสามารถ และความถนัดแตกต่างกัน มีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมในการเพิ่มพูนศักยภาพของผู้เรียน ส่งเสริมพหุปัญญาของเด็ก บนพื้นฐานของ ความเข้าใจ รู้ใจ และมีการใช้กระบวนการคัดกรองในระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อให้สามารถ พัฒนาไปสู่ จุดสูงสุดแห่งศักยภาพ 3) ยกระดับการบริหารจัดการด้วยคุณภาพ ( Quality System Management) พัฒนาศักยภาพขององค์กรให้ได้มาตรฐานสากล สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของตัวเองสามารถระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ และศึกษาแนวทางจากแบบอย่างความสำเร็จที่หลากหลาย เพื่อปรับใช้ได้ อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีการสร้างเครือข่ายในการจัดการศึกษาในทุกระดับ ซึ่งอาจ เริ่มต้นจากการประสาน ความร่วมมือ ในชุมชน ท้องถิ่น ไปสู่ภูมิภาค จนกระทั่งถึงเครือข่ายระดับชาติและนาชาติในที่สุด ทั้งนี้เพราะ คุณภาพองเยาวชน คือ อนาคตของชุมชน ความหวังของชาติ และของมวลมนุษยชาติ |
วัตถุประสงค์ |
1 เพื่อยกระดับการจัดการเรียนการสอนให้เทียบเคียงมาตรฐานสากลหรือมาตรฐานของประเทศชั้นนำที่มีคุณภาพการศึกษาสูง
2 เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลโลก รองรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
3 เพื่อติดตาม นิเทศ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุป และรายงานผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ |
เป้าหมาย |
1. โรงเรียนเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล
2. ครูมีความรู้ความเข้าใจและมีแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการเรียนรู้สู่ โรงเรียนมาตรฐานสากล
3. ยกระดับการบริหารจัดการของโรงเรียนให้มีการบริหารด้วยระบบคุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) |
ระยะเวลา |
31 พ.ค. 2567 - 31 พ.ค. 2568 |
สถานที่ดำเนินการ |
โรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ |
ตัวชี้วัด |
1. โรงเรียนเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล
2. ครูมีความรู้ความเข้าใจและมีแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการเรียนรู้สู่ โรงเรียนมาตรฐานสากล ร้อยละ 100
3. ยกระดับการบริหารจัดการของโรงเรียนให้มีการบริหารด้วยระบบคุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
1. โรงเรียนเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล
2. ครูมีความรู้ความเข้าใจและมีแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการเรียนรู้สู่ โรงเรียนมาตรฐานสากล
3. ยกระดับการบริหารจัดการของโรงเรียนให้มีการบริหารด้วยระบบคุณภาพตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) |
สรุปคะแนนประเมิน |
0.00 |
ไฟล์ประกอบ |
|
ขั้นเตรียมการ |
|
ขั้นดำเนินการ |
|
ขั้นตรวจสอบประเมินผล |
|
ขั้นสรุปและรายงาน |
|
งบประมาณ |
|
การบรรลุตัวชี้วัด |
|
ความพึงพอใจ |
|
ปัญหาและอุปสรรค |
|
ข้อเสนอแนะ |
|
รูปภาพประกอบ |
|