โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชน

โรงเรียน : เนินทรายวิทยาคม สพม.จันทบุรี ตราด

ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการประเมิน : 0.00

เผยแพร่เมื่อ : 2 มิ.ย. 2567 โดย : นางสาวลัดดา ทั่งทอง จำนวนผู้เข้าชม 16 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
ประเภท โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีการศึกษา 2567
มาตรฐาน

     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา

ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา  โรงเรียนนับว่าเป็นสถาบันหลักในชุมชน และเป็นสถานที่ที่ชุมชนมีความคาดหวังในการพัฒนาบุตรหลาน และสมาชิกของชุมชน ให้มีการพัฒนาด้านต่างๆ ให้เป็นไปตามความต้องการของสังคมอย่างมีคุณภาพและจริยธรรม โรงเรียนและชุมชนจึงเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการจดกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องและบรรลุตรงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ การสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนจึงมีความสำคัญในการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชนเป็นข้อมูลในการเผยแพร่ข่าวสารต่างๆ ของโรงเรียนสู่ชุมชน จึงจัดทำโครงการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนขึ้น เพื่อเป็นการบริการข้อมูลข่าวสาร เป็นสื่อกลางในการประสานงานระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองหรือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
 
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้บริการชุมชนและหน่วยงานภายนอก
2. เพื่อการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตที่ดีงามของชุมชน
3. เพื่อสร้างเครือข่ายพัฒนาการศึกษาในชุมชนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชน
 
เป้าหมาย ด้านปริมาณ
1. ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในการให้บริการของโรงเรียนกับชุมชน ร้อยละ 80 ขึ้นไป
2. นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน ร้อยละ 80 ขึ้นไป
3. นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการเสริมสร้างทักษะทางวิชาการ/วิชาชีพ จากปราชญ์ชาวบ้าน ร้อยละ 80 ขึ้นไป
 
ระยะเวลา 1 ก.ย. 2566 - 30 ต.ค. 2567
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนเนินทรายวิทยาคม
ตัวชี้วัด 1. ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในการให้บริการของโรงเรียนกับชุมชน ร้อยละ 80 ขึ้นไป
2. นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน ร้อยละ 80 ขึ้นไป
3. นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการเสริมสร้างทักษะทางวิชาการ/วิชาชีพ จากปราชญ์ชาวบ้าน ร้อยละ 80 ขึ้นไป
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 8.1 ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในการให้บริการของโรงเรียนกับชุมชน
8.2 นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน
8.3 นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการเสริมสร้างทักษะทางวิชาการ/วิชาชีพ จากปราชญ์ชาวบ้าน
 
สรุปคะแนนประเมิน 0.00
ไฟล์ประกอบ
ขั้นเตรียมการ
ขั้นดำเนินการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
ขั้นสรุปและรายงาน
งบประมาณ
การบรรลุตัวชี้วัด
ความพึงพอใจ
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ

ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0