โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

พัฒนาระบบสารสนเทศ (Big Data)

โรงเรียน : เนินทรายวิทยาคม สพม.จันทบุรี ตราด

ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 2 มิ.ย. 2567 โดย : นางสาวลัดดา ทั่งทอง จำนวนผู้เข้าชม 17 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม พัฒนาระบบสารสนเทศ (Big Data)
ประเภท โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีการศึกษา 2567
มาตรฐาน

     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา

ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้กำหนดความมุ่งหมายและหลักการในด้านคุณภาพการศึกษาตามหมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา อีกทั้งกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553 หมวด 2 ข้อ14 กำหนดให้โรงเรียนจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในและถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  โดยให้โรงเรียนขั้นพื้นฐานจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยดำเนินการ 1. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน 2. จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน 3. จัดระบบบริหารและสารสนเทศ 4. ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียน
5. จัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา 6.จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน 7.จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน และ 8.จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
          โรงเรียนเนินทรายวิทยาคม เป็นโรงเรียนที่ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา (องค์กรมหาชน) อย่างต่อเนื่องตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 โดยได้รับการประเมินรอบแรกในปี พ.ศ.2546 มีผลการประเมิน
อยู่ในระดับดี (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา, 2546 :ค) และได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสองในพ.ศ.2549 มีผลการประเมินในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ปรับปรุงในมาตรฐานที่ 5 มาตรฐานที่ 4, 12 อยู่ในระดับพอใช้ และมาตรฐานส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี  (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา, 2549 :3-4) และได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามใน พ.ศ.2556 และเพื่อให้การประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สี่มีอยู่ในระดับที่ดีขึ้น พร้อมกับสอดคล้องแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในยุทธศาสตร์ที่ 3 มุ่งเน้นให้มีการทดสอบ การประเมิน การประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาให้มีประสิทธิผล
          จากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาที่ผ่านมาทั้งสามครั้ง โรงเรียนจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบบริหารและสารสนเทศขึ้น เพื่อดำเนินการปรับปรุงพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ อย่างเป็นระบบ เพื่อให้สารมารถนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ ประเมินได้โดยง่าย และมีข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมในการรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก ด้วยความจำเป็นดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการการพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้น
 
วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อให้โรงเรียนมีการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบทันสมัย และพร้อมใช้งงาน
          2.2 เพื่อให้โรงเรียนสามารถติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการจัดการศึกษาครบภารกิจหลัก
๔ ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารทั่วไป
          2.3 เพื่อให้โรงเรียนจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทสอย่างเป็นระบบ ทันสมัย ทันต่อการใช้งาน มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีการพัฒนาวิธีการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศเสมอ
 
เป้าหมาย ด้านปริมาณ
                        1. นักเรียน ครู และบุคลากรร้อยละ 100 สามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนได้
2. ครู และบุคลากรร้อยละ 100 สามารถติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการจัดการศึกษาครบภารกิจหลัก ๔ ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารทั่วไป
3. ครู และบุคลากรร้อยละ 100 จัดเก็บข้อมูลและสารสนเทสอย่างเป็นระบบ ทันสมัย ทันต่อการใช้งาน
          ด้านคุณภาพ
                   1. นักเรียน ครู และบุคลากรสามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนได้
2. ครู และบุคลากรสามารถติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการจัดการศึกษาครบภารกิจหลัก ๔ ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารทั่วไป
3. ครูและบุคลากร จัดเก็บข้อมูลและสารสนเทสอย่างเป็นระบบ ทันสมัย ทันต่อการใช้งาน
 
ระยะเวลา 1 ก.ย. 2566 - 30 ต.ค. 2567
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนเนินทรายวิทยาคม
ตัวชี้วัด 1. นักเรียน ครู และบุคลากรร้อยละ 100 สามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนได้
2. ครู และบุคลากรร้อยละ 100 สามารถติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการจัดการศึกษาครบภารกิจหลัก ๔ ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารทั่วไป
3. ครู และบุคลากรร้อยละ 100 จัดเก็บข้อมูล
และสารสนเทสอย่างเป็นระบบ ทันสมัย ทันต่อการใช้งาน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 8.1 โรงเรียนมีการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบทันสมัย และพร้อมใช้งงาน
          8.2 โรงเรียนสามารถติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการจัดการศึกษาครบภารกิจหลัก ๔ ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารทั่วไป
8.3 โรงเรียนจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทสอย่างเป็นระบบ ทันสมัย ทันต่อการใช้งาน มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีการพัฒนาวิธีการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศเสมอ
 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0