โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

งานอนามัยโรงเรียน

โรงเรียน : เนินทรายวิทยาคม สพม.จันทบุรี ตราด

ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 2 มิ.ย. 2567 โดย : นางสาวลัดดา ทั่งทอง จำนวนผู้เข้าชม 18 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม งานอนามัยโรงเรียน
ประเภท โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีการศึกษา 2567
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน


ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา การพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนให้มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญาความรู้มีคุณธรรมจริยธรรม และมีวิถีชีวิตที่มีความสุขตามที่สังคมมุ่งหวัง  ซึ่งสอดคล้องกับแนวนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ คือ ให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข ห้องพยาบาลเป็นแหล่งที่สนับสนุนคุณภาพชีวิตของนักเรียน ให้มีสุขภาพกายที่ดี
              ห้องพยาบาลของโรงเรียนเนินทรายวิทยาคมจึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงให้สะอาดและมียาอันเพียงพอสำหรับนักเรียนอยู่เสมอเพื่อเป็นที่สำหรับนักเรียนที่เจ็บป่วยได้มาพักผ่อนในเวลาเรียน หรือเป็นที่ปฐมพยาบาลนักเรียนที่ได้รับบาดเจ็บระหว่างการเล่นกีฬา
 
วัตถุประสงค์  2.1 เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้วิธีสร้างพฤติกรรม สุขภาพที่ดี
             2.2 เพื่อให้นักเรียนรู้จักดูแลสุขภาพ สุขนิสัย และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
             2.3 เพื่อให้นักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูง และสมรรถภาพตามเกณฑ์
             2.4 เพื่อให้นักเรียนมีความร่าเริงแจ่มใส ความมั่นใจในตนเอง
             2.5 เพื่อปรับปรุงห้องพยาบาลให้น่าอยู่ มีบรรยากาศสดชื่น
             2.6 เพื่อให้นักเรียน และชุมชน ได้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย
 
เป้าหมาย ด้านปริมาณ
1. นักเรียนทุกคนมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองเป็นอย่างดี
2. นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
ด้านคุณภาพ
1. นักเรียนร้อยละ100 มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์
2. นักเรียนร้อยละ 100 สามารถนำความรู้ไปขยายผลสู่ชุมชนได้
3. มีระบบสารสนเทศทางงานอนามัยโรงเรียนที่เป็นระบบอย่างมีคุณภาพ คิดเป็นร้อยละ 100
4. นักเรียนร้อยละ 100 ได้รับการดูแลช่วยเหลือเบื้องต้นเป็นอย่างดี
 
ระยะเวลา 1 ก.ย. 2566 - 30 ต.ค. 2567
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนเนินทรายวิทยาคม
ตัวชี้วัด 1. ร้อยละของนักเรียนที่มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองของชุมชนเป็นอย่างดี
2. ร้อยละของนักเรียนที่ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ
3. จำนวนเตียงและที่นอนสำหรับไว้บริการนักเรียน
4. ร้อยละของนักเรียนที่มีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์
5. ร้อยละของนักเรียนที่มีนิสัยร่าเริง และมีความมั่นใจในตนเอง
6. ร้อยละของนักเรียนที่สามารถนำความรู้ไปขยายสู่ชุมชนได้
7. ร้อยละของผลการประเมินคุณภาพระบบสารสนเทศของงานอนามัยโรงเรียน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ  8.1  นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี แข็งแรง สมบูรณ์
 8.2  โรงเรียนได้รับความร่วมมืออันดีจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล

 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0