โลโก้เว็บไซต์ สารสนเทศสำนักบริหารมัธยมศึกษาตอนปลาย
  PDF

จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม

โรงเรียน : อุ้มผางวิทยาคม สพม.ตาก

ประเภท : โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการประเมิน : 4.90

เผยแพร่เมื่อ : 21 ก.ค. 2563 โดย : นายธวัช ยะสุคำ จำนวนผู้เข้าชม 2639 คน


ชื่อโครงการ/กิจกรรม จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม
ประเภท โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปีการศึกษา 2563
มาตรฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
     1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
     2.1 มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดขัดเจน
     2.2 มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
     2.3 ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
     2.4 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
     2.5 จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.1 จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงและสามารถนำไปประยุกต็ใช้ในชีวิตได้
     3.4 ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
ผู้รับผิดชอบ
ความเป็นมา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ให้ข้อคิด เป็นแนวทางดำเนินชีวิตของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งภายใต้สภาวการณ์ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดเป็นนโยบายให้ขับเคลื่อนสู่สถานศึกษา  ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ก็ได้กำหนดเป็นคุณลักษณะ      อันพึงประสงค์ของผู้เรียน ข้อที่ 5 อยู่อย่างพอเพียง
          โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม ตระหนักถึงความสำคัญของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้     น้อมนำมาบูรณาการสู่ระบบการบริหารจัดการสถานศึกษา หลักสูตรการจัดการเรียนการสอน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและ   บุคลากรของสถานศึกษา ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการ การบริหารงานบุคลากร การบริหารงานงบประมาณ และการบริหารงานทั่วไป โดยมุ่งหวังให้เกิดผลสัมฤทธิ์กับผู้เรียนโดยมีจุดเน้น        การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้สอดรับกับบริบทของโรงเรียนที่เป็นโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม ยุทธศาสตร์การพัฒนาจึงเน้นที่การออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแบบอย่าง 6 พ. 4 ม.1 อ. จัดห้องเรียนเศรษฐกิจพอเพียง จัดตั้งศูนย์/ฐานการเรียนรู้ต่างๆเพื่อให้คณะครูและนักเรียนสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้จัดการเรียนรู้แก่นักเรียน และนักเรียนชุมชน ได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป

 
วัตถุประสงค์ 1  ครูสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้จัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างอุปนิสัยพอเพียงให้นักเรียนได้
2  เพื่อพัฒนาผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา และนักเรียนแกนนำให้เป็นวิทยากร      ประจำศูนย์ / ฐานการเรียนรู้ และสามารถบริการความรู้ แก่นักเรียนสถานศึกษาเครือข่าย และชุมชน แก่ผู้สนใจทั่วไปได้
3  เพื่อพัฒนาศูนย์ / ฐานการเรียนรู้ให้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียน และชุมชน



 
เป้าหมาย 1. เป้าหมายเชิงปริมาณ -  ครู ร้อยละ 100 สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอุปนิสัยพอเพียง ให้นักเรียนได้      
          -   ผู้บริหาร ครู กรรมการสถานศึกษา และนักเรียนแกนนำ ร้อยละ 100 สามารถให้บริการความรู้ เรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ปศพพ.) แก่นักเรียน โรงเรียนเครือข่าย และชุมชนได้
          -  มีศูนย์ย่อย 1 ศูนย์ 6 ฐานการเรียนรู้ให้บริการความรู้ เรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แก่นักเรียนโรงเรียนเครือข่าย และชุมชน

2. เป้าหมายเชิงคุณภาพ -  นักเรียน และครูได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
                   -  โรงเรียนผ่านการประเมิน และรับรองจาก สพม.38 ให้เป็นสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ และศูนย์การเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา โดยกระทรวงศึกษาธิการ
ระยะเวลา 1 ก.ค. 2563 - 31 มี.ค. 2564
สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม
ตัวชี้วัด 1. ร้อยละของครูที่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้จัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างอุปนิสัยพอเพียงให้นักเรียนได้
2. ร้อยละของผู้บริหารครู   กรรมการสถานศึกษา และนักเรียนแกนนำที่สามารถให้บริการความรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแก่นักเรียน โรงเรียนเครือข่าย และชุมชน
3. ร้อยละของจำนวนศูนย์ / ฐานการเรียนรู้ที่สามารถให้บริการความรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแก่นักเรียน, ชุมชน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1  โรงเรียนสามารถบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างมีคุณภาพตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2  ครู นักเรียน มีความสุขในการทำงาน การเรียนและการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3  โรงเรียนสามารถสนองพระราชดำริ และได้รับการยกย่องให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 
สรุปคะแนนประเมิน 4.90
ไฟล์ประกอบ โครงการศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ขั้นเตรียมการ
  1. คณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์วางแผนร่วมกัน
  2. เสนอโครงการต่อผู้อำนวยการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
ขั้นดำเนินการ 1.  ประชุมชี้แจงคณะการรมการดำเนินงาน
2.  ดำเนินงานตามโครงการ
ขั้นตรวจสอบประเมินผล นิเทศกำกับติดตาม
ขั้นสรุปและรายงาน
ประเมินผลสรุปรายงานโครงการ
งบประมาณ
รายการ จำนวนหน่วย ราคา/หน่วย งบประมาณ
1.  งบดำเนินงาน
ค่าวัสดุ  (ค่าวัสดุการศึกษา ค่าเครื่องเขียน ค่าวัสดุ เวชภัณฑ์ ค่าซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สิน เป็นต้น)
วัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม ๗ ฐาน - ๑,๘๐๐
คู่มือศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา - - -
พัฒนาแหล่งเรียนรู้ ๖ ฐานการเรียนรู้ ๑ ศูนย์ฯจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ให้นักเรียนได้ปฏิบัติและเกิดการเรียนรู้ที่รอบด้าน ๒,๐๐๐ ๑๔,๐๐๐
รวมค่าวัสดุ ๑๕,๘๐๐
ค่าตอบแทน  (ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าตอบแทนวิทยากรวิชาชีพท้องถิ่น เป็นต้น)
ค่าวิทยากร อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ๖๐๐ ๑,๒๐๐
รวมค่าตอบแทน ๑,๒๐๐
ค่าใช้สอย (รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการ การรับรอง พิธีการ เบี้ยเลี้ยง ฯลฯ)
กิจกรรมอบรมให้ความรู้นักเรียนแกนนำ
ค่าจ้างเหมาน้ำดื่มและอาหารว่างสำหรับนักเรียน จำนวน  ๒๕๐ คน วิทยากรคณะครูผู้ดูแล ๕๐ คน  รวม ๓๐๐ คน ๓๐๐ ๑๐ ๓,๐๐๐
รวมค่าใช้สอย ๓,๐๐๐
ค่าสาธารณูปโภค  (ค่าน้า ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น)
       
รวมค่าสาธารณูปโภค
 
2.  งบบุคลากร  (ค่าจ้างชั่วคราว เช่น จ้างครูอัตราจ้างรายเดือน พนักงานขับรถ นักการภารโรง เป็นต้น)
       
รวมงบบุคลากร  
3.  งบลงทุน  (ค่าครุภัณฑ์  ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง)
       
รวมงบลงทุน  
รวมทั้งสิ้น ๒๐,๐๐๐
การบรรลุตัวชี้วัด
 ร้อยละ ๘๕ นักเรียนโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม คุณลักษณะ “อยู่อย่างพอเพียง” เสริมสร้างความเข้มแข็งของสถานศึกษาพอเพียงให้สามารถเป็นแบบอย่างได้อย่างยั่งยืน พัฒนาคุณภาพการเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาตามแนวพระราชดำริหลักการทรงงานและการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสนับสนุนภาคีเครือข่ายในการพัฒนาโรงเรียนให้ประเมินผ่านเป็นสถานศึกษาพอเพียง นักเรียนมีความรู้ความสามารถ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น  มีทักษะด้านวิชาชีพ มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีความรู้  ทักษะ และเจตคติที่ดี และได้ฝึกทักษะ แสดงออก นำเสนอผลงาน แสดงความคิดเห็น คิดเป็น ทำเป็น สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคต สามารถแสดงความรู้ความสามารถ และทักษะทางวิชาชีพในเวทีการแข่งขันระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาค ระดับชาติ
ความพึงพอใจ ระดับความพึงพอใจ  มากที่สุด
ปัญหาและอุปสรรค งบประมาณในการจัดทำศูนย์การเรียนรีู้ให้ยั่งยืน  ยังไม่เพียงพอ
ข้อเสนอแนะ
รูปภาพประกอบ


ออกแบบและพัฒนาโดย สารสนเทศสำนักบริหารการมัธยมศึกษา SESA 2.0